พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8484/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวและการฝากขัง: การพิจารณาหลักฐาน พฤติการณ์ และอำนาจศาล
ในการวินิจฉัยคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ป.วิ.อ. มาตรา 108 (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติให้พิจารณาข้อเหล่านี้ประกอบด้วย (1) ความหนักเบาแห่งข้อหา (2) พยานหลักฐานที่นำมาสืบแล้วมีเพียงใด (3) พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร (4) เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด (5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือไม่ (6) ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด หรือไม่ (7) ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องขังตามหมายศาล ถ้ามีคำคัดค้านของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือโจทก์แล้วแต่กรณี ศาลพึงรับฟังประกอบการวินิจฉัยได้ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งในคำร้องลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ที่ ต. ซึ่งเป็นผู้ขอประกันยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวโจทก์ในระหว่างสอบสวนว่า โจทก์มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ผู้ขอประกันไม่ใช่ญาติของโจทก์ ประกอบกับพนักงานสอบสวนกำลังขยายผลรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและฉ้อโกงประชาชน และคัดค้านการประกัน จึงไม่อนุญาตให้ประกัน ยกคำร้อง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากคำคัดค้านของพนักงานสอบสวนมาพิจารณาประกอบความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ววินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 108 อันเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนหาใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใดไม่ และถึงแม้ว่าหลักทรัพย์ที่ใช้ขอปล่อยชั่วคราวมีจำนวนสูงถึง 542,640 บาท ก็ตาม แต่การพิจารณาหลักทรัพย์ที่ผู้ขอประกันเสมอมา เป็นเพียงเหตุหนึ่งในหลายเหตุที่ศาลจะนำมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราว มิใช่ว่าหลักทรัพย์มีจำนวนสูงแล้ว ศาลต้องอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเสมอไป
ป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสี่ (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติว่า ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้...ฯลฯ... และมาตรา 87 วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนวันมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ และผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังโจทก์ไว้ตามคำร้อง จึงมีคำสั่งอนุญาตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีมาตราใดใน ป.วิ.อ. ที่บังคับว่า ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ศาลต้องไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยอนุญาตให้ฝากขังโจทก์จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้พิพากษาในศาล
ป.วิ.อ. มาตรา 87 วรรคสี่ (ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ) บัญญัติว่า ถ้าเกิดความจำเป็นที่จะควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่ากำหนดเวลาในวรรคก่อน เพื่อให้การสอบสวนเสร็จสิ้นให้ส่งผู้ต้องหามาศาล ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังผู้ต้องหานั้นไว้...ฯลฯ... และมาตรา 87 วรรคหก บัญญัติว่า ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนวันมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ฝากขังหรือไม่ และผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยได้ไต่สวนแล้ว เห็นว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังโจทก์ไว้ตามคำร้อง จึงมีคำสั่งอนุญาตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ตามคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนดังกล่าวระบุว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหาตามที่โจทก์อ้างก็ตาม แต่ก็ไม่มีมาตราใดใน ป.วิ.อ. ที่บังคับว่า ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแล้ว ศาลต้องไม่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาไว้ ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัยอนุญาตให้ฝากขังโจทก์จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจสั่งคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของผู้พิพากษาในศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาวุธปืน การรับสารภาพ และการลดโทษเหมาะสมกับพฤติการณ์
ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและสอบถามจำเลยเรื่องทนายความกับอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนปืนของเจ้าพนักงานประทับและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ ส่วนฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีฯ และฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาได้โดยไม่ต้องสืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เสียไปแม้โจทก์จะยังมิได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารโดยไม่เข้าทางเพศ: ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และผลตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยเจตนา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายถูกปิดตาไม่สามารถมองเห็นการกระทำของจำเลย จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเหมือนกันทุกครั้ง โดยจับผู้เสียหายนอนหงายแล้วจำเลยนอนทับตัวผู้เสียหาย การที่จำเลยทับตัวผู้เสียหายก็ดี ใช้ขาจำเลยหนีบขาผู้เสียหายก็ดี ผู้เสียหายไม่รู้สึกเจ็บปวดที่อวัยวะเพศก็ดี ความรู้สึกเหล่านี้ผู้เสียหายย่อมรับรู้และเข้าใจได้ ส่วนความรู้สึกว่ามีสิ่งของเข้าไปในอวัยวะเพศและมีน้ำอุ่นๆเข้าไปภายในอวัยวะเพศนั้นผู้เสียหายไม่สามารถรับรู้และเข้าใจในความรู้สึกนั้น การที่ผู้เสียหายไม่รู้สึกเจ็บปวดที่อวัยวะเพศ มีน้ำอุ่นๆเปรอะบริเวณหน้าขา และเจ็บหน้าขาที่ถูกจำเลยหนีบ จำเลยอายุ 45 ปี ผู้เสียหายอายุ 10 ปีเศษ จำเลยรูปร่างสูงใหญ่และแข็งแรงกว่าผู้เสียหายมาก หากจำเลยมีเจตนากระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายย่อมไม่อาจต้านทานได้ และจำเลยย่อมไม่กระทำต่อผู้เสียหายในลักษณะท่าทีใช้ขาทั้งสองข้างหนีบขาผู้เสียหาย ผลการตรวจร่างกายผู้เสียหายไม่พบร่องรอยบาดแผลส่วนเยื่อพรหมจารีขาดไปนานแล้ว พยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมดังกล่าวเชื่อได้ว่าอวัยวะเพศจำเลยไม่ได้ผ่านเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย แสดงว่าจำเลยเจตนากระทำต่อผู้เสียหายแต่ภายนอก จึงมีความผิดฐานกระทำอนาจาร ซึ่งศาลลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนัน: ลดโทษจำคุกอาชีพเจ้ามือรับกินรับใช้ แม้พฤติการณ์ร้ายแรง แต่โทษรวมสูงเกินไป
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบหลายงวด ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำเป็นอาชีพ พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งสองไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งอ้างความจำเป็นในการกระทำความผิด ก็มิใช่เหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตามโทษจำคุกที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกได้ ตาม ป.อ. มาตรา 55 แม้จะปรากฏว่าโทษจำคุกที่กำหนดใหม่จะต่ำกว่าอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตามมาตรา 12 (1) แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3563/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมเหยียดหยามและหมิ่นประมาท ศาลพิจารณาพฤติการณ์โดยรวมและเหตุแห่งการกระทำ
โจทก์มีพฤติการณ์ส่อว่าจะมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับผู้หญิงอื่น จำเลยหึงหวงเป็นเหตุให้ทะเลาะกันมาโดยตลอด ณ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์เคยมาขอยืมเงินโจทก์ไปแล้วยังใช้คืนไม่หมด ต่อมา ณ. ขอให้โจทก์นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองเพื่อนำเงินกู้มาเป็นค่าใช้จ่ายเดินทางไปทำงานต่างประเทศอีก แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อให้ความยินยอมในการจดทะเบียนจำนอง จึงเกิดทะเลาะกัน โจทก์จำเลยเขียนบันทึกโต้ตอบกันโดยโจทก์ด่าจำเลยก่อนว่าโจทก์กับจำเลยเป็นบุคคลคนละชั้นกัน จำเลยจึงลำเลิกบุญคุณด่ากลับทำนองว่าโดยเลี้ยงดูส่งเสียโจทก์มาก่อน การที่จำเลยพูดห้ามบุตรสาวจำเลยไม่ให้เข้าใกล้โจทก์และว่าไอ้คนนี้ถ้าคลำไม่มีหางมันเอาหมดนั้น