คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานเด็ก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนพยานเด็กเยาว์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ทำให้การฟ้องของโจทก์เป็นโมฆะ หากมีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ในฐานะพยาน โดยไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ คำให้การของเด็กหญิง ว. จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรานี้ คงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กหญิง ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสอง เท่านั้น ไม่เป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมด ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
แม้การสอบสวนเด็กหญิง ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน และเด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเด็กประกอบพฤติการณ์แวดล้อม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียว แต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญ ย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานเด็กในคดีอนาจาร และพฤติการณ์ครูผู้กระทำผิด
แม้โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งมีอายุเพียง8ปีเศษเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวแต่เมื่อเบิกความถึงเหตุการณ์ที่จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายเป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับตรงไปตรงมาปราศจากการปรุงแต่งตามประสาเด็กที่ไร้เดียงสาทั้งเรื่องราวหลังเกิดเหตุยังสอดคล้องเชื่อมโยงกันดีกับพยานอื่นทำให้เชื่อได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเด็กอายุ 7 ปีให้การขัดแย้งกันในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอพิสูจน์ความผิด
ประจักษ์พยานโจทก์เป็นเด็กอายุ7ปีมีโอกาสถูกเสี้ยมสอนให้บิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแม้จะให้การชั้นสอบสวนว่าขณะเกิดเหตุพยานวิ่งตามผู้ตายไปในสวนเห็นจำเลยใช้มีดพร้าฟันผู้ตายจึงวิ่งมาบอกมารดาพยานและมารดามาดูพบว่าผู้ตายถูกฟันถึงแก่ความตายและพบจำเลยกำลังล้างมืออยู่ที่บ่อน้ำใกล้ที่เกิดเหตุก็เป็นพยานชั้นสองทั้งมิได้ให้การในระยะกระชั้นชิดกับเวลาเกิดเหตุและได้ความจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้ร่วมสอบสวนคดีซึ่งเป็นพยานโจทก์อีกปากหนึ่งว่าพยานไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายขณะที่เจ้าพนักงานจัดให้พยานชี้ตัวคนร้ายอีกด้วยดังนั้นเมื่อพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาย่อมเป็น พยานชั้นหนึ่ง ชอบที่ศาลจะรับฟังคำเบิกความในชั้นพิจารณาเป็นสำคัญส่วนพยานที่เหลืออยู่อีกล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่า ทั้งไม่มีพยานพฤติเหตุแวดล้อมอื่นใดที่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์อีก พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับของจำเลย, พยานเด็ก, และการใช้ดุลยพินิจศาลในการพิจารณาคดีอาญา
คำรับของจำเลยในคดีมีอัตราโทษจำคุกถึง 10 ปีนั้น รับฟังได้เมื่อมีพยานโจทก์ประกอบ มิใช่จะห้ามไม่ให้รับฟังเสียเลยทีเดียว. ศาลอาจใช้ดุลยพินิจเรียกสำนวนการสอบสวนมาประกอบการพิจารณาได้แม้โจทก์จะไม้ได้อ้างก็ตาม. จำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง แม้จะไม่มีพยานบุคคลประกอบ เพราะเป็นหนังสือราชการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986-987/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานเด็กและพยานที่ไม่รู้จักจำเลยในคดีอาญา
ลักษณะพะยาน เด็กอายุ 10 ขวบ ฟังเปนพะยานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12458/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเด็กที่สอบสวนไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงในชั้นศาล ศาลรับฟังพยานหลักฐานได้
การที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำ อ. พยานซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี และบันทึกโดยไม่แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า อ. ให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนตามบันทึกคำให้การไว้จริง ศาลจึงรับฟังตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในคำให้การดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ และชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 226 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9071/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากเด็กและประเด็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีอาญา
ขณะที่พนักงานสอบสวนสอบปากคำเด็กชาย ศ. ซึ่งมีอายุ 12 ปี และให้ชี้ภาพถ่ายซึ่งกระทำเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 นั้น ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ และมาตรา 133 ตรี ซึ่งเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ และต่อมาเฉพาะมาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง กับมาตรา 133 ตรี แก้ไขโดยมาตรา 5 และ 6 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 26)ฯ ยังมิได้ใช้บังคับ ดังนี้การถามปากคำเด็กชาย ศ. และชี้ภาพถ่ายคนร้าย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ของพนักงานสอบสวนโดยมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจึงเป็นไปโดยชอบ ส่วนการชี้ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ก็เป็นเพียงการชี้ภาพถ่ายในลักษณะของการสอบสวนเพิ่มเติม มิใช่เป็นการชี้ตัวผู้ต้องหาแต่อย่างใด และแม้พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ทั้งไม่เข้าเหตุจำเป็นเร่งด่วนตาม 133 ทวิ วรรคท้าย ก็ตาม คงมีผลเพียงทำให้คำให้การและการชี้ภาพถ่ายในชั้นสอบสวนของเด็กชาย ศ. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ จึงถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยข่มขู่ด้วยความรุนแรง และการพิจารณาคดีพยานเด็กเป็นพิเศษ
การที่จำเลยที่ 1 พูดสำทับกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ให้เดี๋ยวมันก็แทงมึงหรอกกูช่วยมึงไม่ได้" หลังจากจำเลยที่ 1 ขอยืมเงินและผู้เสียหายปฏิเสธ แล้วจำเลยที่ 1 หันไปคุยกับจำเลยที่ 2 ว่า "เฮ้ย แม่งไม่ให้เว้ย" จำเลยที่ 2 จึงลุกขึ้นยืนพร้อมกับล้วงมีดออกมาจากด้านหลังแล้วเดินเข้ามาใกล้ผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 ได้ผลักจำเลยที่ 2 พร้อมกับพูดว่า "มึงไม่ต้องแทง" ตามที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีเบิกความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้ใช้วิธีการพิจารณาคดีสำหรับพยานที่เป็นเด็กเป็นการเฉพาะต่างจากพยานบุคคลทั่วไป โดยอยู่ในกำหนดหลักการว่าในคดีที่มีพยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ศาลต้องจัดให้พยานเด็กอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมโดยการถามนั้นศาลจะเป็นผู้ถามพยานเอง หรือถามผ่านทางนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือจะให้คู่ความถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ผลของกฎหมายดังกล่าวย่อมทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถได้ข้อเท็จจริงจากพยานเด็กมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเมื่อมีวิธีการการถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กและความเชี่ยวชาญในการซักถามเด็ก เชื่อว่าจะเป็นผลให้พยานเด็กสามารถให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องสมบูรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันข่มขู่ผู้เสียหายว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10265/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุพยานเด็กกับการรับฟังพยานหลักฐาน: การพิจารณาอายุพยานในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณา
ในชั้นสอบสวนแม้ ก. จะให้การเป็นพยานขณะมีอายุเพียง 15 ปี โดยไม่ปรากฏว่ามีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำซึ่งเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงไม่อาจอ้างคำให้การชั้นสอบสวนของ ก. ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 ก็ตาม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลปรากฏว่า ก. มาเบิกความขณะมีอายุ 19 ปี แล้ว การสืบพยานโจทก์ปากนี้ จึงไม่จำต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 20)ฯ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแต่อย่างใด ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ก. เป็นพยานได้