พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: เจตนา ยกทรัพย์สินให้กัน และการเป็นพยานในพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำร่วมกันในฉบับเดียวซึ่งสาระสำคัญของข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ (ก) เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้ตายแสดงเจตนาไว้ว่า หากผู้ร้องหรือผู้ตายคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ให้ทรัพย์สินของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ทำพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เพียงผู้เดียวและให้เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาจัดจำหน่ายหรือแบ่งปัน และยกทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่เจ้าของพินัยกรรมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นสมควรภายใต้ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในข้อ (ข) แสดงว่าผู้ร้องและผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ (ข) โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีถือได้ว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องจึงยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ มิใช่กรณีที่กำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่กำหนดทรัพย์สินให้แก่ทายาทมากน้อยตามแต่ใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) แต่อย่างใด การที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์สินให้แก่กันและกัน เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใดและมิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตามมาตรา 1646 การที่บุคคลจะเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 บัญญัติว่า บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรมไม่มีข้อความว่าเป็นพยาน จึงจะถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยไม่ได้ พินัยกรรมจึงหาเป็นโมฆะด้วยเหตุที่ผู้ร้องจะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม เงื่อนไขการโอนมรดก และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องร่วมกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันแสดงเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีจึงถือได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1707 มิใช่กรณีตามมาตรา 1706(3) ดังนี้ ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1705 ไม่ แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตนแม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วมทำไม่ได้ตามกฎหมาย และการอ้างอิงข้อความจากพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์
สามีภรรยาเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกันจึงร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ในหลานนั้น เป็นการขัดกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 มาตรา 23 ที่ว่า "บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นจะทำพินัยกรรมโดยเอกสารฉบับเดียวกันไม่ได้"
สามีภรรยาร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์หลายอย่าง ๆ ให้หลานรวมทั้งโจทก์ด้วย สำหรับโจทก์ได้ที่ดินและตึกภายหลังสามีผู้เดียวทำพินัยกรรมฉบับหลัง เพิกถอนข้อความในพินัยกรรมเดิมบางข้อในข้อที่ยกทรัพย์ให้หลานอื่นบางคน แล้วมีข้อความว่า ส่วนข้อความอื่น ๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิมดังนี้ เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกไม่สมบูรณ์ เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 แล้วก็ต้องถือ่าไม่มีการยกที่ดินและตึกให้โจกท์ด้วย ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังแม้จะสมบูรณ์ก็ไม่มีข้อความว่าได้ยกที่ดินและตึกให้โจทก์ เป็นแต่กล่าวว่า ส่วนข้อความอื่น ๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิม ซึ่งเมื่อพินัยกรรมเดิมใช้ไม่ได้แล้ว จะอ้างข้อความในเอกสารอื่นซึ่งมิใช่พินัยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรม จึงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ที่ดินและตึก
สามีภรรยาร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์หลายอย่าง ๆ ให้หลานรวมทั้งโจทก์ด้วย สำหรับโจทก์ได้ที่ดินและตึกภายหลังสามีผู้เดียวทำพินัยกรรมฉบับหลัง เพิกถอนข้อความในพินัยกรรมเดิมบางข้อในข้อที่ยกทรัพย์ให้หลานอื่นบางคน แล้วมีข้อความว่า ส่วนข้อความอื่น ๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิมดังนี้ เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกไม่สมบูรณ์ เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 แล้วก็ต้องถือ่าไม่มีการยกที่ดินและตึกให้โจกท์ด้วย ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังแม้จะสมบูรณ์ก็ไม่มีข้อความว่าได้ยกที่ดินและตึกให้โจทก์ เป็นแต่กล่าวว่า ส่วนข้อความอื่น ๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิม ซึ่งเมื่อพินัยกรรมเดิมใช้ไม่ได้แล้ว จะอ้างข้อความในเอกสารอื่นซึ่งมิใช่พินัยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรม จึงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ที่ดินและตึก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วมเป็นโมฆะ การอ้างอิงพินัยกรรมเดิมที่ตกเป็นโมฆะไม่มีผล
สามีภรรยาเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกันจึงร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้หลานนั้น เป็นการขัดกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 มาตรา 23 ที่ว่า 'บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นจะทำพินัยกรรมโดยเอกสารฉบับเดียวกันไม่ได้'
สามีภรรยาร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์หลายอย่างให้หลาน รวมทั้งโจทก์ด้วย สำหรับโจทก์ได้ที่ดินและตึกภายหลังสามีผู้เดียวทำพินัยกรรมฉบับหลัง เพิกถอนข้อความในพินัยกรรมเดิมบางข้อในข้อที่ยกทรัพย์ให้หลานอื่นบางคน แล้วมีข้อความว่า ส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิมดังนี้ เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกไม่สมบูรณ์เพราะต้องห้ามตาม พระราชัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 แล้วก็ต้องถือว่าไม่มีการยกที่ดินและตึกให้โจทก์ด้วย ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังแม้จะสมบูรณ์ก็ไม่มีข้อความว่าได้ยกที่ดินและตึกให้โจทก์ เป็นแต่กล่าวว่าส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิม ซึ่งเมื่อพินัยกรรมเดิมใช้ไม่ได้แล้ว จะอ้างข้อความในเอกสารอื่นซึ่งมิใช่พินัยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรมจึงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ที่ดินและตึก
สามีภรรยาร่วมกันทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์หลายอย่างให้หลาน รวมทั้งโจทก์ด้วย สำหรับโจทก์ได้ที่ดินและตึกภายหลังสามีผู้เดียวทำพินัยกรรมฉบับหลัง เพิกถอนข้อความในพินัยกรรมเดิมบางข้อในข้อที่ยกทรัพย์ให้หลานอื่นบางคน แล้วมีข้อความว่า ส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิมดังนี้ เมื่อพินัยกรรมฉบับแรกไม่สมบูรณ์เพราะต้องห้ามตาม พระราชัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม 2475 แล้วก็ต้องถือว่าไม่มีการยกที่ดินและตึกให้โจทก์ด้วย ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังแม้จะสมบูรณ์ก็ไม่มีข้อความว่าได้ยกที่ดินและตึกให้โจทก์ เป็นแต่กล่าวว่าส่วนข้อความอื่นๆ ในพินัยกรรมนั้นคงเป็นไปตามเดิม ซึ่งเมื่อพินัยกรรมเดิมใช้ไม่ได้แล้ว จะอ้างข้อความในเอกสารอื่นซึ่งมิใช่พินัยกรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของพินัยกรรมจึงไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้ที่ดินและตึก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม สินสมรส และผลของการที่พินัยกรรมของฝ่ายหนึ่งไม่สมบูรณ์
สามีภริยาต่างทำพินัยกรรม์กันคนละฉะบับมีข้อความตรง+ยกทรัพย์ 2 อย่างอันเป็นสินสมรสระหว่างกันให้แก่บุคคล 3 แต่พินัยกรรม์ฉะบับของสามีไม่สมบูรณ์เพราะเหตุ+พะยานผู้ลุกนั่งตามกฎหมายดังนี้ เมื่อสามีตาย+ภริยา ภริยาย่อมได้รับมฤดกของสามีตามกฎหมายและเมื่อภริยาตายทรัพย์ทั้งหมดตกทอดไปตามพินัยกรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: สิทธิในทรัพย์สินหลังการเสียชีวิต และสิทธิในการอยู่อาศัย
ทำพินัยกรรม์ร่วมกัน คนหนึ่งตาย พินัยกรรมนั้นสมบูรณ์ฉะเพาะส่วนของผู้ตายมารดามีอำนาจอันชอบธรรมก์จะอาศัยอยู่กับบุตร์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: ผู้ทำพินัยกรรมมีอำนาจทำพินัยกรรมใหม่ลบล้างพินัยกรรมร่วมเดิมได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม
มฤดก พินัยกรรมร่วมผู้ทำพนัยกรรมร่วมมีอำนาจทำพินัยกรรมใหม่ลบล้างโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากอีกคนหนี่งได้ สัญญา ยกให้