คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด และการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยื่นเกินเวลาตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุแต่เพียงว่า ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่าย และใบเสร็จที่เจ้าหน้าที่ออกให้ยึดถือเป็นหลักฐานสูญหายไป ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ก็ตาม ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลาไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับไว้พิจารณาพิพากษา และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการควบคุมตัวระหว่างพิจารณาแยกจากอำนาจการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจที่ผู้ร้องอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมาย การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4752/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุมขังระหว่างพิจารณาแยกจากขั้นตอนการจับกุมของตำรวจ
เมื่อพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยและศาลสั่งประทับฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจออกหมายขังจำเลยไว้ระหว่างพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71 และมาตรา 88 ที่ใช้ขณะยื่นคำร้องและที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่างหากจากการจับกุมและควบคุมจำเลยของเจ้าพนักงานตำรวจ การคุมขังจำเลยระหว่างพิจารณาจึงไม่ขัดต่อมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับอำนาจศาล: จำเลยโต้แย้งอำนาจศาลภายหลังการดำเนินกระบวนการพิจารณา ถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลเดิม
จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้โต้แย้งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง ศาลแพ่งชี้สองสถานกำหนดประเด็นและนัดสืบพยานแบบต่อเนื่อง ครั้นถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยกลับโต้แย้งอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่ง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งมาตั้งแต่แรก กรณีจึงไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจของศาลแพ่งตามที่จำเลยเพิ่งโต้แย้งในภายหลัง และถือได้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลตามที่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถา: ลำดับการพิจารณาคำร้อง และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำขอ ผู้ขอมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่บัญญัติเป็นลำดับไว้แล้ว คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าแล้ว ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้านำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง จำเลยทั้งห้าไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่ แต่ได้ใช้สิทธิทำคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้าไปแล้ว เช่นนี้จำเลยทั้งห้าจะย้อนไปร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของตนนั้นใหม่อีกหาได้ไม่ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาต้องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 264 จะต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยพิพาทกันในประเด็นที่ว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ และโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ภายหลังสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ประโยชน์ที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดขัดขวางมิให้จำเลยใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า ไม่ใช่ประโยชน์ที่เกี่ยวกับข้อต่อสู้หรือข้อเถียงตามคำให้การของจำเลย คำขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนกองดินและกำแพงซีเมนต์ออกจากทางเข้าออกที่ดินพิพาท หรือให้โจทก์ถมทางที่ขุดหลุมไว้ปิดกั้นมิให้จำเลยออกสู่ถนนหลวงจึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์นอกขอบเขตตามคำให้การของจำเลยจึงไม่ใช่การขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา จึงไม่ใช่การคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาทและการขาดนัดพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์เนื่องจากเสมียนทนายแจ้งวันนัดต่อทนายโจทก์คลาดเคลื่อน ทนายโจทก์ติดตามสำนวนคดีมาตลอดแต่ไม่อาจตรวจสอบได้ โจทก์มิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างของข้อเท็จจริงในคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกซึ่งเป็นจำเลยในคดีอื่นร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 1,178 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ตามทางพิจารณาได้ความว่า ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้เฉพาะ ช. จำเลยในอีกคดีหนึ่งพร้อมของกลาง จึงแจ้งข้อหาแก่ ช. ว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ช. ให้การรับสารภาพ โดยอ้างว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจากจำเลย และนำเจ้าพนักงานตำรวจไปชี้บ้านจำเลยเพื่อทำการตรวจค้นแต่ไม่พบจำเลย จึงออกหมายจับไว้และต่อมาจึงจับจำเลยได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง ช. มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเพียงผู้เดียวโดยลำพัง จำเลยไม่ได้เป็นตัวการร่วมกับ ช. กระทำความผิดข้อหานี้ตาม ป.อ. มาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันอย่างมากในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาคำสั่งก่อนมีคำพิพากษาคดี
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
of 38