พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องอาญาฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และความน่าสงสัยของผู้เสียหายในการจำจำเลย
ข้อหาพาอาวุธไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 100 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดและโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยจะมีอาวุธมีดจริงหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาโดยชอบแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้มีดจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหาย แม้ข้อหาพาอาวุธมีดไปในเมืองทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติไปแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าวได้ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยอายุ 15 ปี ถูกกล่าวหาใช้อาวุธปืนยิงผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลฎีกาแก้โทษรอการลงโทษ
แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพและไม่สืบพยานแต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบไม่มีน้ำหนัก จึงไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในข้อหาร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายตามฟ้องได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลยโดยส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น แต่เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง เมื่อฟังว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยรวม 2 กระทง จำคุก 1 ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรเปลี่ยนโทษจำเลยโดยส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จึงเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นกรณีที่มีเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น แต่เครื่องกระสุนปืนตามฟ้องคือกระสุนซึ่งเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามฟ้อง ทั้งโจทก์ก็ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง เมื่อฟังว่าเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนเถื่อน ศาลฎีกายืนยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าได้ ร่วมวางแผนกับนาย บ และสั่งให้จำเลยที่ 5 ไปยิงโจทก์ร่วมคำ ของ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 จึงเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วย กันมีน้ำหนักน้อยยังรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ ส่วนคำเบิกความของนาย บที่ว่ารู้เห็นเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าวางแผนที่ศาลา วัดศิริมงคล และร้านอาหารตวงเพชรในการที่จะเอาอาวุธจรวด ไปยิงโจทก์ร่วม ก็ปรากฏจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ว่านาย บได้ ร่วมวางแผนเป็นผู้ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และพนักงานสอบสวนได้ จับกุมนาย บ มาดำเนินคดีเช่นกัน แต่ ต่อมาได้ กันไว้เป็นพยาน นับว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยถือ ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วย กัน มีน้ำหนักน้อย ยังรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 2 พ้นผิดฐานร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ และจำเลยที่ 1 พ้นผิดฐานรับคนต่างด้าวทำงานเนื่องจากกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน ตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 27, 54 รวมกับความผิดฐานอื่น ๆ แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 มี พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ประกาศใช้บังคับให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป โดยมาตรา 3 กำหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 นำข้อหาความผิดเดิมตามมาตรา 27, 54 ฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานมาบัญญัติเป็นความผิดไว้ซึ่งตรงกับมาตรา 9, 102 ของพระราชกำหนดฉบับดังกล่าว แต่ต่อมามีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2560 เรื่อง มาตรการชั่วคราวเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ 1 ให้มาตรา 102 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป และข้อ 6 ให้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 ซึ่งตรงกับวันที่ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ ความผิดฐานรับคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นก่อนวันที่ 23 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จำเลยที่ 1 จึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225