พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยกเว้นความผิดอาวุธปืนตาม พรบ. ยกเว้นความผิดอาญา แต่ยังมีความผิดฐานพาอาวุธปืน
ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ ได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก้ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาต มามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ แม้ขณะถูกจับกุมไม่ปรากฏว่าจำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ก็ตาม แต่เมื่อขณะเกิดเหตุในคดีนี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 ยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดเฉพาะความผิดฐานมีอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่สำหรับความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะนำอาวุธและเครื่องกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ ย่อมถือว่าจำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่มีเหตุสมควร และไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืน ซึ่งเป็นความผิดทั้งตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง และ ป.อ. มาตรา 371
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้ย้อนหลังของ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กับคดีล้มละลายที่ฟ้องก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 35 บัญญัติให้บุคคลธรรมดาที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบัญญัติให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้ว มาตรา 34 ยังบัญญัติให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 35 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องสมบูรณ์แม้ไม่อ้างมาตราเฉพาะ หากระบุพระราชบัญญัติและบรรยายลักษณะความผิดชัดเจน
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุอ้างแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้อ้างมาตรา 4 ไว้ กับโจทก์อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาท้ายฟ้องก็ตามแต่โจทก์ก็ระบุไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แสดงว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหรือฐานความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติไว้เพียง11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียว ที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆ ล้วนบัญญัติในเรื่องอื่นไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิด และในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และไม่หลงต่อสู้ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้ยกบทมาตราแห่งกฎหมายขึ้นปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) นั้น เป็นการไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้ยกบทมาตราแห่งกฎหมายขึ้นปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) นั้น เป็นการไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พรบ.ฉลองครองราชย์ 50 ปี ไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องประโยชน์ใดๆ แม้ถูกลงโทษก่อนใช้บังคับ
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์กระทำความผิดก่อน วันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออก จากงานเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ก่อน พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ ต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษ จำเลยจึง ต้องรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งเดิม เงินเดือนเดิม พร้อมค่าจ้างนับแต่วันออกจากงานถึงวันรับกลับเข้าทำงาน และเงินโบนัสแก่โจทก์ พระราชบัญญัติดังกล่าวที่โจทก์อ้าง เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และแม้โจทก์ได้กระทำความผิดวินัยก่อนวันที่ 9 มิถุนายน 2539 จำเลยมีคำสั่งลงโทษทางวินัยลงวันที่ 27 สิงหาคม 2539 ให้ออกจากงานโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2539 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับซึ่งต้องถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยตามมาตรา 5 ก็ตาม แต่เนื่องจากมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติว่าการล้างมลทินตามมาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การล้างมลทินให้โจทก์จึงเป็นเพียงให้ถือว่าโจทก์มิได้เคยถูกลงโทษทางวินัยไม่มีมลทิน ไม่เสียสิทธิหรือขาดคุณสมบัติภายภาคหน้าเท่านั้นดังนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับ โจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งที่เทียบเท่า ตำแหน่งเดิมหรือเรียกค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน และผลต่อการนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกกับโทษใหม่
ตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า"ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ" หมายความว่า ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 1 ตุลาคม 2539อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือในกรณีที่ผู้นั้นรับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 1 ตุลาคม 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 แล้วแต่กรณีการที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 1 ปี แต่ศาลได้รอการลงโทษไว้จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และไม่ได้รับผลตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯเช่นเดียวกัน
โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีก่อน เพียงแต่ให้การรับสารภาพในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เมื่อโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ขอให้บวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อน ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การรับว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีก่อน เพียงแต่ให้การรับสารภาพในความผิดที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบในข้อนี้ เมื่อโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ปรากฏก็ไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อนฟ้องคดี
คดีนี้โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทและแจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยไม่ออกไป โจทก์ก็ฟ้องคดีทันที ส่วนจำเลยเมื่อถูกโจทก์ฟ้องขับไล่ก็ฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทันทีเช่นกัน โดยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 กำหนดไว้ ตามมาตรา 34,35,54,56 เมื่อ คชก. ตำบลท่าเสา และ คชก. จังหวัดสมุทรสาครยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวของโจทก์ จำเลย การฟ้องคดีของโจทก์ก็ดี การฟ้องแย้งของจำเลยก็ดีเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 57 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และจำเลยก็ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งขอซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่นา โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ โจทก์ยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ กรณีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่นา โจทก์ไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ โจทก์ยกขึ้นฎีกาอีกไม่ได้ กรณีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษและพระราชบัญญัติล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539มาตรา6(3)ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่1ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปและต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539มาตรา4ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92,93ไม่ได้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเปลี่ยนประเภทเป็นการเลี้ยงปลา ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินโจทก์เพื่อทำนาแต่ต่อมาได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาอันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯโจทก์จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเปลี่ยนประเภทจากนาเป็นบ่อปลา ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ทำนาต่อมาจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะการเช่านามาทำเป็นบ่อเลี้ยงปลาอันเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้เช่าได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับการเช่านาการบอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อนฟ้อง