คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิสูจน์ที่มา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองไม้หวงห้าม จำเลยต้องพิสูจน์ที่มา หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่าผิดตามกฎหมาย
โจทก์นำสืบได้ว่าเจ้าพนักงานจับไม้หวงห้ามประเภท ก.กับประเภทข. ได้จากจำเลย จำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 84(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 12 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยรู้อยู่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไม้สักแปรรูปและไม่แปรรูป การพิสูจน์ที่มาของไม้เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ไม้สักซึ่งเป็นไม้หวงห้ามจะยังมิได้แปรรูป ทั้งมิได้มีราคาค่าภาคหลวงประทับไว้นั้น+มีไว้ในครอบครองย่อมมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 69 เว้นผู้มีไว้จะพิศูจน์ได้ว่า ได้ไม้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจึงพ้นผิด
มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 +เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 48 จะเป็นความผิดตามมาตรา 48 จะเป็นความผิดตามมาตรา 73 ถ้าพิศูจน์ได้ว่ามีไม้แปรรูปนั้นเพื่อปลูกสร้างบ้านเรือนแล้วพ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 มาตรา 50 บัญญัติไม่ให้ใช้มาตรา 48 บังคับ จึงไม่เป็นผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13467/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: ทรัพย์สินจากความผิดมูลฐาน (ยาเสพติด, หนีศุลกากร) ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ต้องพิสูจน์ที่มา
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรอันเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง คงอุทธรณ์เถียงแต่เฉพาะว่าผู้คัดค้านที่ 1 มิได้มีพฤติการณ์เป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 3 (7) ซึ่งศาลย่อมมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: การพิสูจน์ที่มาของเงินในบัญชีธนาคาร และการประเมินเงินได้พึงประเมิน
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินครั้งแรกเพราะเห็นว่าการประเมินยังไม่ถูกต้อง มิใช่เพราะเห็นว่าโจกท์ไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม ซึ่งถือไม่ได้ว่าการเรียกตรวจสอบตามหมายเรียกเสร็จสิ้นลงแล้ว เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินใหม่ให้โจทก์ชำระภาษีตามที่เห็นว่าถูกต้องได้โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 อีกครั้ง แม้การประเมินครั้งหลังจะทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว จึงมิใช่การประเมินซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประเมินครั้งหลังยังเป็นการประเมินในเรื่องเดิมเกี่ยวกับยอดเงินได้พึงประเมินของโจทก์โดยเจ้าพนักงานประเมินอาศัยพยานหลักฐานที่ได้จากการตรวจสอบมาแล้วเท่าที่มีอยู่เดิมในการประเมินครั้งแรกเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณามิใช่การประเมินในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยตรวจสอบไต่สวนมาก่อน จึงไม่จำต้องแจ้งโจทก์มาชี้แจงแสดงหลักฐานเพิ่มเติม
ข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์เป็นไปในทำนองเดียวกับที่กล่าวในคำฟ้องโดยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร วิธีการประเมินมิใช่ขั้นตอนปกติด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
บัญชีเงินฝากธนาคารที่โจทก์เปิดไว้ หากโจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีมีส่วนที่เป็นของบุคคลอื่นรวมอยู่ด้วย โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ได้ความเช่นนั้น เงินดังกล่าวเป็นจำนวนสูงมาก โจทก์อ้างว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซ. ซึ่งตามปกตินิติบุคคลย่อมต้องมีการจัดทำบัญชีรับจ่าย บัญชีแสดงรายการเจ้าหนี้และลูกหนี้รวมทั้งงบการเงิน แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าเงินของห้างมีที่มาอย่างไร แต่ละครั้งเป็นจำนวนเท่าใด การโอนเงินเข้าบัญชีเป็นเงินสำหรับหมุนเวียนในการประกอบการค้าของห้างโจทก์ก็เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ทั้งยอดเงินในวันสุดท้ายของปีเป็นหนี้ธนาคารหรือคงเหลือ 5,000 บาท ก็ไม่อาจสรุปว่าเงินฝากในบัญชีไม่ใช่ของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่ายอดเงินที่เข้าบัญชีมีส่วนที่เป็นของห้างจำนวนเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำยอดเงินฝากเข้าบัญชีภายหลังหักจำนวนเงินที่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของห้างเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) และหักค่าใช้จ่ายเหมาให้ในอัตราร้อยละ75 โดยงดเบี้ยปรับ จึงถูกต้องและเหมาะสมแล้ว