คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พาดหัวข่าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
ในทางพิจารณาของโจทก์และจำเลยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยถูกจับกุมสอบสวนหรือดำเนินคดี ฉะนั้น การพาดหัวข่าวทางหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ ในหน้าแรกพร้อมภาพใบหน้าของโจทก์มีข้อความว่า "ลับ ชี้สำนวนความผิดจับ "ธ"(ซึ่งหมายถึงโจทก์)" ย่อมทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์ถูกจับกุมสอบสวนดำเนินคดีซึ่งมิใช่ข้อความจริง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังได้
โจทก์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเป็นประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มีมติให้กล่าวโทษดำเนินคดีแก่ ส. กับพวก ซึ่งในวันที่มีมติโจทก์ก็เข้าร่วมประชุมในฐานะประธานด้วย ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบว่ามติดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการไม่เกี่ยวกับโจทก์ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์กับ ส. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน และฝ่ายตรวจสอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ติดตามตรวจสอบการปั่นหุ้นของกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจากกลุ่มของ ส.ด้วยไม่ใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะกลุ่มของส. เพียงกลุ่มเดียวแสดงว่าการกล่าวโทษร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส. มิใช่การกระทำที่ลำเอียงหรือเลือกปฏิบัติ ฉะนั้น การที่จำเลยเสนอข่าวว่าโจทก์ให้ดำเนินคดีจับ ส.พร้อมยัดข้อหาเป็นการใช้อำนาจทำเพื่อเพื่อน ซึ่งเป็นการปฏิบัติโดยลำเอียง ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและไม่มีคุณธรรมเลือกปฏิบัติมุ่งช่วยเหลือพวกพ้อง ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยมิใช่การติชมด้วยความเป็นธรรมหรือเป็นการแสดงข้อความโดยสุจริต
จำเลยต้องรับผิดในฐานะบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ ด. รายสัปดาห์ โดยที่จำเลยมิได้เป็นผู้ประพันธ์ข้อความ หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมักเสนอข่าวใหญ่เกี่ยวกับธุรกิจและออกเป็นรายสัปดาห์ซึ่งมีผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม การให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาทั้งในหนังสือพิมพ์ประเภททั่วไปและธุรกิจ ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ย่อมไม่เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดของจำเลย สมควรให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ ด.รายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์ ผ. รายสัปดาห์ เพียง 2 ฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6990/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวเกินเลยถือเป็นความผิด แม้เนื้อข่าวไม่เกินเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่23ธันวาคม2532เวลากลางวันจำเลยที่1ใส่ความโจทก์ด้วยข้อความอันเป็นเท็จโดยให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่า"อย่างไรก็ตามได้รับเอกสารสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าส.ส.พรรครัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่น4คนคือนายไชยยศจิรเมธากร (โจทก์)ส.ส.อุดรธานีนายอุดรทองน้อยส.ส.ยโสธรและนายประณตเสริฐวิชา ส.ส.ร้อยเอ็ดทั้ง4คนเป็นส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ตนมีหลักฐานต่างๆพร้อมแล้วและพร้อมที่จะไปพิสูจน์กันในศาลหากต้องการ"โดยจำเลยที่1มีเจตนาที่จะให้หนังสือพิมพ์ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนทั่วไปข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นไม่มีข้อความตอนใดที่บ่งชี้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับผู้มีชื่อหลอกลวงคนงานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นแสดงว่าโจทก์เป็นบุคคลทุจริตหรือประพฤติมิชอบหรือไม่เหมาะสมแก่เกียรติศักดิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใดทั้งไม่อาจเข้าใจได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการฉ้อโกงแรงงานดังกล่าวข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นและจำเลยที่2นำข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ไปลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวข่าวว่า"แฉ4ส.ส.ประชาธิปัตย์"พัวพันตุ๋นคนงานไปประเทศญี่ปุ่น"ซึ่งข้อความที่พาดหัวข่าวในหนังสือพิพม์ที่จำเลยที่2นำไปลงพิมพ์นั้นไม่ตรงกับข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ทั้งเนื้อข่าวที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็ตีพิมพ์แต่เพียงว่าจำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ว่ามีหลักฐานว่าโจทก์เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งคนงานไปประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นจำเลยที่2มิได้อ้างข้อความจริงใดเลยในการแสดงความคิดเห็นในการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เช่นนั้นและข้อความที่จำเลยที่2ลงพิมพ์พาดหัวข่าวก็เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงเพื่อให้ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกคนเชื่อว่าโจทก์มีส่วนร่วมทุจริตฉ้อโกงแรงงานราษฎรไม่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจำเลยที่2จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328 ศาลล่างทั้งสองให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โฆษณาคำพิพากษาในลักษณะใดศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยที่3ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาและจำเลยที่4ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213และมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาดหัวข่าวเท็จและการถอนใบอนุญาตสื่อ
