พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้สามัญเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลพิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงความพลั้งเผลอ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมอุทธรณ์และการวินิจฉัยคดีของผู้ไม่ระบุชื่อในคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่ได้ระบุชื่อผู้ร่วมอุทธรณ์เป็นเพียงความพลั้งเผลอ
คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนอกจากจะมีเนื้อหาและเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นของผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว ในคำขอท้ายอุทธรณ์ก็มีข้อความที่ผู้คัดค้านทั้งสองขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นร่วมกันมา แสดงว่าผู้คัดค้านทั้งสองร่วมอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกันแม้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ระบุชื่อในหัวข้อรายการแห่งคดีเพราะพลั้งเผลอ ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการสิ้นสุดคดีล้มละลาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุพลั้งเผลอ
การยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยอ้างว่าเกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขโดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดการอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรนั้น คำว่าให้คนส่วนแบ่ง แสดงว่าผู้ขอได้รับชำระหนี้ไปแล้ว จึงต้องมีการคืน และการได้รับชำระหนี้ แสดงว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้แล้ว ดังนั้น การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ย่อมทำได้จนกว่าจะได้จัดการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุด แม้คำสั่งให้รับชำระหนี้จะถึงที่สุดไปแล้ว หรือเจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้เคยยื่นคำขอแก้ไขมาแล้วและได้ขอถอนคำร้องไปก็ตาม
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีประกัน แม้คำสั่งถึงที่สุดได้ หากเกิดจากความพลั้งเผลอ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97บัญญัติว่า แม้เจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกัน ศาลก็อาจอนุญาตให้แก้ไขข้อความใน รายการขอรับชำระหนี้ได้ หากเจ้าหนี้แสดงต่อศาลได้ว่าการ ละเว้นนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ และตามมาตรา108 นั้น ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตคำขอรับชำระหนี้ โดยผิดหลงว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ ความจริงลูกหนี้มิได้เป็นหนี้หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนที่อนุญาตให้รับชำระหนี้ ศาลอาจมีคำสั่งใหม่ให้ ยกคำขอหรือลดจำนวนหนี้ที่อนุญาตไปแล้วได้ ทั้งตามมาตรา108 นี้ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งใหม่ได้เสมอแม้คำสั่ง เรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่ จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรมฉะนั้นโดยนัยเดียวกัน ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ได้แม้คำสั่งศาลเรื่องคำขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วก็ตามหากผู้ขอรับชำระหนี้ แสดงได้ว่าการละเว้นไม่แจ้งว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยความพลั้งเผลอ ความในตอนท้ายของมาตรา 97 ที่ว่า 'โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่ง หรือกำหนดอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร' นั้นแสดงว่าแม้จะมีการขายและ แบ่งทรัพย์สินไปบ้างแล้วแต่ ตราบใดที่ยังมิได้มีการแบ่งครั้งที่สุดตาม มาตรา 131 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขข้อความในรายการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา97ได้เพราะฉะนั้นแม้คำสั่งศาล เรื่องขอรับชำระหนี้จะถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็อาจจะร้องขอแก้ไขข้อความ ในคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 97 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุผล 'พลั้งเผลอ' ไม่เพียงพอต่อการขอพิจารณาคดีใหม่
ทนายจำเลยทราบวันนัดพิจารณาพยานโจทก์แล้ว ทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลในวันนัด. อันเป็นวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(10) ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตาม มาตรา 197(2) และ202
ในกรณีขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่าทนายจำเลยพลั้งเผลอหลงลืมวันนัดถือว่าไม่ใช่เหตุสมควรที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 209
ในกรณีขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่าทนายจำเลยพลั้งเผลอหลงลืมวันนัดถือว่าไม่ใช่เหตุสมควรที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเงินโดยพลั้งเผลอ ไม่เข้าข่ายลักทรัพย์หรือวิ่งราว เพราะเป็นการทอนเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยขอแลกธนบัตรใบละ 100 บาทจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายนับเงินย่อยให้จำเลยแต่โดยความพลั้งเผลอได้ให้ใบละ 100 บาทที่ขอแลกปนไปด้วย จำเลยรับเงินรวมไปและขึ้นรถจักรยานสองล้อที่มานั้นไปพ้นร้านผู้เสียหาย ผู้เสียหายเรียกให้หยุดไม่หยุด ดังนี้ จะลงโทษฐานลักทรัพย์หรือวิ่งราวไม่ได้เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยเอาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าทรัพย์