คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิกัดศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า: เครื่องแช่แข็งอาหาร (Freezing Tunnel) มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "Freezing Tunnel" หรือ "Food Freezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Belt Conveyor" แปลว่า เครื่องสายพานลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาท เป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพานลำเลียงเท่านั้น และสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพานและระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็น สินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพานลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้น และถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะ ไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ก็ตาม แต่ก็สามารถทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้งและต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่องแล้วนำ สินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาทจึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆ ซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน อันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 มิใช่เป็นเครื่องลำเลียงอาหารสด ประเภทพิกัด 8428.33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเพิ่มเติม: สินค้าต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ จัดอยู่ในพิกัด 8517.10 แม้การตรวจปล่อยในชั้นแรกจะผิดพลาด
สินค้าพิพาทต้องใช้คู่สายขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงจะใช้งานได้ จึงต้องจัดเข้าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 8517.10 เพราะพิกัดนี้เป็นพิกัดย่อยของพิกัดใหญ่ประเภทที่ 85.17 ซึ่งระบุว่าได้แก่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์หรือโทรเลขแบบใช้สาย เมื่อสินค้าพิพาทจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่8517.10 อัตราภาษีร้อยละ 40 แต่จำเลยที่ 1 สำแดงและชำระภาษีอากรในประเภทพิกัดที่ 8525.20 อัตราภาษีร้อยละ 5 จำเลยที่ 1 จึงชำระภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ย่อมมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1ชำระเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้องได้ มิพักต้องคำนึงว่าการประเมินผิดพลาดในชั้นแรกที่ตรวจปล่อยสินค้านั้นเป็นการกระทำโดยสุจริตของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ทั้งมิใช่เป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีผลย้อนหลังเป็นโทษแก่จำเลย เนื่องจากหน้าที่เสียค่าภาษีของจำเลยเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4452/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนภาษีอากรเมื่อสำแดงพิกัดศุลกากรผิดพลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบ
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 10 วรรคห้า นั้น การเรียกร้องขอคืนภาษีอากรที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จะต้องเป็นกรณีผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือส่งออกว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรที่ชำระไว้เกินนั้นประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งคือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบหรือส่งออกว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบหรือส่งออกสินค้ารายพิพาทที่โจทก์นำเข้าได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าว่าเครื่องบันทึกภาพวีดีโอครบชุด โดยมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ว่า"1/2InchHSCompactMovie,Cameraw/Accessories" ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 113 บัญญัติว่า "บรรดาใบขนสินค้าบัญชี สมุดบัญชี บันทึกเรื่องราวหรือเอกสารไม่ว่าประเภทใด ๆให้ทำและถือไว้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ" แสดงว่าใบขนสินค้าจะทำขึ้นเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ จำเลยจะต้องคัดเลือกพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษพอสมควรมาทำหน้าที่ตรวจสอบใบขนสินค้า และตรวจสอบของก่อนสั่งปล่อยสินค้าว่าสินค้าที่นำเข้าตรงกับที่สำแดงไว้หรือไม่ ภาษาอังกฤษคำว่า"Camera" มีความหมายว่า "กล้อง" ส่วนคำว่า "Recorder" มีความหมายว่า "เครื่องบันทึก" เป็นคำสามัญทั่วไปไม่ใช่คำที่ใช้ในทางเทคนิคโดยเฉพาะ ทั้งในพิกัดอัตราศุลกากรที่ 85.21 ที่ระบุเครื่องบันทึกภาพวีดีโอก็ใช้คำว่า "ideoRecording" ส่วนพิกัดอัตราศุลกากรที่ 8525.30 ที่ระบุถึงกล้องถ่ายโทรทัศน์ก็ใช้คำว่า"TelevisionCameras" หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ความระมัดระวังและตรวจสอบรายการสินค้าที่โจทก์แสดงพิกัดศุลกากรที่โจทก์ระบุ ก็น่าจะพบว่ารายการสินค้ารายพิพาทนั้น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน จึงเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพึงต้องรู้ก่อนส่งมอบสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรผิด และอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับสินค้าพิพาทที่ส่งมอบ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรมาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนอากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรสำหรับคอนเดนเซอร์เครื่องปรับอากาศ และข้อยกเว้นการประเมินภาษีตามมาตรา 30
สินค้าคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ อันเป็นเครื่องปรับอากาศชนิดให้ความสะดวกสบายมิใช่เครื่องปรับอากาศที่ใช้ระบาย ความร้อนของเครื่องจักรและเครื่องคอนเดนเซอร์ ที่จำเลยนำเข้ามานั้นในตัวเอง ไม่อาจใช้ผลิตหรือเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าตัวอื่นอันจะถือเป็นเครื่องจักรได้ จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในประเภทพิกัดที่ 84.15 ข .จำเลยจึงต้องเสียอากรในพิกัดอัตราร้อยละ 80 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลของปี พ.ศ. 2522 อันเป็นเงินได้หรือรายรับที่มีอยู่ก่อนในปีภาษี พ.ศ. 2527 จึงได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติ มาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 โจทก์ที่ 2 จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่ม กับเงินเพิ่มหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรแผ่นอลูมิเนียมสำหรับทำหลอดบรรจุยาสีฟัน
สินค้าที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำด้วยอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นแผ่นกลมเรียบ หนาเกินกว่า 0.20 มิลลิเมตร ซึ่งเกินกว่าหนึ่งในสิบของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ยาวเกินกว่า 6 มิลลิเมตร มีรู ตรงกลางใช้ทำหลอดบรรจุยาสีฟัน เป็นสินค้าที่จัดอยู่ในจำพวกเป็นแผ่นที่เตรียมไว้เพื่อทำหลอด จึงอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.06 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ซึ่งกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าได้แก่ หลอด ท่อ และแผ่นที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำหลอดหรือท่อทำด้วยอลูมิเนียม ไม่เข้าลักษณะประเภทพิกัดที่ 76.16ได้แก่ ของอื่น ๆ ที่ทำด้วยอลูมิเนียม ก. ของประดับกายและของใช้ซึ่งตามปกติเป็นของติดตัว ซึ่งมิได้ระบุไว้ในประเภทอื่นอันเป็นการกำหนดไว้กว้าง ๆ ในกรณีที่สินค้าไม่อยู่ในประเภทพิกัดอื่นและจะนำคำวินิจฉัยของคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งมีข้อความแตกต่างจากที่พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรบัญญัติไว้ดังกล่าวมาเทียบเคียงปรับให้สินค้าดังกล่าวข้างต้นจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 76.16หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4494/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินพิกัดศุลกากรและสิทธิฟ้องร้องภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล หากไม่ได้อุทธรณ์ตามขั้นตอน
สินค้าน้ำมันก๊าดไม่มีกลิ่นชื่อว่าเอ็กซอน ดี 60 ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นสินค้าอยู่ในประเภทพิกัดประเภทที่27.10 ข. การที่จำเลยแจ้งการประเมินภาษีสินค้าดังกล่าวว่าอยู่ในประเภทพิกัดที่ 27.10 ฉ. และเรียกเก็บอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มจากโจทก์จึงไม่ชอบ การอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแม้จะเป็นการเรียกเก็บต่อเนื่องเพื่อเชื่อมโยงอยู่กับการเรียกเก็บอากรขาเข้าก็ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์การประเมินต่ออธิบดีกรมศุลกากรแทนได้ การที่โจทก์โต้แย้งการประเมินไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 30 วันนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินจึงไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แต่ต้องถือว่าในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลคงฟ้องให้เพิกถอนการประเมินได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอากรขาเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรของหีบใส่เงิน: พิจารณาจากลักษณะการใช้งานและความมั่นคงเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
สินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าทำด้วยเหล็ก มีขนาดสูงประมาณ 14 - 15 เซนติเมตร กว้าง 22 - 25 เซนติเมตร ยาว 30 - 36 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม มีกุญแจและรหัสเป็นตัวเลข ตั้งแต่เลข 0 ถึงเลข 100 ใช้สำหรับปิดเปิด เมื่อเปิดฝาหรือเคลื่อนย้าย จะมีเสียกริ่งดัง เป็นสัญญาณใช้สำหรับกันขโมย ดังนี้ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นหีบใส่เงิน ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทในพิกัดประเภทที่ 83.03 อัตราร้อยละ 15 หาใช่ของใช้ในบ้านเรือนในพิกัดประเภทที่ 73.38 ข. อัตราร้อยละ 50 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษีอากร: หีบใส่เงินจัดอยู่ในพิกัด 83.03 ไม่ใช่ 73.38 ข.
สินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าทำด้วยเหล็ก มีขนาดสูงประมาณ14-15 เซนติเมตร กว้าง 22-25 เซนติเมตร ยาว 30-36 เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ 4-5 กิโลกรัม มีกุญแจและรหัสเป็นตัวเลข ตั้งแต่เลข 0 ถึง 100 ใช้สำหรับปิดเปิด เมื่อเปิดฝาหรือเคลื่อนย้ายจะมีเสียงกริ่งดัง เป็นสัญญาณใช้สำหรับกันขโมย ดังนี้ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นหีบใส่เงิน ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทในพิกัดประเภทที่ 83.03 อัตราร้อยละ 15 หาใช่ของใช้ในบ้านเรือนในพิกัดประเภทที่ 73.38 ข.อัตราร้อยละ 50 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรของเศษเหล็กที่นำเข้าเพื่อนำไปรีดทำเหล็กเส้น พิจารณาจากสภาพและกรรมวิธีผลิต
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกคัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็กโจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการ และนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่ 73.13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรเหล็กแผ่นที่นำเข้าและแปรรูป
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกตัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็ก โจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการและนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่73.13.
of 2