พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่าโจทก์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเพียงข้อเดียวว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงเหตุที่โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเคลือบคลุมไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นไม่ได้วินิจฉัยให้ โจทก์ฎีกากล่าวถึงแต่ความเป็นมาของการครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งตกทอดมาถึงโจทก์ได้อย่างไร จำเลยไม่อาจได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เพราะเหตุใด มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกคดีพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และคดีถึงที่สุดแล้วนั้น เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีนี้ในขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลภายนอกคดีมีอำนาจที่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ผู้คัดค้านชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทเป็นคดีใหม่ และกรณีนี้มิใช่เป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (4) เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวกับการแต่งตั้งตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 7 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3735/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – การพิสูจน์สิทธิ – ไม่มีอำนาจฟ้อง – ผลกระทบต่อจำเลยอื่น
ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหก เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทโดยมิได้แบ่งแยกเนื้อที่ดินที่จำเลยแต่ละคนบุกรุก ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ประกอบมาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อายุความหนี้ในคดีล้มละลาย: หน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของเจ้าหนี้
ที่เจ้าหนี้ฎีกาว่า หนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังไม่ขาดอายุความ เพราะก่อนยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อขอให้ลูกหนี้ล้มละลายภายในอายุความ และในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถึงการฟ้องคดีแล้ว แต่ปรากฏในสำนวนสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า พยานเจ้าหนี้ให้การและเสนอพยานหลักฐานในชั้นสอบสวนแต่เพียงเรื่องมูลหนี้และจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอรับชำระเท่านั้น มิได้ให้การหรือแจ้งถึงเหตุที่หนี้ตามคำพิพากษายังไม่ขาดอายุความ ทั้งที่เจ้าหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เพื่อแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระตามคำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1) ดังนั้น ข้ออ้างของเจ้าหนี้จึงนอกจากจะระงับฟังไม่ได้แล้ว ยังเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นโต้เถียงในชั้นฎีกา มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมาย ใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ฎีกาของเจ้าหนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิก่อนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ เป็นเพียงการกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิกันในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดไว้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งการอย่างไรแล้ว ให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งก็ตาม แต่ข้อกำหนดดังกล่าวคงเป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติภายหลังจากที่ได้สั่งการไปแล้ว คือหากมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดก็ให้ดำเนินการไปตามที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสั่งหาใช่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลไม่ ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอื่นดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & อำนาจฟ้องเพิกถอนโฉนด: คดีเดิมพิสูจน์สิทธิแล้ว, จำเลย 2 เพิกเฉยมีอำนาจฟ้อง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดิน พิพาทของโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษา ยกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีก่อน และประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนมีเหตุอย่างเดียวกัน คือโจทก์ขอให้พิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ แม้คดีนี้โจทก์จะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไป ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นได้ วินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ย่อมเป็นการห้ามที่ เกี่ยวเนื่องกับคดีก่อน จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็น ฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในเขตจังหวัดตนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61(2) เมื่อการเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน ที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินตามคำสั่งนายกฯ การพิสูจน์สิทธิในทรัพย์สิน และการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516ให้อายัดทรัพย์ของจอมพลถ. และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ. ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ. และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควร ทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517 ข้อ 5 แล้วและต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวงจ.เมื่อพันตรีหลวง จ. ได้ทำพินัยกรรม ยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาท เป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดินพิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้น คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดีหรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของ คณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศให้ที่ดินเป็นสาธารณะต้องพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน การคัดค้านต่อเนื่องย่อมไม่ถือเป็นความผิด
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ ท.ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี 2525 และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอน หลังจาก ท.ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้ว ก็ถูก ส.คัดค้าน แม้จะมีการไกล่เกลี่ยกัน ส.ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่า ส.ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีก ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตร ส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอด และยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การพิสูจน์สถานะ 'ที่สาธารณะ' เป็นสำคัญ หากพิสูจน์ไม่ได้ การครอบครองไม่เป็นความผิด
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิมแต่กรณีเป็นเรื่องที่ท. ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี2525และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอนหลังจากท. ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้วก็ถูกส. คัดค้านแม้จะมีการไกล่เกลี่ยกันส. ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่าส. ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใดต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีกภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตรส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอดและยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใดเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์สิทธิโดยชอบก่อนอ้างสิทธิเหนือรัฐ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เพราะเป็นที่ดินสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ แม้โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน เพราะโจทก์จะยกเอาการครอบครองขึ้นยันต่อรัฐได้ต่อเมื่อโจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทมาโดยชอบตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด และกฎหมายบัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองนั้นไว้ด้วย