พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4613/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาแก้โทษจำคุกและรอการลงโทษ ไม่ถือเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย3เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำคุก1ปี6เดือนและให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ดังนี้ถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเกินหนึ่งปีเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งทรัพย์โดยไม่เจตนาชิงทรัพย์ และความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษ
เหตุที่จำเลยทำร้ายทุบบริเวณท้ายทอยและหลังของผู้เสียหายที่ 2 ในตอนแรก มีสาเหตุจากการที่ผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปปลุกจำเลยขณะหลับอยู่บนรถโดยสารมินิบัสของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งขณะนั้นจำเลยมีการเมาสุรา เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ถามจำเลยว่าจะลงจากรถหรือไม่ จำเลยตอบว่าลง และเดินไปที่ประตูด้านหลังของรถยนต์มินิบัสแต่กลับย้อนมาทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีก ผู้เสียหายที่ 2 พยายามใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารต่อสู้กับจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารแล้วลงจากรถวิ่งหนีไปเป็นเพราะจำเลยเมาสุราและไม่ประสงค์จะต่อสู้กับผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกับผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารทำร้ายจำเลยด้วย การที่จำเลยแย่งเอากระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารจากผู้เสียหายที่ 2 ไป ก็เพราะไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายที่ 2 ใช้กระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตามมาทำร้ายจำเลยอีก หากจำเลยประสงค์จะชิงทรัพย์จำเลยอาจหยิบเอาเฉพาะเงินจากกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสาร ทิ้งกระบอกตั๋วไว้แล้วหลบหนีไปก็อาจกระทำได้ การที่จำเลยยังคงมีกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารติดตัวอยู่ ทำให้เห็นว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้ใดนำกระบอกตั๋วเก็บเงินค่าโดยสารมาทำร้ายจำเลยอีก การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการพาเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 2 แต่ไม่ได้เกิดโดยเจตนาทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 ที่โจทก์ขอให้ศาลลงโทษจำเลย มีอัตราโทษขั้นต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพและจำเลยไม่สืบพยานก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215
การทำให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 นั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยและบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ประกอบกัน ผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยใช้กำปั้นและมือทุบตีบริเวณท้ายทอยและด้านหลังหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยแต่ไม่ปรากฏบาดแผล ทั้งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายบริเวณใบหน้าของผู้เสียหายที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นอันตรายแก่กายและจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่เป็นเพียงความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายอยู่ในตัว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานทำร้ายร่างกายดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมและใช้ตราประทับปลอมในเอกสารราชการ ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำเลย
ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม 2 ฉบับ อันเป็นการปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมต่างฉบับกัน ซึ่งโดยสภาพของการกระทำดังกล่าวจำเลยต้องปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวทีละฉบับ ในทันทีที่จำเลยปลอมใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมฉบับหนึ่งเสร็จ ก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการสำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลเป็นเอกสารปลอมแต่ละฉบับแยกต่างหากจากกัน แม้จำเลยกระทำต่อเนื่องกันและนำใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม 2 ฉบับ ไปใช้ร่วมกันเพื่อเปลี่ยนชื่อให้แก่โรงแรมแห่งเดียว ก็ไม่ทำให้เจตนาของจำเลยที่มีมาตั้งแต่ต้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นเจตนาเดียวได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน
จำเลยเป็นผู้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 (เดิม) และใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 252 รวม 2 ครั้ง ซึ่งในการใช้ดวงตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 23 ใบอนุญาตเลขที่ 6/2558 จำเลยทำดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมและใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 251 (เดิม) ประกอบมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่การใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 24 ใบอนุญาตเลขที่ 7/2558 นั้น จำเลยมิได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานขึ้นอีก คงใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอันเดิม จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอย่างเดียวตามมาตรา 252 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยเป็นผู้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงาน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 251 (เดิม) และใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 252 รวม 2 ครั้ง ซึ่งในการใช้ดวงตราปลอมของเจ้าพนักงานประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 23 ใบอนุญาตเลขที่ 6/2558 จำเลยทำดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมและใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 251 (เดิม) ประกอบมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่การใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมประทับลงในใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมปลอม ทะเบียนเลขที่ 24 ใบอนุญาตเลขที่ 7/2558 นั้น จำเลยมิได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานขึ้นอีก คงใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอันเดิม จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ดวงตราของเจ้าพนักงานปลอมอย่างเดียวตามมาตรา 252 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 325/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษจำเลยที่ 3-4
ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 คนละ 1,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 2 ที่จะฎีกา กับทั้งไม่ใช่กรณีที่จะอนุญาตให้ฎีกาได้ การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกาในความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, มีอาวุธปืน, จำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษและยกฟ้องบางข้อหา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดอื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกฐานความผิด จำเลยอุทธรณ์เฉพาะความผิดอื่นบางข้อหา ไม่ได้อุทธรณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ส่วนโจทก์ไม่อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดอื่นที่คู่ความไม่ได้อุทธรณ์เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เห็นว่า ในระหว่างพิจารณาได้มี ป.ยาเสพติดออกมาใช้บังคับแทนกฎหมายเดิม และมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ออกตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง ป.ยาเสพติด ซึ่งมีผลให้พืชกัญชาไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เป็นยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานผลิตกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ เพราะเป็นอำนาจทั่วไปของศาลอุทธรณ์ภาค 6 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จ-เบิกความเท็จในคดีอาญา: ศาลฎีกาพิพากษาแก้โทษและไม่รอการลงโทษ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญาตาม ป.อ. มาตรา 175 โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา และได้บรรยายฟ้องให้เห็นด้วยว่าความจริงเป็นประการใด แล้วต่อมาโจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกับข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง โดยกล่าวถึงข้อความซึ่งอ้างว่าจำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลไว้ด้วยแล้ว ดังนี้ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใด แต่เมื่อได้อ่านคำฟ้องโดยรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า ความจริงดังกล่าวก็เป็นเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์บรรยายฟ้องให้เห็นว่าความจริงเป็นประการใดในข้อหาเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา จำเลยให้การปฏิเสธ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษา จำเลยได้ยื่นฎีกา จึงบ่งชี้ว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ คำฟ้องโจทก์ในข้อหาเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาลตาม ป.อ. มาตรา 177 จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)