คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์พิเศษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8969/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: พิจารณาพฤติการณ์พิเศษและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี แต่เป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลย ซึ่งผลการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย จึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5 ) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ภาษีอากรล่าช้าในคดีฟื้นฟูกิจการ: เหตุสุดวิสัยและพฤติการณ์พิเศษ
ขณะลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ลูกหนี้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 28 ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติ ต่อมาเมื่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีคำสั่ง ณ วันที่ 25 ธันวาคม ให้เพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ให้แก่ลูกหนี้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าลูกหนี้ไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้นและต้องเสียภาษีอากรโดยถือสภาพของราคาและอัตราภาษีอากรที่เป็นอยู่ในวันนำเข้าเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ มาตรา 55 ดังนั้น มูลค่าหนี้ภาษีอากรที่เจ้าหนี้ทั้งสองแจ้งการประเมินให้ลูกหนี้ชำระและนำมาขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการนั้นจึงเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ทั้งสองอาจนำมาขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ และเมื่อศาลล้มละลายมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งลูกหนี้เป็นผู้ทำแผนแล้ว เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เนื่องจากไม่ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ทั้งสองในบัญชีเจ้าหนี้ กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้แล้วว่า เป็นพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ทั้งสองไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/36 และเจ้าหนี้ทั้งสองได้เร่งดำเนินการไปตามขั้นตอนปฏิบัติราชการเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการภายในเวลาอันสมควรภายหลังจากทราบว่าลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว กรณีจึงมีเหตุผลสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งสองไว้พิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุผลเลื่อนลอยและการประวิงเวลาไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 หลายครั้งเป็นเวลา 2 เดือนเศษแล้ว โดยครั้งสุดท้ายได้กำชับจำเลยที่ 1 ให้เร่งดำเนินการตามคำร้อง ศาลจะไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพราะเหตุใด ๆ อีก ถือได้ว่าศาลได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 มากแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์อ้างเหตุว่าหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เลื่อนการเดินทางกลับจากต่างประเทศอย่างกะทันหัน ทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ได้อีก ซึ่งเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้าง จึงเป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของจำเลยที่ 1 อ้าง ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องพฤติการณ์พิเศษขยายเวลาอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ในการต่อสู้คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมมาโดยตลอด และยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรอีก 3 คน ทั้งผู้ตายสามีจำเลยที่ 2 ก็มีหนี้สินเป็นจำนวนมากซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องแบกรับภาระเองทั้งสิ้นค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องวางในชั้นอุทธรณ์แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงสำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ก็มิได้บัญญัติว่าเหตุใดเป็นพฤติการณ์พิเศษแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ว่าหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลไม่ทันมิใช่พฤติการณ์พิเศษ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: กรณีพฤติการณ์พิเศษและการแก้ไขข้อบกพร่องการแต่งตั้งทนาย
ส. ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6542/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การไม่รอฟังคำสั่งศาลชั้นต้นถือเป็นความบกพร่องของทนาย
ในวันที่ 14 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 1 เดือน แล้วไม่รอฟังคำสั่งว่าศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาให้เพียงถึงวันที่ 21 กันยายน 2544 มิใช่ระยะเวลา 1 เดือนตามที่ขออันเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยที่ 1 กรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ และการที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นอุทธรณ์หรือยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดวันที่ 21 กันยายน 2544 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ดังกล่าว แต่กลับมายื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเพื่อให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน เมื่อภายหลังระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ได้หมดสิ้นไปแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อ้างเหตุสุดวิสัยไว้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเองหากไม่มีการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 ครบกำหนดระยะเวลาที่โจทก์ร่วมจะยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพื่อไปดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยให้ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โจทก์ร่วมได้ยื่นอุทธรณ์ซึ่งอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 อันเป็นระยะเวลาภายในกำหนดที่ขอขยาย การที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า เหตุการณ์ตามคำร้องของโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของโจทก์ร่วม เป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวนั้นไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างเหตุรวบรวมเอกสารไม่เพียงพอ
การที่จำเลยอ้างว่ากำลังรวบรวมเอกสารอยู่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะมีเอกสารจำนวนมากนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่าครบระยะเวลายื่นฎีกาวันที่ 29 ธันวาคม 2544 จำเลยยื่นคำแถลงขอให้เร่งรัดการคัดถ่ายสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544 ศาลมีคำสั่งในคำแถลงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ให้จำเลยรับเอกสารที่ขอถ่ายสำเนาได้ตามขอ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาลได้ถ่ายเอกสารแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2544 ดังนั้น หากจำเลยขวนขวายที่จะดำเนินการจำเลยย่อมมีเวลาอีกกว่า 20 วัน เพียงพอที่จะเรียบเรียงราวในการยื่นฎีกาได้ ทั้งคดีนี้ก็มิได้มีถ้อยคำสำนวนมากมายหรือยุ่งยากซับซ้อนจนไม่อาจรวบรวมหรือทำคำฟ้องฎีกามายื่นได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'แต่งทนายช้า' ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ คดีของโจทก์ไม่มีข้อยุ่งยาก หากจำเลยหาทนายความและยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ก็อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ แต่จำเลยเพิ่งแต่ทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ในวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยเพิ่งแต่งทนายความเพื่อว่าความในชั้นอุทธรณ์ ทนายจำเลยไม่อาจเรียกฟ้องอุทธรณ์ได้ทัน จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปสามสิบวัน ซึ่งข้ออ้างและเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค้างชำระที่ศาล: การเรียกร้องสิทธิภายใน 5 ปี และข้อยกเว้นจากพฤติการณ์พิเศษ
เงินค้างจ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 หมายถึงบรรดาเงินทั้งหมดที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี จึงจะตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าวันที่ 2 ธันวาคม 2534 จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาพร้อมดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2539 โจทก์ยื่นคำแถลงให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับ แต่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบ จนกระทั่งวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จึงแจ้งโจทก์ว่าพบสำนวนแล้ว ดังนั้น ระยะเวลา 1 ปีเศษ ที่เจ้าหน้าที่ศาลหาสำนวนไม่พบจึงเป็นพฤติการณ์พิเศษอันมิใช่ความผิดของโจทก์ที่เพิกเฉยไม่เรียกเอาภายใน 5 ปี แต่อย่างใดเพราะเมื่อโจทก์ทราบว่าพบสำนวนแล้วก็ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยวางศาลเพื่อชำระหนี้ในวันรุ่งขึ้นทันที ต้องถือว่าโจทก์ผู้มีสิทธิได้เรียกเอาคืนภายใน 5 ปีแล้ว
of 9