พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8178/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชย์ - พฤติการณ์ประวิงคดี
นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นเวลาประมาณ 8 เดือนจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด และจำเลยยังไม่เคยติดต่อโจทก์เพื่อจะชำระหนี้ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หากจำเลยประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้จริง จำเลยก็สามารถจะระบุมาในคำร้องได้ว่าจำเลยมีรายได้จากกิจการดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ครบถ้วนเมื่อใด การที่จำเลยกล่าวในคำร้องลอย ๆ ว่า จำเลยใช้ทรัพย์สินที่ถูกยึดประกอบการพาณิชยกรรมมีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ โดยมิได้กล่าวถึงจำนวนรายได้และกำหนดเวลาที่จะชำระให้เสร็จสิ้นมาด้วยเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าจำเลยจะมีรายได้จากการที่กล่าวแล้วพอที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ดังที่อ้าง พฤติการณ์ของจำเลยน่าเชื่อว่าเป็นการประวิงคดีมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในเวลาอันควร กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะไต่สวนเพื่อตั้งผู้จัดการประกอบกิจการพาณิชยกรรมแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 และตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ก็มิได้บังคับว่าศาลต้องทำการไต่สวนทุกกรณีที่คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามา แต่ให้อำนาจศาลที่จะไต่สวนตามคำขอหรือไม่ แล้วแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องกู้ยืมเงินไม่เคลือบคลุม และไม่ขาดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์ประกอบกิจการค้าข้าวและจำเลยประกอบกิจการโรงสีข้าวมีธุรกิจการค้าต่อกัน จำเลยได้ยืมเงินโจทก์จำนวน 362,729.50 บาท ตามหลักฐานการกู้ยืมท้ายฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า เหตุใดโจทก์จึงยอมให้จำเลยกู้เงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้กำหนดเวลาชำระเงินคืน และเหตุใดจึงมิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดนำสืบภายหลังได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญากู้ยืมเงินมิได้กำหนดวันชำระเงินไว้ สิทธิเรียกร้องที่จะให้ชำระเงินคืนเริ่มนับแต่วันกู้เป็นต้นไป และมีอายุความ 10 ปีจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์วันที่ 31 กรกฎาคม 2518 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีภายใน 10 ปีไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกเพื่อประกอบการค้าขนาดใหญ่ ไม่เข้าข่ายเคหะที่ได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าเคหะและที่ดิน
จำเลยเป็นแพทย์แผนโบราณ มีอาชีพรับรักษาโรค จำเลยเช่าตึกแถวพิพาท ได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของเดิมหลายครั้ง เสียเงินกินเปล่าทุกครั้ง จำเลยตั้งเครื่องบดยาไฟฟ้าในตึกพิพาท รับจ้างบดยาสมุนไพรและทำยาผงไทยให้เป็นเม็ด ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ฟังได้ว่าจำเลยประกอบการค้าเป็นล่ำเป็นสัน ไม่ใช่ประกอบกิจการเล็กน้อย และได้ใช้ตึกพิพาทเปิดเป็นร้านตัดผมด้วย ตึกพิพาทอยู่ในทำเลการค้า ฟังได้ว่าจำเลยเช่าตึกพิพาทเพื่อประกอบการค้า แม้จำเลยจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 มาตรา 4.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624-628/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่าจากที่อยู่อาศัยเป็นเชิงพาณิชย์ ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
