พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำขอสิทธิบัตรและการยื่นคำขอใหม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โจทก์สามารถดำเนินการตามข้อ 22 ของกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว โจทก์อาจขออนุญาตต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ในคดีนี้ โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2535 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลใด กรณีหาใช่ว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใหม่ซึ่งมีข้อถือสิทธิต่างไปจากเดิม กระบวนการตรวจสอบจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด ข้ออ้างที่ว่าการขอรับสิทธิบัตรใหม่เป็นการขอเพื่อเพิ่มเติมคำขอเดิมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมายและผลต่อสัญญา, การพิพากษาเกินคำฟ้อง
สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ จำนวนเงินกู้ส่วนที่เกิน 350,000 บาท เป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วนำมารวมเข้าเป็นต้นเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำขึ้นใหม่ อันเป็นดอกเบี้ยต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ส่วนของต้นเงินที่มาจากดอกเบี้ยไม่ชอบทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ แต่สัญญากู้ยืมเงินนี้แม้จะมีส่วนของต้นเงินที่ไม่ชอบรวมอยู่ด้วย ก็ไม่ทำให้ส่วนของต้นเงินที่ชอบจำนวน 350,000 บาท เสียไปด้วย เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่าโจทก์จำเลยเจตนาให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ชอบคือต้นเงิน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญา นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 19 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่กู้ยืมเงินกันตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับก่อน ทั้งที่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามนั้น จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำคู่ความไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67 (5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำคู่ความไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการพิพากษา
คำให้การจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรก ไม่ใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่แก้ไขข้อบกพร่องของคำคู่ความดังกล่าวให้บริบูรณ์เสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ควรพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยที่ยังมิได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง โดยให้จำเลยลงลายมือชื่อในคำให้การเสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางกระบวนพิจารณา: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยาน และการพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามคำท้า เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่นการสาบาน หรือการเบิกความของพยานปากใดปากหนึ่ง ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วสมประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง อันเป็นผลให้คู่ความฝ่ายที่ได้ประโยชน์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยไม่ต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นข้อพิพาท คดีนี้โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของนางสาว บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาว่า หากนางสาว บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษ ให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้านางสาว บ. เบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมานางสาว บ. มาเบิกความว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษ จริง ตรงตามคำท้าเงื่อนไขบังคับก่อนจึงสำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลย คำท้าบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในการพิจารณาคดี ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 โดยการเสนอให้เช่าและให้เช่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 แต่ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่า วิดีโอเทปภาพยนตร์ของกลางเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และมีสติกเกอร์ที่มีตราประทับของเจ้าพนักงานกับข้อความว่า "อนุญาตแล้ว" ปรากฏอยู่ ไม่ใช่วิดีโอเทปภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องแล้วก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบของกลาง รวมทั้งให้วิดีโอเทปของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาในส่วนที่ไม่ได้บรรยายไว้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตกับโจทก์ในราคา 1,770,000 บาท ชำระมัดจำงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาหินเป็นเงิน 354,000 บาท งวดต่อไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันส่งหินให้และออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิลเรียกเก็บเงิน โจทก์ส่งหินอ่อนและหินแกรนิตให้จำเลยตามสัญญาและเรียกเก็บเงินเรื่อยมา ปรากฏว่าจำเลยค้างชำระค่าหินอ่อนและหินแกรนิตโจทก์เป็นเงิน 578,329.95 บาท ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่ายอดเงินที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวมียอดเงินที่จำเลยสั่งซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่โจทก์จำเลยทำสัญญากันไว้จำนวน 137,561.08 บาท รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีคำขอให้ชำระเงินในส่วนนี้ปนรวมมาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าหินอ่อนและหินแกรนิตที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากสัญญาที่จำเลยทำสัญญาซื้อกับโจทก์ตามที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8351/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เสื้อยืดที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์
เสื้อยืดของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป โดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เสื้อยืดของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 ตอนแรกที่บัญญัติว่า "บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. นี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง..."นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทางอาญาที่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้ตกแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นที่มั่นใจแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ว่าทรัพย์ดังกล่าวจะไม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่ตลาดโดยมิชอบอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้อีกต่อไป ดังนั้น หากทรัพย์ของกลางเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลย่อมต้องพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนทรัพย์สิ่งใดจะเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์อย่างใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์นั้นเป็นแต่ละกรณีไป คดีนี้ปรากฎข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามคำฟ้องโดยจำเลยให้การรับสารภาพแล้วว่า กางเกงชั้นในเด็กของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปโดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงย่อมฟังได้ว่ากางเกงชั้นในเด็กของกลางทั้ง 22 ตัว เป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ จึงต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์