คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลไม่รับฟังเหตุพิจารณาใหม่ แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบเรื่องฟ้องเนื่องจากบวช
ขณะเจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายเรียกและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่ที่วัด ซึ่งห่างจากบ้านจำเลยเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางไปมาสะดวก ที่บ้านจำเลยมีภริยาบุตรสาวและบุตรเขยของจำเลยอาศัยอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักไปทำบุญที่วัดดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งในการส่งหมายให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งเจ้าหน้าที่พบภริยาจำเลยอยู่ที่บ้าน แต่ภริยาจำเลยไม่ยอมรับหมายแทน จึงได้ปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล แสดงว่าภริยาจำเลยทราบเรื่องการส่งหมายทั้งสองครั้งแล้ว ซึ่งตามปกติวิสัยเรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ ภริยาจำเลยหรือบุคคลอื่นในบ้านย่อมต้องรีบแจ้งให้จำเลยทราบเรื่อง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การในกำหนด และไม่ได้ไปศาลตามวันเวลาที่นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและจงใจขาดนัดพิจารณา คดีจึงไม่มีเหตุให้พิจารณาใหม่และรับคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชไม่ตกเป็นสมบัติของวัด แม้จดทะเบียนโอนในขณะเป็นพระ
แม้พระภิกษุช.จะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินที่เช่าซื้อมาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศก็ตาม แต่พระภิกษุ ช.ได้เช่าซื้อและชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนแล้วก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุซึ่งหากผู้ให้เช่าซื้อไม่จดทะเบียนโอนที่ดินให้ พระภิกษุ ช.ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนที่ดินได้อันเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่พระภิกษุ ช.มีก่อนที่จะมาบวชเป็นพระภิกษุจึงต้องถือว่าพระภิกษุ ช.ได้ที่ดินมาแล้วก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุการจดทะเบียนการได้มาในภายหลังเป็นแต่เพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก เท่านั้นฉะนั้นเมื่อที่ดินมิใช่ทรัพย์สินที่พระภิกษุ ช.ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ตามมาตรา 1623 หากแต่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่บรรดาทายาทของพระภิกษุ ช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าอาวาสสั่งขับไล่พระที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและการมีอำนาจฟ้องของวัด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38 (2) เจ้าอาวาสมีอำนาจสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสียจากวัดได้ดังนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับนิคหกรรมเพราะการกระทำล่วงละเมิด พระธรรมวินัย ซึ่งต้องดำเนินการตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่พระออกจากวัดอิง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กรณีไม่อยู่ในโอวาทเจ้าอาวาส ไม่ใช่การฟ้องละเมิด
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 38(2) เจ้าอาวาสมีอำนาจสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาส ออกไปเสียจากวัดได้ดังนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาท ของเจ้าอาวาส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับนิคหกรรมเพราะการกระทำล่วงละเมิด พระธรรมวินัยซึ่งต้องดำเนินการตามหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้พระเพื่อบำรุงศาสนา วัดไม่เป็นผู้รับพินัยกรรม ไม่มีสิทธิฟ้อง
ทำพินัยกรรมว่าขอถวายทรัพย์แก่พระอธิการแดงเพื่อบำรุงวัดนั้นหรือวัดอื่น เมื่อพระอธิการองค์นั้นมรณภาพแล้ว วัดนั้นหรือพระอธิการวัดนั้นจะฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่วัดนั้น