คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการพิจารณาคดี
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 แม้ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543ยกเลิกพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมพ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม แต่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าคดีจะถึงที่สุด"คดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีแรงงาน: พ.ร.บ.ศาลแรงงานฯ มาตรา 17 มีผลเหนือกว่าพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในคดีแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในคดีทั่วไปมาใช้บังคับ และคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีนี้ มีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อครบทั้งสามคนแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งพิจารณาคดีนอกเขต: การใช้ดุลพินิจตามมาตรา 14(5) พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(5) บัญญัติว่าบรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งนั้น จะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้คดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแสดงให้เห็นว่า ศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(5) แล้ว ศาลแพ่งจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งในคดีนอกเขต: การใช้ดุลพินิจรับฟ้องตามมาตรา 14(5) พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)บัญญัติว่าบรรดาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งนั้นจะยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งก็ได้ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแพ่งที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นได้คดีนี้ศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5)แล้วศาลแพ่งจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แม้แก้ฟ้องภายหลัง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างต่อศาลแพ่งโดยระบุในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ศาลแพ่งสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้แล้ว แต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดสมุทรสาคร โจทก์จึงแก้ฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองใหม่ ศาลแพ่งอนุญาตและในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองที่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต เมื่อศาลแพ่งมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่งตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) ได้ด้วยและศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว แม้คำร้องขอของโจทก์จะยื่นเข้ามาภายหลังจากยื่นคำฟ้องแล้วก็ตามย่อมแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาคดีต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแพ่งรับฟ้องนอกเขตอำนาจ: ศาลใช้ดุลพินิจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครโจทก์ขอแก้ฟ้องโดยแก้ ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง และยื่นคำร้องขออนุญาตฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งอนุญาต ดังนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 4 เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่ศาลแพ่งยังมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตอำนาจของศาลแพ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4) เมื่อศาลแพ่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตามคำร้องขอของโจทก์ ก็แสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจ ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(4) แล้ว คำร้องขออนุญาตฟ้องคดีต่อศาลแพ่งของโจทก์ แม้ข้อความในคำร้องของโจทก์บางตอนเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) ศาลแพ่งก็มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษา โดยอาศัยอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(4).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้พิพากษานายเดียวในการพิจารณาคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีแพ่งที่สั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โดยมีผู้พิพากษานายเดียวลงชื่อในคำสั่ง ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7651/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลในการพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: ความถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
จำเลยกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ซึ่งตามมาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) มาด้วย แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงกรรมเดียวต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนตามมาตรา 26 ดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) และมาตรา 26