พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7438/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามและเวนคืน: สิทธิในที่ดินและพืชผลตกเป็นของรัฐเมื่อมีการเวนคืนถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ได้ที่ดิน 2 แปลง และปลูกบ้านกับต้นยูคาลิปตัสตามฟ้องภายหลังจากพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2497 ใช้บังคับแล้ว เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการกระทรวงมหาดไทย อันเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังนี้จึงเป็นการที่โจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครอง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชา และตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีพ.ศ. 2521 จะมีผลบังคับกับที่ดินที่ถูกเวนคืนต่อเมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนได้รับค่าชดเชยเสียก่อน
ต้นยูคาลิปตัสเป็นไม้ยืนต้นและปลูกเพื่อตัดขายเป็นคราว ๆ โดยไม่ต้องปลูกใหม่เมื่อมีหน่อขึ้นมาแล้วก็บำรุงรักษาหน่อไว้ก็สามารถตัดขายได้อีกดังนี้ การที่โจทก์มีเจตนาในการปลูกต้นยูคาลิปตัสเพื่อประโยชน์เป็นเวลานานตลอดไปต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินโดยไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้นยูคาลิปตัสที่โจทก์ปลูกจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะถือว่าไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146
ที่ดินแปลงพิพาทตามฟ้องอยู่ในเขตเวนคืน ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา ฯลฯ พ.ศ. 2521เพื่อประโยชน์ของรัฐในการสร้างท่าเรือน้ำลึกและกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการท่าเรือและให้ผู้อำนวยการของจำเลยร่วมเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และเมื่อต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยร่วมตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2497 มาตรา 10 ดังนี้ การที่จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและมอบที่ดินที่เวนคืนให้จำเลยดำเนินการ แล้วจำเลยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสและขุดตอต้นยูคาลิปตัสในที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายพืชผลทางการเกษตรและการพยายามทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาพิจารณาความเสียหายต่อพืชผลและเจตนาของผู้กระทำ
ต้นมะพร้าวของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยฟันปลูกอยู่ในสวนตามแนวเขตที่ดินของผู้เสียหายรวมกับต้นมะพร้าวอื่นเป็นแนวเดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีอาชีพอะไรและสวนดังกล่าวของผู้เสียหายเป็นสวนมะพร้าวโดยเฉพาะหรือสวนไม้เบญจพรรณ จึงฟังไม่ได้ว่าต้นมะพร้าวที่ถูกฟันนั้นเป็นพืชที่ปลูกในการกสิกรรมของผู้เสียหาย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 701/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำให้เสียทรัพย์จากความขัดแย้งเรื่องที่ดิน จำเลยถอนพืชผลที่โจทก์ปลูกโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์ร่วมกับจำเลยพิพาทกันในเรื่องที่ดิน โดยภริยาโจทก์ร่วมฟ้องคดีแพ่งขับไล่จำเลย คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล การที่จำเลยถอนต้นกล้วยและมันเทศซึ่งจำเลยก็ทราบว่าโจทก์ร่วมได้ปลูกไว้ในที่พิพาททิ้งไปย่อมเห็นได้ว่าทำให้ต้นกล้วยและมันเทศที่ปลูกไว้นั้นเสียหาย จำเลยกระทำโดยพลการ มิได้ใช้สิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าที่ดินในการครอบครองพืชผลและทรัพย์สินในที่เช่า แม้มีการซื้อขายที่ดิน
โจทก์เช่าที่ดินซึ่งมีบ่อเลี้ยงปลา แต่โจทก์ได้ปิดกั้นบ่อ ปลูกต้นไม้ล้มลุกและล้อมรั้วลวดหนามไว้ ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินแปลงนั้น แต่โจทก์ยังคงครอบครองในฐานะเป็นผู้เช่า แล้วจำเลยไปวิดปลาในบ่อ ตัดต้นไม้ล้มลุกและรื้อลวดหนามเหล่านั้น จำเลยย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์
