พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9787/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระกับพันธบัตรประกันการชำระหนี้ และหน้าที่ของจำเลยในการให้บริการไฟฟ้า
เรื่อง สัญญา
++ ข้อมูล cw
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ - แจ้งการอ่านแล้ว
++ ขอชุดตรวจโปรดติดต่อห้องสมุด
++ ขอสำเนาคำพิพากษาชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุดชั้น 4, 5)
++ ทดสอบการทำงานในเครื่องด้วยระบบ cw
++ โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ให้ไว้ต่อจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิหักหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจากพันธบัตรที่โจทก์วางเป็นประกันไว้ได้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นกรณีที่บุคคลสองคนต่างมีหนี้ผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดชำระแล้ว
โจทก์เป็นหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยหาได้เป็นหนี้โจทก์ไม่ เพราะโจทก์เพียงนำพันธบัตรไปวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่จำเลยเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยลักษณะการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ++
++ ข้อมูล cw
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ - แจ้งการอ่านแล้ว
++ ขอชุดตรวจโปรดติดต่อห้องสมุด
++ ขอสำเนาคำพิพากษาชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุดชั้น 4, 5)
++ ทดสอบการทำงานในเครื่องด้วยระบบ cw
++ โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ให้ไว้ต่อจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิหักหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจากพันธบัตรที่โจทก์วางเป็นประกันไว้ได้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นกรณีที่บุคคลสองคนต่างมีหนี้ผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงกำหนดชำระแล้ว
โจทก์เป็นหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยฝ่ายเดียว ส่วนจำเลยหาได้เป็นหนี้โจทก์ไม่ เพราะโจทก์เพียงนำพันธบัตรไปวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าแก่จำเลยเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยลักษณะการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลง และการโอนลอยพันธบัตรโดยไม่ได้รับความยินยอม
ศาลชั้นต้นเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็อนุญาตให้รับชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องกล่าวแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้ในคำสั่งอนุญาต เพราะข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยปรากฏอยู่ในความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว และเป็นการสั่งตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แม้จะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มีข้อตกลงว่าวงเงินกู้ไม่เกิน 10,000,000บาท ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี เมื่อเงินกู้ที่ค้างชำระเพียง 5,259,980.74 บาท เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงไม่เกินร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามข้อตกลงเท่านั้น ลูกหนี้โอนลอยพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ส. นำไปวางเป็นประกันในการกู้เงินของบริษัท บ.ต่อเจ้าหนี้ โดยกรรมการบริษัทลูกหนี้มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย และมิได้จดทะเบียนภาระผูกพันกับธนาคารแห่งประเทศไทย เจ้าหนี้จึงไม่มีมูลหนี้ใดที่จะกล่าวอ้างได้ต้องคืนพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชาในการอนุมัติการจ่ายเงินพันธบัตรโดยไม่มีเอกสารมอบอำนาจ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อได้ลงลายมือชื่อกำกับชื่อผู้มีสิทธิรับเงินคนเดิมที่จำเลยที่ 1 ขีดฆ่าออกและลงลายมือชื่อกำกับชื่อที่พิมพ์หรือเขียนแทนลงไปใหม่ กับได้ลงลายมือชื่อสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจ่ายเงินในคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรตามที่จำเลยที่ 1 นำเสนอ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกสามารถทุจริตและนำเงินไปเป็นประโยชนส่วนตัวได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชาได้ลดขั้นตอนการตรวจสอบ ให้จำเลยที่ 1 เสนอคำขอต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยตรงไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อันเป็นการเสี่ยงต่อการทุจริตแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอรับคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบ ไม่จัดให้มีการตรวจสอบเป็นขั้นตอนตามลำดับชั้นว่าการขีดฆ่าและเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิรับเงินตามพันธบัตรรัฐบาลนั้นถูกต้องหรือไม่ แต่จำเลยที่ 2ที่ 3 ลงลายมือชื่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ก่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และทางพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่ามีขั้นตอนในการตรวจสอบมากมาย แต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ได้ตรวจสอบเลย และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและได้เซ็นชื่อตามที่จำเลยที่ 1 กากบาทไว้ให้เซ็นเท่านั้น เช่นนี้ แม้ไม่มีระเบียบเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอคืนต้นเงินและดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลของผู้ใช้ไฟฟ้า จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็อาจจะต้องรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปโดยถูกต้องและสุจริตการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อดังกล่าวก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสอบว่าถูกต้องแล้วดังนั้น ไม่ว่าจะมีระเบียบการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อด้วยความประมาทเลินเล่อแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความรับผิดของของจำเลยที่ 2ที่ 3 ให้ตรงกับข้อกล่าวหาตามคำฟ้องและตามข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมา ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษาความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31