พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาตามพินัยกรรมและการครอบครองปรปักษ์: พระบรมราชโองการมีผลเป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิ
ที่ดินพิพาทมีพระบรมราชโองการแสดงถึงพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชทานที่ดินแก่เจ้ามรดกเพื่อใช้เป็นที่ทำฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูล ตลอดไปไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกละเมิดสิทธิ เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมิให้โอนขายจำหน่ายสิทธิ ทั้งระบุให้ผู้สืบตระกูล มีหน้าที่ปฏิบัติตามพินัยกรรมนั้น หากทำตามความประสงค์ไม่ได้ ก็มีทางแก้ไขเฉพาะวิธีการทำฎีกาทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้ข้อความในพินัยกรรมดังกล่าวจะมีลักษณะคล้ายเป็นการก่อตั้งทรัสต์ แต่เมื่อได้กระทำก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2468ก็นับว่าพินัยกรรมส่วนนี้สมบูรณ์ใช้ได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1686 พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมมีผลเป็นกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ฉะนั้น การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลเจ้ามรดกเป็นการถาวรดังความในพินัยกรรม ทั้งทรงห้ามบุคคลใดฟ้องร้องเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หากมีการฟ้องร้องดังกล่าวก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมนั้น ย่อมมีผลรวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเป็นช่องทางให้ทายาท หรือผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงข้อความในพินัยกรรมและขัดต่อพระราชประสงค์ โดยวิธีปล่อยให้ผู้รับโอนที่ดินพิพาทครอบครองปรปักษ์ และใช้ที่ดินพิพาทไปแสวงประโยชน์อย่างอื่นนอกจากใช้เป็นที่ฝังศพของตระกูล เป็นการทำให้วัตถุประสงค์ในพินัยกรรมไร้ผลเมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาอายุความครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันพระบรมราชโองการห้ามฟ้องร้องที่ดินฮวงซุ้ยและการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินพิพาทให้ ร. โดยมีพระบรมราชโองการให้ใช้ที่ดินเป็นฮวงซุ้ย ฝังศพบุคคลในตระกูลของร. ตลอดไป ไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งละเมิดสิทธิทำลายรื้อถอนสิ่งที่บุคคลในตระกูลของร.ก่อสร้างในที่ดินดังกล่าว และต่อมา ร. ได้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินพิพาทไม่ให้โอนขายจำหน่ายที่ดินดังกล่าว อันเป็นการไม่ประสงค์ให้ที่ดินพิพาทเปลี่ยนมือ โดยมีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม ดังนี้พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช มี ผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใด อันมีเจตนารมณ์ ยกเลิกเพิกถอน โดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ซึ่งพระบรมราชโองการดังกล่าวมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินสงวนตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: ป้องกันการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของร.ตลอดไปพินัยกรรมของร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่าย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้ แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรม หากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม พระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วย ที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 4 เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใด ข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่ จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346-1377/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: การครอบครองปรปักษ์ไม่อาจล้มล้างสิทธิเดิมได้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของ ร. ตลอดไปพินัยกรรมของ ร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่ายซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมและมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของ ร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมพระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1และบรรพ4เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้นไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใดข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโดยพระบรมราชโองการมีผลผูกพัน แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนาม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนาม เพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 6 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระบรมราชโองการเป็นพินัยกรรมได้ แม้เจ้ามรดกมิได้ลงนามเอง สิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนามเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
เจ้ามรดกร่างพินัยกรรมไว้แล้ว แต่ยังมิได้ลงพระนามเพราะสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมาภายหลังได้มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ร่างพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมตามกฎหมายได้ร่างพินัยกรรมดังกล่าวย่อมมีผลเป็นพินัยกรรมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้ไม่ได้จดทะเบียน
ลายพระหัตราชเสนาของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งซงสมบูรนาญาสิทธิราชเหนือกดหมายย่อมถือได้ว่าเปนพระบรมราชโองการ มีผลบังคับได้เช่นกดหมาย
สมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวสมัยสมบูรนาญาสิทธิราชมีลายพระราชหัตเลขาพระราชทานที่ดินไห้ผู้ได แม้ไม่แก้โฉนดก็ถือว่ามีผลสมบูรน์ตามกดหมาย
สมเด็ดพระเจ้าหยู่หัวสมัยสมบูรนาญาสิทธิราชมีลายพระราชหัตเลขาพระราชทานที่ดินไห้ผู้ได แม้ไม่แก้โฉนดก็ถือว่ามีผลสมบูรน์ตามกดหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 323/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พระบรมราชโองการมีผลบังคับดุจกฎหมาย: การพระราชทานที่ดิน
ลายพระราชหัตถ์เลขาของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งทรงสมบูรณาญาสิทธิราชเหนือกฎหมายย่อมถือได้ว่าเป็นพระบรมราชโองการ มีผลบังคับได้เช่นกฎหมาย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมีลายพระราชหัตถ์เลขาพระราชทานที่ดินให้ผู้ใด แม้ไม่แก้โฉนดก็ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2486
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมีลายพระราชหัตถ์เลขาพระราชทานที่ดินให้ผู้ใด แม้ไม่แก้โฉนดก็ถือว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2486
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลเด็ดขาดของพระบรมราชโองการในเรื่องมรดก: สิทธิเบี้ยเลี้ยงชีพ vs. ส่วนแบ่งมรดก
การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน+กฎหมาย พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 เป็นหม่อมของ พ.+ พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาล ที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้น+การพระมฤดก กรรมการทำรายงานถวายความ+ว่าจำเลยที่ 2 ควรได้รับแต่เงินเลี้ยงชีพเดือนละ +00 บาท รัชชกาลที่ 6 พระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่น + พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นหม่อมของ พ.+ พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาล ที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้น+การพระมฤดก กรรมการทำรายงานถวายความ+ว่าจำเลยที่ 2 ควรได้รับแต่เงินเลี้ยงชีพเดือนละ +00 บาท รัชชกาลที่ 6 พระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่น + พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ในคดีมรดก: พระบรมราชโองการมีผลผูกพันและเปลี่ยนแปลงสิทธิในกองมรดก
การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมาย พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย โจทก์เป็นหม่อมของ พ.ครั้น พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาลที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้นจัดการพระมฤดก กรรมการได้ทำรายงานถวายความเห็นว่าโจทก์ควรได้รับแต่เงินค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาท รัชชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่นของ พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม