คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่เกี่ยวข้องกับการโอนคดีระหว่างพิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ หากไม่ใช่คำสั่งคุ้มครองประโยชน์คู่ความ
ศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีฉบับที่สองของจำเลย จึงเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และคำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้นเป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความในระหว่างการพิจารณาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 288 (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องเปิดเผยต่อหน้าจำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังจำเลยไม่ชอบ
การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์พยานโจทก์ร่วม หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ
ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานโจทก์ร่วม จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวไม่มาศาล และทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดลับหลังจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยให้ทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับข้อเท็จจริง โจทก์แถลงหมดพยาน และโจทก์ร่วมแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินที่ได้มาร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา
คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งขอให้แบ่งเงินจำนวน 4,000,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา จึงถือว่าเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่พิพาทตามฟ้องแย้งของจำเลยที่จำเลยจะมีสิทธิร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของตนในระหว่างพิจารณาได้ และเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินจำนวน 4,000,000 บาท ที่พิพาทกันมีการนำไปฝากที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายนำไปฝากที่บริษัทเงินทุน ส. บริษัทเงินทุนดังกล่าวได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ในนามของจำเลย ต่อมาเมื่อปี 2546 ได้มีการเปลี่ยนชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นชื่อของโจทก์ และหลังจากนั้นโจทก์ได้เบิกถอนเงินจำนวน 4,000,000 บาท ดังกล่าว จากบริษัทเงินทุน ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าว หากในที่สุดแล้วศาลพิพากษาให้แบ่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยกึ่งหนึ่ง จำเลยก็จะได้ประโยชน์จากการที่ศาลมีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ตามคำร้องของจำเลย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดี: ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาสองคนขึ้นไปในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง
คดีนี้ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้และมีคำสั่งยกคำร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานจากทุกฝ่าย ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
การพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ตามกฎหมายดังกล่าวหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 หรือในกรณีที่เป็นคดีทำนองเดียวกับคดีปกครองแล้ว ในการพิจารณาคดีของศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น ศาลแรงงานจะพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใด ๆ ที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมในชั้นพิจารณาคดีของศาลแรงงานไม่ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานดังกล่าวคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยพิจารณาข้อเท็จจริงเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนข้อเท็จจริงของพนักงานตรวจแรงงาน โดยมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์นำสืบเพิ่มเติมไว้ในการพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาล ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
ในการขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อยของโจทก์ ซึ่งระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้ การอนุมัติวงเงินกู้และโอนเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นหรือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1),5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำคู่ความไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรก ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีที่เกิดในท้องที่หนึ่ง แม้จำเลยมีภูมิลำเนาในอีกท้องที่หนึ่ง
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลชั้นต้นที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ต และพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ต เป็นผู้สอบสวนคดี ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลชั้นต้นแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตแต่อย่างใด ส่วนการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ ยังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับชำระคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกในเรือนจำต่างจังหวัด
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ตและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตเป็นผู้สอบสวนคดี ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ที่โจทก์อ้างว่าการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลจังหวัดนนทบุรีรับชำระคดี
of 48