เป็นการกระทำไปโดยเจตนาเตือนให้บุตรสาวระมัดระวังตัวไว้ เพียงแต่ใช้ถ้อยคำอันไม่สมควรเยี่ยงมารดาทั่วไปเท่านั้น นอกจากนี้ การที่จำเลยพูดว่าทำนองเหยียดหยามโจทก์และมารดาโจทก์เกิดจากโจทก์และมารดาโจทก์มีส่วนร่วมก่อให้จำเลยกระทำการดังกล่าวอยู่มาก จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเหยียดหยามโจทก์และมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงอันโจทก์จะอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2309/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย และการลงโทษที่เหมาะสมกับพฤติการณ์
การขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จะต้องกระทำเสียก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา การที่จำเลยขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา ย่อมเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พิจารณาจากระยะเวลาและพฤติการณ์หลังเกิดเหตุ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด มิใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันทันด่วน พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจากร้านอาหารไปโดยจำเลยทั้งสองไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองได้ออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1 กลับมาใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: พฤติการณ์ถอดรื้อรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
บ้านของจำเลยไม่ได้มีสภาพเป็นอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์แต่ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยกลับพบรถจักรยานยนต์ถึง 3 คัน แต่ละคันมีลักษณะถูกถอดชิ้นส่วนออกจนไม่สามารถขับได้ ทำให้เห็นได้ว่ากรณีไม่น่าจะเป็นเพียงจำเลยซ่อมรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนตามที่จำเลยกล่าวอ้าง การที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ของกลางไว้แล้วถอดรื้อชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของกลางออกจนรถไม่สามารถใช้ขับขี่ได้พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวโดยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7793/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การต่อสู้และบาดแผล
การที่จำเลยต่อสู้ขัดขืนการจับกุมและใช้กรรไกรแทงทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่ปรากฏว่าการแทงครั้งแรกถูกจ่าสิบตำรวจ ร. ที่ท้องแต่ไม่เข้า เมื่อกอดปล้ำกันจำเลยได้แทงที่ไหล่ขวาจนเสื้อขาดและไม่เข้าอีกเช่นกัน แสดงว่ามิใช่เป็นการแทงโดยแรง หลังจากนั้นจำเลยได้ใช้กรรไกรแทงที่กระเดือกและคอจ่าสินตำรวจ ร. มีเลือดไหลที่บริเวณกระเดือกเห็นได้ว่าขณะจำเลยใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. นั้นเป็นการแทงขณะจำเลยและจ่าสิบตำรวจ ร. ต่อสู้กอดรัดกัน และเป็นการแทงเพื่อที่จำเลยจะหลบหนี จำเลยจึงอยู่ในภาวะที่ไม่มีโอกาสเลือกแทงอวัยวะส่วนใดของจ่าสิบตำรวจ ร. ได้ อาวุธที่จำเลยใช้แทงจ่าสิบตำรวจ ร. เป็นกรรไกรขนาดไม่ใหญ่ ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แม้จำเลยจะใช้กรรไกรแทงจ่าสิบตำรวจ ร. หลายครั้ง แต่จ่าสิบตำรวจ ร. มีบาดแผลที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญเพียงแห่งเดียว บาดแผลดังกล่าวเป็นเพียงรอยถลอกยาว 0.5 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาประมาณ 7 วันหาย พฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าจ่าสิบตำรวจ ร. จำเลยคงมีเจตนาทำร้ายจ่าสิบตำรวจ ร. เพื่อให้พ้นจากการจับกุมเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และจำเลยยังมีความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พฤติการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดพยายามทำให้เสียทรัพย์ แม้ไม่มีเข็มฉีดยา แต่มีกระบอกฉีดยาพร้อมสารพิษ ถือเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว
จำเลยมีกระบอกฉีดยาบรรจุสารพิษไว้แล้ว และจำเลยกำลังจับเชือกที่ผูกกระบือของผู้เสียหายซึ่งพร้อมที่จะลงมือฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทำของจำเลยดังนี้ใกล้ชิดต่อผลแห่งการทำให้เสียทรัพย์ ถือว่าลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์