การพาดหัวหนังสือพิมพ์ว่า "จับทูตซาอุ ฯ บงการฆ่า3 เพื่อนร่วมชาติ" ซึ่งเป็นเท็จนั้น เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ 2(6) และข้อ 4 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามข้อ 7และปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องได้เคยถูกเตือนมาแล้ว 2 ครั้งแต่ยังฝ่าฝืนข้อ 4 ซ้ำอีก ดังนั้น ที่ผู้คัดค้านใช้ดุลพินิจสั่งถอนใบอนุญาตบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2615/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาดหัวข่าวที่เป็นเท็จสร้างความเข้าใจผิดและขัดต่อข้อห้ามของคำสั่ง คปป. ทำให้มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาต
การพาดหัวหนังสือพิมพ์ว่า "จับทูตซาอุฯ บงการฆ่า 3 เพื่อนร่วมชาติ" นั้น ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดในทันทีนั้นว่ามีการจับทูต ซึ่งหมายถึงเอกอัครราชทูต หรืออัครราชทูต หรืออุปทูต หรือบุคคลในระดับเดียวกัน ฐานเป็นผู้บงการฆ่าเพื่อนร่วมชาติ 3 คน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะความจริงในขณะนั้นยังไม่มีการจับเจ้าหน้าที่ระดับทูต หรือระดับใดของสถานทูตซาอุดิอาระเบีย ฉะนั้นการพาดหัวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นเท็จ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามข้อ 2(6) และ ข้อ 4 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับกรุงเทพมหานครผู้คัดค้านมีอำนาจที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามข้อ 7และปรากฏว่าหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องได้ถูกเตือน มาแล้ว 2 ครั้งแต่ยังฝ่าฝืนข้อ 4 ซ้ำอีก ดังนั้น เจ้าพนักงานการพิมพ์ผู้คัดค้านจึงชอบที่จะใช้ดุลพินิจ สั่งถอนใบอนุญาตบรรณาธิการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความจริง ไม่สร้างความตื่นตระหนก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาดหัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความเท็จ และการแก้ข่าวที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมาย
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า 'เมีย ผวจ. เต้นก๋าขู่ประธานสภา บุกโรงพัก จวกแหลก โมโหสารภาพ' เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับ และแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำ ทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการ บุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบ ซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41, 43 นั้น นอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว (คอลัมน์) และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกัน คดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ ลงพาดหัวข่าวในหน้า 1 ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน 2 บรรทัด และด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก 1 บรรทัด ส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้น กลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า 16 ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆ ไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 3 สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1 ที่ 2 คนละ 2,000 บาท สถานเดียว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่ 3 กระทำผิดตามฟ้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวและแก้ไขข่าวที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายการพิมพ์
การที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐพาดหัวข่าวว่า'เมียผวจ.เต้นก๋าขู่ประธานสภาบุกโรงพักจวกแหลกโมโหสารภาพ'เป็นข้อความแสดงให้เห็นภาพพจน์ของโจทก์แสดงกิริยากระโดฝ่าขึ้นไปบนสถานีตำรวจทั้งที่มีข้อห้ามโดยไม่เคารพกฎเกณฑ์ข้อบังคับและแสดงอำนาจไม่เกรงกลัวบุคคลใดเข้าไปพูดกับประธานสภาด้วยกิริยาวาจาที่แสดงอาการโมโหในลักษณะตวาดหรือคำรามด้วยถ้อยคำที่ทำให้ประธานสภากลัวว่าจะต้องได้รับอันตรายแก่กายอันเป็นกิริยาวาจาที่สุภาพชนไม่พึงทำทั้งยังเป็นการแสดงอำนาจฝ่าฝืนข้อห้ามข้อบังคับของทางราชการบุกรุกขึ้นไปบนสถานที่ราชการโดยไม่มีสิทธิกระทำโดยชอบซึ่งข่าวนี้ไม่เป็นความจริงและเป็นการใส่ความโจทก์จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ การแก้ข่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดและสิทธิการฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา41,43นั้นนอกจากจะต้องลงพิมพ์ในฉบับที่จะออกโฆษณาถัดไปหรือต่อจากเวลาที่ได้รับคำขอให้แก้ข่าวแล้วข้อความที่แก้นั้นจะต้องอยู่ในหน้าเดียวกับเรื่องอันเป็นเหตุให้แก้โดยมีขนาดแนว(คอลัมน์)และตัวอักษรในเนื้อเรื่องเช่นเดียวกันคดีนี้ปรากฏว่าข้อความที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ลงพาดหัวข่าวในหน้า1ด้วยขนาดอักษรโตที่สุดโตที่สุดในหน้าหนึ่งจำนวน2บรรทัดและด้วยขนาดอักษรโตปรมาณครึ่งหนึ่งของขนาดอักษรโตที่สุดดังกล่าวอีก1บรรทัดส่วนข้อความที่จำเลยอ้างว่าเป็นการแก้ข่าวนั้นกลับลงพิมพ์โฆษณาในหน้า16ด้วยขนาดอักษรตัวเล็กเท่าตัวอักษรทั่วๆไปที่บรรยายเนื้อหาของเรื่องในหนังสือพิมพ์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา3สิทธิการฟ้องของโจทก์ทั้งทางแพ่งและทางอาญายังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษปรับจำเลยที่1ที่2คนละ2,000บาทสถานเดียวจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218จำเลยที่1ที่2ฎีกาว่าไม่ได้สมคบกับจำเลยที่3กระทำผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว