คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พระเครื่อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง vs. ฉ้อโกงประชาชน: การเช่าพระเครื่องแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ และความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหาย 4 คนได้ทราบว่าที่วัด พ. มีพระเครื่องซึ่งเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้เช่าบูชา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นผู้นำออกให้เช่าผู้เสียหายทั้งสี่จึงไปเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับรองว่าพระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งความจริงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวและไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โฆษณาให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการให้เช่าพระเครื่อง หากเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายทั้งสี่ทราบข่าวมาเองแล้วมาติดต่อขอเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการให้เช่าพระเครื่องส่วนหนึ่งไปปรับปรุงซ่อมศาลากรรมฐานของวัดดังกล่าว แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการร้ายแรงนำความเสื่อมเสียมาสู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและพุทธศาสนาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในพระเครื่องที่บรรจุในเจดีย์: การครอบครองและการสละสิทธิ
จำเลยและ ย. บรรจุพระเครื่องพิพาทไว้ในเจดีย์บรรจุกระดูกของบรรพบุรุษซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระอุโบสถวัดโจทก์ เพื่อให้ ลูกหลานเซ่นไหว้เมื่อย. ตาย จำเลยก็ยังไปเคารพกราบไหว้ ตามประเพณีชาวจีนตลอดมาไม่เคยสละละทิ้ง ดังนี้ พระเครื่องพิพาท ซึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโจทก์เจาะ เจดีย์เอาพระเครื่องพิพาทไป จำเลยติดตามเอาคืนจากโจทก์ได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในพระเครื่องที่บรรจุในเจดีย์: สิทธิของเจ้าของเดิม vs. การครอบครองของวัด
จำเลยและ ย. บรรจุพระเครื่องพิพาทไว้ในเจดีย์บรรจุกระดูกของบรรพบุรุษซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพระอุโบสถวัดโจทก์ เพื่อให้ลูกหลานเซ่นไหว้เมื่อย.ตายจำเลยก็ยังไปเคารพกราบไหว้ตามประเพณีขาวจีนตลอดมาไม่เคยสละละทิ้งดังนี้ พระเครื่องพิพาทซึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย โจทก์เจาะเจดีย์เอาพระเครื่องพิพาทไป จำเลยติดตามเอาคืนจากโจทก์ได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์. (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2531).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์: การกระชากพระเครื่องยังไม่สำเร็จความผิดฐานชิงทรัพย์ ถือเป็นความพยายาม
จำเลยใช้เหล็กปลายแหลมจี้ขู่บังคับให้ผู้เสียหายถอดสร้อยคอให้ ผู้เสียหายกำลังจะถอด มีผู้เข้าช่วยจำเลยจึงกระชากพระเครื่องซึ่งกลัดเข็มกลัดไว้ที่เสื้อ พระเครื่องตกลงที่พื้นรถ ยังไม่ได้เอาไป และยังมิได้เข้ายึดถือครอบครองพระเครื่องนั้นเลย ความผิดฐานชิงทรัพย์ยังไม่สำเร็จเป็นเพียงพยายามชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระเครื่องส่วนบุคคล ไม่ถึงฐานลักทรัพย์พระพุทธรูปที่สักการะบูชาของประชาชน
ฟ้องหาว่าจำเลยลักพระเครื่องยอดธงที่เป็นพระพุทธรูปอันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนและเจ้าทรัพย์ โดยล้วงเอาไปจากกระเป๋าเสื้อของเจ้าทรัพย์ เหตุเกิดในบริเวณวัดนิกรชนาราม จำเลยให้การรับสารภาพ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเห็นได้ว่าพระเครื่องของกลางไม่อยู่ในฐานะอันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนไปได้ และจำเลยได้ลักล้วงเอาไปจากกระเป๋าเสื้อของเจ้าทรัพย์เช่นนี้ แม้เหตุลักทรัพย์จะเกิดในบริเวณวัด จำเลยยังไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระเครื่องส่วนบุคคล ไม่เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์พระพุทธรูปที่สักการะบูชาของประชาชน
ฟ้องหาว่าจำเลยลักพระเครื่องยอดธงที่เป็นพระพุทธรูปอันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนและเจ้าทรัพย์ โดยล้วงเอาไปจากกระเป๋าเสื้อของเจ้าทรัพย์ เหตุเกิดในบริเวณวัดนิกรชนารา ม.จำเลยให้การรับสารภาพ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องเห็นได้ว่าพระเครื่องของกลางไม่อยู่ในฐานะอันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนไปได้ และจำเลยได้ลักล้วงเอาไปจากกระเป๋าเสื้อของเจ้าทรัพย์เช่นนี้ แม้เหตุลักทรัพย์จะเกิดในบริเวณวัด จำเลยยังไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