คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติกรรมไม่เหมาะสม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และการพิสูจน์เหตุแห่งการเลิกจ้าง
โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำ เดือนละหลายครั้ง จนจำเลยต้องมีหนังสือตักเตือนโจทก์ และต้องเปลี่ยนเวลาทำงานของโจทก์จากเวลาทำงานเดิม 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เป็น 9.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา ต่อมาโจทก์ขอเปลี่ยนเวลาทำงานกลับไปเป็นเวลาเดิม เห็นได้ว่าจำเลยได้พยายามแก้ไขการมาทำงานสายของโจทก์ตลอดมา แต่โจทก์ไม่ปรับปรุงตัว วันที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ก็ยังมาทำงานสายถึง 37 นาที และเมื่อปลายปี 2545 ว. ได้ออกแบบงานชิ้นหนึ่งแล้วนำไปให้โจทก์ดำเนินการเขียนแบบตั้งแต่ตอนเช้าโดยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต้องนำไปให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้นเวลา 10.00 นาฬิกา โจทก์ไม่เขียนแบบเองแต่นำไปมอบให้พนักงานเขียนแบบคนอื่นดำเนินการแทน วันรุ่งขึ้นโจทก์ไปทำงานสายและปรากฏว่าผู้ที่โจทก์มอบให้เขียนแบบแทนเขียนแบบไม่เสร็จ ทำให้ ว. ต้องเสนอผลงานที่ยังไม่เสร็จต่อลูกค้า การที่โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำ และการทำงานของโจทก์มีปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานกับฝ่ายออกแบบ เป็นเหตุให้งานของจำเลยไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด และในวันที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ก็ยังมาทำงานสาย ย่อมมีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างโดยไม่ตรงเหตุ ผลักดันให้จ่ายค่าชดเชยแม้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
แม้ในระหว่างการทำงานโจทก์ลาป่วยและมาทำงานสายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งโจทก์มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการลา ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้ตักเตือนโจทก์ในเรื่องดังกล่าวด้วยวาจาและเป็นหนังสือ จำเลยได้ลงโทษโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนหลายครั้งซึ่งจำเลยอาจอ้างความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ก็ตาม แต่หนังสือเลิกจ้างของจำเลยเพียงแต่อ้างเหตุที่ให้โจทก์ออกจากงานว่าการกระทำของโจทก์เข้าลักษณะเป็นผู้หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่การงานของตน ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และบกพร่องในหน้าที่เท่านั้น จำเลยมิได้อ้างเหตุความผิดดังกล่าวของโจทก์มาเป็นเหตุโดยตรงในการเลิกจ้าง จึงต้องถือว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะเลิกจ้างโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าว นอกจากนี้ตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 34 ซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยในการเลิกจ้างโจทก์ ก็ระบุว่าพนักงานที่ต้องพ้น จากตำแหน่งหน้าที่ตามข้อ 34 ให้ถือว่าเป็นการออกจากตำแหน่งหน้าที่โดยมิได้กระทำความผิด มีสิทธิได้รับบำเหน็จอีกด้วย จำเลยจึงหยิบยกอ้างความผิดของโจทก์ซึ่งมิได้ระบุเป็นเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือให้โจทก์ออกจากงานมาเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่า: การคบชู้และพฤติกรรมไม่เหมาะสมของคู่สมรสต่อบุคคลอื่นและบุตร
โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่เพราะโจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะหึงหวงและป้องกันมิให้โจทก์ทอดทิ้งตนและบุตรจำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ให้โอนย้ายโจทก์เพื่่อให้โจทก์เลิกยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นและให้ความรักความอบอุ่นแก่ครอบครัวแต่่โจทก์มิได้ปฏิบัติตัวดีขึ้นจำเลยจึงต้องร้อยเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์อีกหลายครั้งเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวตักเตือนโจทก์แต่โจทก์ไม่นำพาจนถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยและการที่โจทก์ยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาทั้งเห็นดีเห็นชอบให้หญิงอื่นแสดงตนเทียบฐานะเสมอจำเลยโดยใช้สรรพนามแทนตนว่า"แม่"ต่อบุตรทั้งสองของโจทก์จำเลยย่อมเกินกว่าที่จำเลยจะยอมรับได้ที่จำเลยกีดกันหลบเลี่ยงมิให้โจทก์พบปะบุตรจึงมีเหตุผลที่จะกระทำได้โจทก์จะอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดข้าราชการทหารเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อเนื่อง แม้ได้รับโอกาสแก้ไขแล้ว การพิจารณาความผิดในอดีตประกอบได้
โจทก์เคยประพฤติตนไม่เหมาะสมมาก่อนแล้วหลายครั้งหลายหน ซึ่งการประพฤติตนดังกล่าวหาได้ถูกล้างไปตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 มาตรา 5 ไม่ จำเลยซึ่งเป็นหน่วยราชการต้นสังกัดของโจทก์จึงสามารถนำเอาความประพฤติชั่วของโจทก์ในครั้งก่อน ๆ มาพิจารณาประกอบความประพฤติที่ไม่สมควรในครั้งหลัง และถือว่าโจทก์ประพฤติไม่สมควรและประพฤติชั่วหลายครั้งหลายหน ไม่เข็ดหลาบ เป็นประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปลดโจทก์ออกจากราชการได้ ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการ (อาหาร/ที่พัก) และค่าบริการไม่ใช่ค่าจ้าง การเลิกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสม
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างที่ทำงานเป็นพนักงานเสริฟพักอาศัยอยู่ที่ชั้นบนของภัตตาคารและให้ลูกจ้างรับประทานอาหารวันละ2 มื้อนั้นมีลักษณะเป็นการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลืออันเป็นสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง กรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง ส่วนเงินค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์จะนำเงินดังกล่าวมาแบ่งปันจ่ายให้เป็นรางวัลแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างตามปกติ ในกรณีที่นายจ้างเรียกเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินค่าบริการแก่ลูกจ้าง เงินค่าบริการดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 เช่นกัน.
โจทก์เป็นพนักงานเสริฟในภัตตาคารของจำเลย ชอบพูดจาหยาบคายกับลูกค้า ค่าพนักงานอื่นและเคยด่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย กรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดอันจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 แต่พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของนายจ้าง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้ร้องประกอบกิจการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ รถยนต์ที่จำหน่ายใช้ชื่อทางการค้าว่า "เชฟโรเลต" ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน วันที่ 13 มีนาคม 2552 คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีมติให้นัดหยุดงาน เวลา 22 นาฬิกา ของวันนั้นผู้คัดค้านเปลือยกายถ่ายรูปทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่หน้าป้ายชื่อบริษัทผู้ร้องและป้ายชื่อ "เชฟโรเลต" เป็นการกระทำไม่ให้เกียรติแก่สถานที่ทำงานของผู้คัดค้าน ลบหลู่ไม่ให้เกียรติแก่ผู้ร้อง ต่อมามีการนำภาพถ่ายดังกล่าวไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศ ย่อมมีผลทำให้ผู้ร้องเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมีเหตุสมควรและเพียงพอให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้