พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรซึ่งตกอยู่แก่จำเลยฝ่ายเดียวตามข้อตกลงจดทะเบียนหย่า แต่ตามคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีโจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย ถือได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8161/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กเมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง คำร้องขอพิจารณาได้แม้ไม่ใช่คดีมีข้อพิพาท
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521ประกอบมาตรา 1566(5) ที่ให้อำนาจศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์ในการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ทั้งการเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ป. อ้างในคำร้องขอว่า ร. มารดาเด็กหญิง ป. ไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิงป. เนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ร้องทั้งผู้ร้องรับราชการเป็นทหาร สามารถอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป. ได้ หากเป็นจริงย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กหญิง ป. เป็นสำคัญหาใช่เป็นเรื่องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลไม่แม้ผู้ร้องสอดเสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขอศาลก็รับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: แก้ไขได้เมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง แม้มีข้อตกลงประนีประนอม
มาตรา 1526 แห่ง ป.พ.พ.เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลสามารถกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แก่คู่หย่าในคดีหย่าได้ในกรณีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง มิได้เป็นบทบัญญัติที่บังคับว่าจะเรียกค่าเลี้ยงชีพได้แต่เฉพาะมีคดีฟ้องหย่าเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีหย่าว่า จำเลยยอมจดทะเบียนหย่าให้โจทก์และยอมชำระค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนทุกเดือนตลอดไป ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการยืดขยายหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภรรยาออกไปหลังการสมรสสิ้นสุดลง อันเป็นการช่วยเหลือจุนเจือกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมใช้บังคับได้ และในมาตรา 1526 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติ มาตรา1598/39 มาตรา 1598/40 และมาตรา 1598/41 เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูมาใช้บังคับเกี่ยวกับค่าเลี้ยงชีพโดยอนุโลม ซึ่งเมื่ออนุโลมตามมาตรา 1598/39วรรคหนึ่ง แล้วจะได้ความว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพโดยให้เพิกถอน ลดเพิ่มหรือกลับให้ค่าเลี้ยงชีพอีกก็ได้ ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อแสดงว่าพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไปจึงขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และมิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนี-ประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนจำเลยซึ่งเป็นความเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว และจำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตลอดมา แต่เมื่อพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ โดยให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่คดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ตามมาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง และมิได้เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามข้อประนี-ประนอมยอมความ คำร้องของจำเลยจึงมิได้อยู่ในบังคับที่จะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์อัตราร้อยละ 35 ของเงินเดือนจำเลยซึ่งเป็นความเหมาะสมในช่วงเวลาดังกล่าว และจำเลยจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์นับแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตลอดมา แต่เมื่อพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของโจทก์และจำเลยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันจำเลยกลับอยู่ในสภาพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อยกว่าโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ โดยให้จำเลยงดจ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: อำนาจศาลในการถอดถอน/แต่งตั้งผู้จัดการมรดกใหม่เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่1ถึงที่4เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเมื่อปรากฏต่อมาในภายหลังว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้ศาลยกคำร้องของค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้วแต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้งค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษมิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาจากฝึกอบรมเป็นจำคุกหลังคดีถึงที่สุด ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงก่อน
ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางพิพากษาให้จำคุกจำเลยซึ่งมีอายุ17 ปีเศษ แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมแทนคดีถึงที่สุด ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่าจำเลยถูกส่งตัวไปฝากขังที่เรือนจำอยู่แล้ว เพื่อให้จำเลยได้รับสิทธิเช่นเดียวกับผู้ต้องโทษทั่วไป ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยแทนการฝึกอบรม ดังนี้ เป็นการที่จำเลยกล่าวอ้างว่าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ควรที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษ หรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 63 จึงควรที่ศาลจะได้ฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งว่าสมควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลกรณีเยาวชนกระทำผิด – อำนาจแก้ไขเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์. ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่ศาลจะกำหนด. ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขการแบ่งผลประโยชน์จากมรดกตามพินัยกรรมเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมนั้น เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจที่จะถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดั่งกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้นเวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้แก่บุตร คือ1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ" ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้นมิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไปหากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท" เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ 4 ยังกล่าวอีกว่า"ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วน ที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัวตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
พินัยกรรมมีข้อความว่า "ข้อ 3 เงินผลประโยชน์ที่เก็บได้จากพื้นที่และตึกเรือนโรงดั่งกล่าวไว้ใน ข้อ 1 นั้นเวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท ซึ่งได้กำหนดส่วนแบ่งให้แก่ 1. หม่อมราชวงศ์กระจ่าง 2. หม่อมราชวงศ์กระจัด สองคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 40 บาท แบ่งให้แก่บุตร คือ1. ฯลฯ แปดคนนี้คนหนึ่งเดือนละ 10 บาท ฯลฯ" ดังนี้ถือว่า การที่ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมจะได้คนละเท่าใดนั้นมิได้กำหนดเป็นจำนวนบาทตายตัวตลอดไปหากขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า "เวลานี้ได้ประมาณ 1,800 บาท" เป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อความในพินัยกรรม ข้อ 4 ยังกล่าวอีกว่า"ถ้าจำนวนเงินผลประโยชน์ที่ได้จากพื้นที่จะลดน้อยลงไปจากหลักที่กำหนด ก็ให้แบ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ลดลงตามส่วน ที่จะพึงแบ่งได้ในเวลานั้นทุกประการ" แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมโดยชัดว่า มิประสงค์จะกำหนดให้ผู้มีส่วนได้เป็นจำนวนบาทตายตัวตามที่ระบุไว้นั้นเวลาทำพินัยกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ดินที่ปรากฏในพินัยกรรมมีผลประโยชน์เดือนละ 1,800 บาท เวลาปัจจุบันนี้ความจริงมีผลประโยชน์เท่าใด ผู้มีส่วนได้ตามพินัยกรรมก็มีสิทธิที่จะได้ตามอัตราส่วนตามค่าของเงินที่ระบุไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดี: การยอมปฏิบัติตามคำบังคับศาลทำให้สละสิทธิในการขอให้งดบังคับคดี
แม้ศาลจะพิพากษาและหมายบังคับคดีไปแล้ว หากมีพฤติการณ์ภายหลังเปลี่ยนแปลงไป อันทำให้การบังคับคดีไร้ผลแล้วคู่ความที่ถูกศาลบังคับนั้นอาจขอให้ศาลไต่สวนเพื่องดการบังคับคดีเสียได้
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้งดการบังคับคดี ศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกัน จำเลยกลับยอมปฏิบัติตามคำบังคับศาล โดยขอให้โจทก์ผ่อนระยะเวลาให้จนศาลสั่งให้เป็นไปตามที่ตกลงกันแล้ว ดังนี้ จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลงดการบังคับคดีอีก โดยอ้างเหตุอย่างเดิมไม่ได้เพราะถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธิในการที่จะให้งดการบังคับคดีเสียแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้งดการบังคับคดี ศาลเรียกโจทก์จำเลยมาพร้อมกัน จำเลยกลับยอมปฏิบัติตามคำบังคับศาล โดยขอให้โจทก์ผ่อนระยะเวลาให้จนศาลสั่งให้เป็นไปตามที่ตกลงกันแล้ว ดังนี้ จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลงดการบังคับคดีอีก โดยอ้างเหตุอย่างเดิมไม่ได้เพราะถือได้ว่าจำเลยได้สละสิทธิในการที่จะให้งดการบังคับคดีเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษและการส่งตัวไปต่างจังหวัดสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำที่มีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
จำเลยเคยถูกจำคุกมาแล้ว 2 ครั้ง และพ้นโทษครั้งก่อน ๆ ไปช้านานแล้ว และโทษครั้งนี้ก็ไม่ร้ายแรง ทั้งจำเลยมีบ้านเรือนเปนหลักฐาน ศาลไม่ส่งตัวไปต่างจังหวัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9591/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดจากบัญชีดำผู้ก่อการร้ายเมื่อเสียชีวิต พฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด" การที่ ม. ซึ่งเป็นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดถึงแก่ความตายย่อมทำให้พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของ ม. หมดสิ้นไป จึงเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายของบุคคลที่ถูกกำหนดเปลี่ยนแปลงไป ศาลย่อมมีคำสั่งให้เพิกถอนชื่อ ม. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด