คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิพาทที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีพิพาทที่ดิน: ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน แต่ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอนน.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขต แม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีพิพาทที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินอาจทำให้เกิดความเสียหายได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขตแม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีกรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพิพาทที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริงและมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยมีเลขที่ดินต่างกันทั้งรูปที่ดินทั้งสองแปลงก็ไม่เหมือนกันฟังไม่ได้ว่าน.ส.3ก.ของจำเลยออกทับน.ส.3ก.ของโจทก์โจทก์จึงร้องขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยไม่ได้การที่โจทก์ฎีกาว่าล.พยานโจทก์เบิกความว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนได้มาโดยทางมรดกต่อมาได้ขายให้แก่อ.ต่อมาอ.ขายให้แก่โจทก์โจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องมาจำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินจึงเป็นการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบกรณีมีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยเพราะออกทับที่ดินน.ส.3ก.ของโจทก์นั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่ามีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินธรณีสงฆ์และการเพิกถอนโฉนดที่ดิน โดยมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองและสิทธิในที่ดิน
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871-1872/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทการรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินในโฉนดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนแรก และแบ่งให้แก่นาง พ. มารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนหลัง ต่อมาโจทก์และจำเลย ได้พิพาทกันในชั้นบังคับคดี เกี่ยวกับการรังวัดแบ่งแยกที่ดินในโฉนดดังกล่าว ว่ารังวัด แบ่งแยกถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้นัด พร้อมทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าตรงที่พิพาทด้านเหนือให้ เจ้าพนักงานรังวัด แบ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองสำนวน นี้เพียงแค่ติดสวนของโจทก์ เมื่อช่างแผนที่ไปรังวัด แบ่งแยกเสร็จแล้วโจทก์ไม่รับรอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า รูปแผนที่แบ่งแยกซึ่งช่างแผนที่ทำมานั้นถูกต้องตรงกับข้อตกลงของโจทก์ จำเลยแล้ว มีคำสั่งให้แบ่งแยกที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองสำนวน ตามรูปแผนที่แบ่งแยกดังกล่าว คดีถึงที่สุด ฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องคดี ทั้งสองสำนวนนี้ว่า จำเลยทั้งสองสำนวนได้สมคบกันออกรูปแผนที่ หลังโฉนดซึ่ง เป็นที่พิพาทกันในคดีก่อนขัดกับคำพิพากษาฎีกา เป็นเหตุให้ ที่ดินของโจทก์ขาดไป. จึงเป็นการโต้เถียงว่า การรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกา อัน เป็นประเด็นเดียวกัน กับประเด็นที่โจทก์จำเลยพิพาทกันใน ชั้นบังคับคดี ซึ่งได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดดังกล่าว แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีพิพาทที่ดิน: ศาลยกฟ้องเมื่อประเด็นสิทธิในที่ดินเคยถูกวินิจฉัยเด็ดขาดแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของจำเลยร่วมชำระคดีโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น การที่โจทก์นำเรื่องที่ดินรายเดียวกันนั้นมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก แม้จะเป็นเพียงที่ส่วนหนึ่งและเปลี่ยนตัวจำเลยจากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยคดีนี้ ก็คงมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทในคดีนี้เป็นของใครเท่านั้น กรณีเป็นเรื่องที่มีประเด็นซึ่งศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ซึ่งศาลชี้ขาดมาแล้วในสิทธิของที่พิพาทว่าเป็นของจำเลยร่วม จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยซ้ำในเรื่องสิทธิแห่งที่พิพาทอีกเพราะเป็นฟ้องซ้ำ และที่ดินรายนี้จำเลยขายให้ภริยาจำเลย ฐานะของจำเลยแม้จะไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายที่แปลงนี้โดยตรงกับจำเลยร่วมก็จริง แต่จำเลยเป็นสามีของ ฟ. ภริยาจำเลยคู่สัญญาซื้อขายกับจำเลยร่วม ก็มีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมในที่แปลงนี้ด้วย ในคดีนี้จำเลยร่วมได้ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมย่อมชอบที่จะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนเป็นข้อต่อสู้ได้โดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทที่ดินงอกริมตลิ่ง ทางสาธารณะ/เอกชน ศาลต้องสืบพยานประเด็นสำคัญก่อนพิพากษา
ระหว่างที่พิพาทซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งกับที่ของโจทก์มีทางเดินคั่นกลางซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นทางเอกชนที่พิพาทเป็นที่งอกหน้าที่ดินของโจทก์จึงเป็นของโจทก์จำเลยสู้ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทเป็นทางสาธารณะที่พิพาทเป็นที่งอกจากทางสาธารณะ จำเลยได้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของมานานหลายปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนจากที่พิพาทประเด็นที่ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทกับที่โจทก์เป็นทางเอกชนหรือทางสาธารณะเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจากคำพยานโจทก์จำเลยศาลจึงชอบที่จะให้สืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นดังกล่าวให้สิ้นกระแสความก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607-608/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดในคดีพิพาทที่ดิน: กรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทโดยตรง
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน โดยต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าอีกฝ่ายหนึ่งบุกรุกที่ดินของตน เมื่อศาลสั่งทำแผนที่แล้วปรากฏว่าตรงที่พิพาทกันมิได้เกี่ยวข้องกับที่ๆ จำเลยนำชี้แนวเขตที่ดินทางด้านอื่นรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนายโชติเช่นนี้ เมื่อนายโชติจะต้องการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ก็ต้องนำคดีไปฟ้องร้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตั้งข้อพิพาทกับจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ หามีสิทธิประการใดที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเรื่องนี้ไม่ไม่ว่าในฐานะที่เป็นโจทก์ร่วมจำเลยร่วมหรือเป็นฝ่ายที่สามมิฉะนั้นแล้วบุคคลอื่นๆ ก็ถือสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้ง่ายๆ แทนที่ศาลจะพิจารณาแต่เพียงประเด็นเดียวเฉพาะที่โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรง กลับจะต้องไปพิจารณาประเด็นอื่นๆ ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีพิพาทที่ดิน: ศาลต้องดำเนินการสืบพยานให้ครบถ้วนก่อนพิพากษา หากยังไม่พอพิพากษาได้
กรณีศาลชั้นต้นสืบตัวโจทก์หนึ่งปากแล้ว งดสืบพยานต่อไป พิพากษายกฟ้องโจทก์เสียเมื่อปรากฎว่าข้อที่สืบยังไม่เป็นหลักฐานที่แน่นอน พอจะพิพากษาชี้ขาดคดีได้โดยแน่ชัด ศาลสูงก็ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปแล้วพิพากษาใหม่