พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แสวงหากำไร ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
จำเลยเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแล รักษา และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการ ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยดำเนินธุรกิจจัดหาผลประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าที่ดิน อาคารและแผง เป็นต้น รายได้เก็บจากค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ค่าทำสัญญา ค่าต่อสัญญา มิได้เป็นองค์กรที่ดำเนินกิจการลักษณะมูลนิธิหรือเพื่อการกุศลสาธารณะ เมื่อหักค่าใช้จ่ายออกจากรายรับจะเหลือเป็นกำไร กิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ และอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกราบบังคมทูลความเดือดร้อนต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นละเมิดต่อบุคคลอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุมาเป็นเวลาประมาณ15 ปีแล้ว และได้ทราบความเป็นมาของหมู่บ้าน บ. ตลอดจนความเดือนร้อนของชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างแท้จริง เมื่อจำเลยไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการใด ๆ ได้ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ การที่จำเลยกับพวก ซึ่งเป็นข้าแผ่นดินระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของพสกนิกรทั้งปวงและทำหนังสือกราบบังคมทูล ทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับจำเลยกับพวก โดยหวังในพระเมตตาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไปเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และข้อความในหนังสือดังกล่าวไม่เป็นเท็จ ดังนั้น การทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนความเดือดร้อนต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นการละเมิดหากข้อความไม่เป็นเท็จ แม้จะเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุมานานประมาณ15 ปีแล้ว ย่อมทราบความเป็นมาของหมู่บ้านตลอดจนความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่างแท้จริงเมื่อไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการใด ๆ ได้ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่จึงเป็นธรรมดาที่จำเลยทั้งหกกับพวก ซึ่งเป็นข้าแผ่นดินจะพึงระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ของพสกนิกรทั้งปวง หนังสือกราบบังคมทูลของจำเลยทั้งหกกับพวก จึงมีลักษณะเป็นการทูลเกล้าถวายฎีกา เพื่อให้ทรงทราบถึง ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับจำเลยทั้งหกกับพวก โดยหวังใน พระเมตตาบารมีของพระองค์ท่านในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไปเท่านั้น หาได้มีเจตนาที่จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีการถมดินรุกล้ำลำรางหรือลำลาดสาธารณประโยชน์สืบต่อจากผู้กระทำการดังกล่าว หาได้พ้นจากความรับผิดไปได้ไม่ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นเท็จแต่อย่างใด ดังนั้น การทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งหยุดงานเพื่อความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา และผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า
ที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดงานชั่วคราวก็เพื่อถวายการอารักขาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ คำสั่งจำเลยที่ให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ย่อมต้องทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์จะเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ทั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้หยุดงานชั่วคราว โจทก์มิได้ ทักท้วงหรือโต้แย้งแต่ประการใด จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการ หรืออำนวยความสะดวกให้โจทก์เข้าทำงานก่อสร้างตามสัญญาเป็นการ ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอัน เกิดจากคำสั่งของจำเลย ดังกล่าวนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ฯ การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบสถาบันฯ เป็นความผิด แม้ไม่มีเจตนา
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 2,6,45,46 และ 54 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107 ถึง 112 แสดงให้เห็นได้โดยแจ้งชัดว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใดมิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดำรงอยู่คู่ประเทศตลอดไป
พระบรมมหาราชวังเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระธิดาดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า ถ้าจำเลยเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระนั้น แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้ง ก็ย่อมแปลเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวด้วย การที่จำเลยกล่าวว่า ถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมตื่นอีกทีบ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์ให้สบายอกสบายใจนั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจ ใด ๆ เวลาเที่ยงเสวยเสร็จก็บรรทมไปจนถึงเวลาบ่ายสามโมงตกตอนเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์อย่างสบายอกสบายใจ ต่างกับจำเลยซึ่งเกิดเป็นลูกชาวนาต้องทำงานหนัก มีแต่ความยากลำบากเพราะเลือกเกิดไม่ได้ คำกล่าวของจำเลยนี้ พยานโจทก์ทุกปากประกอบด้วยบุคคลจากหลายท้องถิ่นและหลายสาขาอาชีพ ทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ครูอาจารย์ ทนายความ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวนา ล้วนเบิกความให้ความเห็นสรุปได้ว่า จำเลยกล่าวหาใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใด ๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปต่างเห็นว่าจำเลยเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯองค์รัชทายาท ความเห็นของพยานโจทก์นี้เป็นความเห็นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทย่อมรับฟังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมดแล้ว ถือได้ว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผล เพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112
จำเลยเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ได้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดหาทุนสร้างสวนหลวง ร.9 และหาทุนโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย นับว่าเป็นผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อน นอกจากนี้หลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภา และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการ เป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริม)
พระบรมมหาราชวังเป็นของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์และพระบรมราชินี เป็นที่ประสูติพระราชโอรสและพระธิดาดังนั้น ข้อความที่จำเลยกล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า ถ้าจำเลยเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดมันใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระนั้น แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยชัดแจ้ง ก็ย่อมแปลเจตนาของจำเลยได้ว่า จำเลยกล่าวโดยมุ่งหมายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท
ข้อความที่จำเลยกล่าวจะเป็นการใส่ความในประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชังหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาถึงฐานะที่ทรงดำรงอยู่และความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวด้วย การที่จำเลยกล่าวว่า ถ้าเลือกเกิดได้จะเลือกเกิดใจกลางพระบรมมหาราชวังออกมาเป็นพระองค์เจ้าวีระไม่ต้องมายืนตากแดดพูดให้ประชาชนฟัง ถึงเวลาเที่ยงก็เข้าห้องเย็น เสวยเสร็จก็บรรทมตื่นอีกทีบ่ายสามโมง พอตกเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์ให้สบายอกสบายใจนั้น เป็นการกล่าวเปรียบเทียบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาททรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติพระราชภารกิจ ใด ๆ เวลาเที่ยงเสวยเสร็จก็บรรทมไปจนถึงเวลาบ่ายสามโมงตกตอนเย็นก็เสวยน้ำจันฑ์อย่างสบายอกสบายใจ ต่างกับจำเลยซึ่งเกิดเป็นลูกชาวนาต้องทำงานหนัก มีแต่ความยากลำบากเพราะเลือกเกิดไม่ได้ คำกล่าวของจำเลยนี้ พยานโจทก์ทุกปากประกอบด้วยบุคคลจากหลายท้องถิ่นและหลายสาขาอาชีพ ทั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร นักการเมือง ครูอาจารย์ ทนายความ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวนา ล้วนเบิกความให้ความเห็นสรุปได้ว่า จำเลยกล่าวหาใส่ความว่าทั้งสามพระองค์ทรงมีความเป็นอยู่สุขสบาย ไม่ต้องปฏิบัติภารกิจใด ๆ เอาแต่พักผ่อนและดื่มสุรา อันแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปต่างเห็นว่าจำเลยเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯองค์รัชทายาท ความเห็นของพยานโจทก์นี้เป็นความเห็นประกอบกับข้อความที่อ้างว่าเป็นหมิ่นประมาทย่อมรับฟังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมดแล้ว ถือได้ว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯสยามมกุฎราชกุมาร องค์รัชทายาท ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชัง แม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผล เพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาท ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112
จำเลยเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วหลายสมัย และเป็นรัฐมนตรีมาแล้วหลายกระทรวง ได้ประกอบคุณงามความดีต่อประเทศชาติจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการจัดหาทุนสร้างสวนหลวง ร.9 และหาทุนโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย นับว่าเป็นผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อน นอกจากนี้หลังจากเกิดเหตุแล้ว จำเลยยังได้ไปกล่าวคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ห้องรับรองของรัฐสภา และได้มีหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษผ่านทางราชเลขาธิการ เป็นการรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น อันเป็นเหตุบรรเทาโทษ มีเหตุสมควรปรานีลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962-963/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การอุทิศที่ดินโดยพระมหากษัตริย์และการครอบครองโดยโจทก์
