พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ไม่ใช่การซื้อขายลิขสิทธิ์ แต่เป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2534 มาตรา 26
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
การพิจารณาว่างานซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ปรับแก่กรณี แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
ในสัญญามีข้อความระบุถึงชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์" และมีข้อความในรายละเอียดกำหนดให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ตำราคณิตคิดเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวนของแต่ละระดับชั้นเล่มละ 3,000 เล่ม เริ่มจำหน่ายเดือนมกราคม 2535 และคิดเงินค่าแห่งลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ที่พิมพ์ขึ้นแต่ละเล่ม เอกสารดังกล่าวมิได้มีการลงนามโจทก์ในฐานะผู้ขาย และจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่ม และกำหนดให้พิมพ์หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เพียงเล่มละ 3,000 เล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์แต่อย่างใด แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตามมาตรา 13 (4) และ 14 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงข้างต้นจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมพิมพ์ที่ไม่ลงชื่อผู้พิมพ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่ผิดแบบพินัยกรรม
พินัยกรรม์ซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ธรรมดาแต่ผู้พิมพ์มิได้เซ็นชื่อเป็นผู้พิมพ์ไว้นั้นไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดต่อข้อความหมิ่นประมาทที่ลงพิมพ์ แม้จะมีบรรณาธิการ
ผู้พิมพ์โฆษนาหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในข้อความใด ๆที่ลงพิมพ์ในหนังสือของตนในเมื่อตนรู้ถึงข้อความนั้น แม้ถึงว่าจะได้ตัวบรรณาธิการแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5886/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้พิมพ์-บรรณาธิการในคดีหมิ่นประมาทตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ถูกยกเลิก
จำเลยเป็นเพียงผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาและบรรณาธิการ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมกับผู้เขียน ผู้ประพันธ์ เขียนข้อความหมิ่นประมาทดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไปบัญญัติไว้มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 พ.ร.บ.การพิมพ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2488 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 แต่ความที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มิได้บัญญัติถึงลักษณะความผิดของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณษา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การพิมพ์ พุทธศักราช 2484 มาตรา 48 แต่ประการใด จึงเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังกล่าว จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225