เช่าห้องที่ตั้งอยู่ในทำเลการค้า แม้ในชั้นแรกเช่าโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็ดี แต่การเช่ามิได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ และมิได้กำหนดระยะเวลาการเช่าไว้เป็นที่แน่นอน คงมีแต่การเก็บและชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือนตลอดมาเป็นเวลาช้านาน ฟ้องเช่าบางห้องเปลี่ยนมือจากเจ้าของกันถึง 3 เจ้าของก็มี ดังนี้ย่อมเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์แห่งการเช่าอาจเปลี่ยนแปลงไปเพื่อประกอบธุระกิจหรือการค้าก็ได้ ฉะนั้นในชั้นหลังนี้ เมื่อผู้เช่าใช้ห้องเช่าเป็นที่ประกอบธุระกิจหรือประกอบการค้า แล้ว ผู้เช่าก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พื้นที่เช่าเพื่อประกอบการค้า ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ผู้เช่าทำการฟักไข่ขายเป็นอาชีพและได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ ดังนี้ ถือได้ว่าที่เช่ารายนั้นมิใช่เคหะตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ
ในกรณีเช่นนี้ แม้ตัวผู้เช่าจะไม่ได้ฟักไข่ขายเอง แต่มารดาผู้เช่าเป็นผู้ทำการฟักไข่ขายในห้องเช่า ส่วนตัวผู้เช่าไปรับจ้างที่อื่นก็ดี ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน เพราะได้ใช้สถานที่นั้นประกอบการค้า
ในกรณีเช่นนี้ แม้ตัวผู้เช่าจะไม่ได้ฟักไข่ขายเอง แต่มารดาผู้เช่าเป็นผู้ทำการฟักไข่ขายในห้องเช่า ส่วนตัวผู้เช่าไปรับจ้างที่อื่นก็ดี ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน เพราะได้ใช้สถานที่นั้นประกอบการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38
จำนอง ป.พ.พ.ม. 38 ที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8345/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนพาณิชย์ในนามชื่อทางการค้า คดีนี้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ย้อนสำนวน
ตามคำฟ้องในช่องชื่อโจทก์ มิได้ระบุแต่ชื่อ ป. เป็นโจทก์ แต่มีชื่อบุคคลธรรมดาระบุต่อท้ายชื่อดังกล่าว โดย ย. และตามคำฟ้อง ข้อ 1 บรรยายว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชยกิจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ชื่อ ป. ตามใบทะเบียนพาณิชย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่า ใบสำคัญนี้ออกให้เพื่อแสดงว่า ย. ได้จดทะเบียนพาณิชย์ ใช้ชื่อในการประกอบการพาณิชยกิจว่า ป. แสดงว่า โจทก์คือ ย. ในฐานะบุคคลธรรมดาได้จดทะเบียนเป็นประกอบการพาณิชยกิจ โดย ย. จะใช้ชื่อดังกล่าวในการประกอบธุรกิจทางการค้า เท่ากับ ย. ประกอบกิจการเป็นการส่วนบุคคล และเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการประกอบกิจการของตนในนามชื่อทางการค้าดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการเข้าทำสัญญาคดีนี้ ย. จึงเป็นเจ้าของและประกอบกิจการในฐานะบุคคลธรรมดาในนามชื่อทางการค้าดังกล่าว ย. จึงมีอำนาจฟ้องเป็นการส่วนตัว และเป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดีนี้ หาใช่ใช้ชื่อในการประกอบพาณิชยกิจที่ได้จดทะเบียนเป็นโจทก์ฟ้องตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกจำเลยร่วมในคดีแพ่ง: เหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและการรับผิดร่วมกันทางพาณิชย์
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันค้าขายพืชไร่โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "ท่าข้าว ก." สั่งซื้อข้าวโพดจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย แล้วจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบกิจการรับซื้อและจำหน่ายพืชไร่ใช้ชื่อในการประกอบพาณิชยกิจว่า ท่าข้าว ก. ซึ่งจดทะเบียนพาณิชย์ในนามของจำเลยร่วมตามใบทะเบียนพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 2 มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายข้าวโพดตามฟ้อง แต่เป็นบุคคลอื่นที่ซื้อข้าวโพดจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องชำระค่าข้าวโพดให้แก่โจทก์นั้น กรณีจึงยังมีข้อโต้แย้งว่าผู้ใดเป็นผู้ประกอบกิจการท่าข้าว ก. ที่แท้จริง แม้โจทก์ไม่อาจขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามมาตรา 57 (3) (ก) แต่การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ประกอบกิจการ แต่จดทะเบียนพาณิชย์ในชื่อของจำเลยร่วมและยังมีบุคคลอื่นที่จำเลยทั้งสองอ้างว่ามาซื้อข้าวโพดจากโจทก์ในท่าข้าว ก. อีก ตามคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจึงเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็น และศาลย่อมมีอำนาจที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข)