คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พรรคการเมือง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติว่า หัวหน้าพรรคการเมืองต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี การที่ผู้ร้องไม่มีชื่ออยู่ในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรค ก. น่าเชื่อว่าเกิดจากการที่พรรค ก. ไม่ได้แจ้งชื่อผู้ร้องไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบ จึงเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการเป็นสมาชิกพรรค ก. ของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพพรรคการเมือง: การเป็นสมาชิกเกินหนึ่งพรรคขัดขวางสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชากรไทย แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยผู้คัดค้านสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี 2543 และลาออกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 แล้วมาสมัครเป็นสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 การที่ผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกันในขณะสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่เพียงพรรคเดียว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 29
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง
ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยเป็นกรรมการบริหารสาขาพรรค ก. ได้ลาออกและถือว่าพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 จำเลยต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยจึงมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง หากจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในกำหนดเงื่อนเวลาดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็จะไม่เป็นความผิด แต่ถ้าจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2545 เป็นต้นไป ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่พ้นตำแหน่ง จำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าในระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แม้การกระทำของจำเลยในช่วงเวลาตามฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในเงื่อนเวลาสามสิบวัน ให้จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8210/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมัครรับเลือกตั้งต้องมีหนังสือรับรองจากพรรคการเมืองตลอดระยะเวลาการตรวจสอบคุณสมบัติ
ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4) และการสมัครต้องสมัครในนามของพรรคการเมือง การยื่นใบสมัครต้องมีหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 เมื่อยื่นใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัคร คุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดการรับสมัคร ตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครพร้อมหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคถิ่นไทยโดยถูกต้อง แต่การที่หัวหน้าพรรคถิ่นไทยมีหนังสือยืนยันไม่รับรองว่าพรรคถิ่นไทยส่งผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดตรัง ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน ต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้ร้องเข้าสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามพรรคถิ่นไทยได้ ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งและแจ้งยุบพรรค
พรรค ส.จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2538 แต่ในคราวที่มี พ.ร.ฎ.ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ปรากฏว่าพรรคการเมืองดังกล่าวไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย และหัวหน้าพรรคได้แจ้งต่อผู้ร้องขอยุบเลิกพรรคโดยในวันนัดไต่สวนคำร้องของศาลแพ่ง พรรค ส.ก็มิได้คัดค้าน ดังนี้ พรรค ส.จึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 (4) แห่งพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พรรคการเมือง(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 7
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 มาตรา 13 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 46 วรรคสี่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป
พรรค ส. จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเมื่อวันที่17 ตุลาคม 2538 แต่ในคราวทีมีพระราชกฤษฎีกาประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ปรากฏว่าพรรคการเมืองดังกล่าวไม่มีสมาชิกของพรรคได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย และหัวหน้าพรรคได้แจ้งต่อผู้ร้องขอยุบเลิกพรรคโดยในวันนัดไต่สวนคำร้อง ของ ศาลแพ่งพรรค ส.ก็มิได้คัดค้านดังนี้พรรคส. จึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46(4) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมืองพ.ศ. 2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพรรคการเมือง(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 การร้องขอให้ศาล มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 มาตรา 13 วรรคสี่ประกอบมาตรา 46 วรรคสี่ได้รับการยกเว้นการเสียค่าธรรมเนียมศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้ง
การที่พรรคดำรงไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไป แต่ไม่มีสมาชิกของพรรคดำรงไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าวนั้นเลย พรรคดำรงไทยจึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 (4) แห่งพ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2524 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยุบพรรคการเมืองเนื่องจากไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป
การที่พรรคดำรงไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองได้ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแต่ไม่มีสมาชิกของพรรคดำรงไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปดังกล่าวนั้นเลยพรรคดำรงไทยจึงต้องเลิกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา46(4)แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมืองพ.ศ.2524แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีพรรคการเมืองต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในกรณีที่จะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด และได้กำหนดไว้ด้วยว่ากรณีใดที่จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้ สิทธิในการที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมีอยู่เฉพาะตามที่พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อสิทธิของผู้ร้องในการขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้ว ไม่มีบทมาตราใดกำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยกรณีพรรคการเมืองจำกัดเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้ การขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังรับแจ้งเชิญชวนไม่อยู่ในข่าย
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในกรณีที่จะมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาล โดยให้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อทำความเห็นไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด และได้กำหนดไว้ด้วยว่ากรณีใดที่จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้ สิทธิในการที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมีอยู่เฉพาะตามที่พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 กำหนดไว้เท่านั้น เมื่อสิทธิของผู้ร้องในการขอเปลี่ยนภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองหลังจากนายทะเบียนสั่งรับแจ้งหนังสือเชิญชวนแล้วไม่มีบทมาตราใดกำหนดให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดได้
of 2