การรับฟังข้อเท็จจริงว่าพระเจ้าทรงธรรมทรงอุทิศที่ป่ารอบรอยพระพุทธบาทเป็นบริเวณออกไปหนึ่งโยชน์ หรือ 16 กิโลเมตรเพื่อสร้างวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ที่มีมานานกว่า 300 ปีโดยไม่มีผู้รู้เห็นโดยตรงหลงเหลืออยู่ จะต้องรับฟังจากคำบอกเล่า และเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้เป็นสำคัญ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อบทความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคแรกบัญญัติว่า"เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ นอกจากหนังสือพิมพ์ผู้ประพันธ์ ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ก็ให้ลงโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ" วรรค 2 บัญญัติว่า "ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย" เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ และผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงบทความตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นตัวการตามวรรค 2
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้นจำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส. หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัวเพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้วจึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมาและที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้วดังเช่นคดีนี้บทความของ ส. ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส. ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้นเป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้นจำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส. หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัวเพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้วจึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมาและที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้วดังเช่นคดีนี้บทความของ ส. ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส. ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้นเป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันพินัยกรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงสลักหลัง และข้อจำกัดการโอนที่ดินตามพินัยกรรม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์สลักหลังพินัยกรรมของ ท. ให้ใช้ได้เหมือนพินัยกรรมที่ได้ทำถูกต้องตามกฎหมาย มีผลเด็ดขาดเป็นกฎหมาย พินัยกรรมนั้นใช้ได้ตลอดมาจนปัจจุบัน ต่อมาท.ทำพินัยกรรมให้อ. อาศัยอยู่ในที่ดินส่วนหนึ่ง อ.จะทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนนั้นให้แก่ใครต่อไป โดยไม่มีที่ดินแปลงอื่นมาแทนมิได้ผู้รับที่ดินตามพินัยกรรมของ อ. จึงโอนที่ดินนั้นต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 329(4) และอำนาจศาลในการนับโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา329 (4) บัญญัติถึงกรณีที่ว่า ได้มีการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุมแล้วได้มีการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมในเรื่องนั้น ๆ
จำเลยพูดกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่ประชุมสาธารณะจำเลยจะยก มาตรา 329(4) มาเพื่อให้พ้น ผิดหาได้ไม่
การนับโทษจำเลยต่อ เป็นอำนาจศาลที่จะสั่งให้โทษจำคุกในคดีหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่วันใดได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
จำเลยพูดกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่ประชุมสาธารณะจำเลยจะยก มาตรา 329(4) มาเพื่อให้พ้น ผิดหาได้ไม่
การนับโทษจำเลยต่อ เป็นอำนาจศาลที่จะสั่งให้โทษจำคุกในคดีหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่วันใดได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) และอำนาจศาลในการนับโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) บัญญัติถึงกรณีที่ว่าได้มีการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม แล้วได้มีการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมในเรื่องนั้นๆ
จำเลยพูดกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่ประชุมสาธารณะ จำเลยจะยก มาตรา 329(4) มาเพื่อให้พ้นผิดหาได้ไม่
การนับโทษจำเลยต่อ เป็นอำนาจศาลที่จะสั่งให้โทษจำคุกในคดีหนึ่งๆเริ่มนับแต่วันใดได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
จำเลยพูดกล่าวถ้อยคำอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในที่ประชุมสาธารณะ จำเลยจะยก มาตรา 329(4) มาเพื่อให้พ้นผิดหาได้ไม่
การนับโทษจำเลยต่อ เป็นอำนาจศาลที่จะสั่งให้โทษจำคุกในคดีหนึ่งๆเริ่มนับแต่วันใดได้ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้