ผู้เช่าที่ดินได้ปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้ เมื่อออกจากที่ดินไป ผู้เช่าที่ดินมีสิทธิเอาไม้ล้มลุกไปได้
ผู้เช่าที่ดินได้ปลูกต้นไม้ล้มลุกไว้ เมื่อออกจากที่ดินไป ผู้เช่าที่ดินมีสิทธิเอาไม้ล้มลุกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายต้นไม้ปลูกตามแนวเขต ไม่ถือเป็นพืชผลในการกสิกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4)
คำว่าพืช หรือ พืชผลของกสิการซึ่งบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359 (4) นั้น หมายถึงพืชหรือพืชผลที่ปลูกในการกสิกรรมของกสิกร ฉะนั้น ต้นนุ่นและต้นมะม่วงหิมพานต์ซึ่งผู้เสียหายผู้เป็นกสิกร ด้วยการทำนาปลูกไว้ เฉย ๆ ตามแนวเขต และจำเลยถอนทำลายเสียนั้น จะฟังว่า เป็นพืชหรือพืชผล ในการกสิกรรมของผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความ ‘พืชผลของกสิกร’ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4) กรณีต้นไม้ปลูกตามแนวเขต
คำว่าพืชหรือพืชผลของกสิกรซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 359(4) นั้น หมายถึงพืชหรือพืชผลที่ปลูกในการกสิกรรมของกสิกรฉะนั้น ต้นนุ่นและต้นมะม่วงหิมพานต์ซึ่งผู้เสียหายผู้เป็นกสิกรด้วยการทำนาปลูกไว้เฉยๆ ตามแนวเขตและจำเลยถอนทำลายเสียนั้นจะฟังว่าเป็นพืชหรือพืชผลในการกสิกรรมของผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768-1769/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บเกี่ยวพืชผลหลังคดีขับไล่: ความรับผิดในความเสียหายต่อผู้เช่า
เจ้าของสวนฟ้องขับไล่ผู้เช่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่ และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้เช่าจึงต้องออกไป เจ้าของสวนได้เข้าไปเก็บพืชผลของผู้เช่าซึ่งเป็นไม้ล้มลุกและธัญญชาติ ต่อมาศาลสูงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง เจ้าของสวนย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768-1769/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บเกี่ยวพืชผลหลังคดีขับไล่: ความรับผิดของผู้ให้เช่าต่อค่าเสียหาย
เจ้าของสวนฟ้องขับไล่ผู้เช่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ผู้เช่าจึงต้องออกไป เจ้าของสวนได้เข้าไปเก็บพืชผลของผู้เช่าซึ่งเป็นไม้ล้มลุกและธัญชาติ ต่อมาศาลสูงพิพากษากลับให้ยกฟ้อง เจ้าของสวนย่อมต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1420/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการบุกรุกทำลายพืชผล: ศาลจำกัดเฉพาะความเสียหายที่พิสูจน์ได้จริง ไม่รวมค่าเสียโอกาสในอนาคต
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยได้สมคบกันตัดจากในที่ของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเรียกค่าที่จำเลยกระทำให้โจทก์เสียหายรวมเป็นเงิน 3,000 บาท และปีต่อๆ ไปอีกปีละ 3,000 บาท ไม่ได้แสดงว่าค่าเสียหายที่เรียกล่วงหน้าเป็นค่าเสียหายอะไร จึงถือไม่ได้ว่าเรียกค่าเสียหายในฐานะขาดประโยชน์ที่ควรมีควรได้ในอนาคต ศาลจึงพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้ได้แต่เพียง 3,000 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดถอนพืชผลยังไม่ถือเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปจนกว่าจะมีการนำไป การกระทำจึงเป็นเพียงพยายามชิงทรัพย์
ตามสภาพของพืชผลต้องติดอยู่กับต้นหรือปลูกปักอยู่ในดิน การทำให้ผลไม้หลุดออกจากต้น เช่นสอยมะม่วง หรือตัดขนุนให้หล่นลงมา หรือ ขุดถอนมันหรือต้นหอมให้หลุดพ้นขึ้นจากดินโดยยังไม่ทันเอาไปด้วยนั้น ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปดังที่ท่านบัญญัติไว้ใน ก.ม.อาญา ม.288
คนร้ายถอนต้นหอมของผู้อื่นขึ้นมา ทิ้งเกลื่อนอยู่บนร่องสวน ยังไม่ทันจะเอาไป พอดีเจ้าทรัพย์มาพบเสีย+ดังนี้ เป็นผิดฐานพยายามลักทรัพย์เท่านั้น
คนร้ายถอนต้นหอมของผู้อื่นขึ้นมา ทิ้งเกลื่อนอยู่บนร่องสวน ยังไม่ทันจะเอาไป พอดีเจ้าทรัพย์มาพบเสีย+ดังนี้ เป็นผิดฐานพยายามลักทรัพย์เท่านั้น