คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พื้นที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ต้องคำนวณตามพื้นที่และลงโทษเรียงรายบุคคล
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117... ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ผู้กระทำความผิดฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด เมื่อพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 โดยลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5848/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การกำหนดพื้นที่และค่าใช้จ่ายส่วนกลางยึดตามสัญญาและข้อบังคับนิติบุคคล
ตารางราคาที่ตัวแทนของจำเลยนำออกเผยแพร่ในชั้นโฆษณาจำหน่ายห้องชุดคิดราคาห้องชุดในอัตราหนึ่ง แต่ตามสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดมีข้อความระบุว่า"ข้อความในเอกสารหรือคำโฆษณาอื่นใดที่มีมาก่อนการทำสัญญานี้ย่อมไม่ผูกพันผู้จะขายคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงให้ยึดถือข้อความและเอกสารตามสัญญานี้เป็นข้อปฏิบัติต่อกันทุกประการ" แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาจะซื้อจะขายกันตามแบบแปลนเอกสารแนบท้ายสัญญาเป็นสำคัญ ดังนั้น หากจำเลยก่อสร้างห้องชุดมีลักษณะและขนาดกว้างยาวเท่ากับที่ระบุไว้ในแบบแปลนท้ายสัญญาแล้วจะถือว่าจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ แม้พื้นที่ของห้องชุดจะมากกว่าหรือน้อยกว่าตามที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์หรือจำเลยก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มขึ้นหรือลดลง
เจ้าของร่วมจะต้องชำระเงินกองทุนสำรองส่วนกลางและค่าใช้จ่ายส่วนกลางจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น ๆ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18,32(4)(10) และมาตรา 40 เมื่อข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 5 ระบุให้เรียกเก็บเงินกองทุนและค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อเดือนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงต้องปฏิบัติตามข้อบังคับนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายอาคารชุดกรณีพื้นที่จริงต่างจากที่ตกลง และสิทธิในการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่กรณีจึงอาจกำหนดไว้ในสัญญาเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัตินี้ได้
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอาคารชุดที่พักอาศัยในราคา2,865,000 บาท สัญญาดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่า "ห้องชุดผู้ซื้อจะมีพื้นที่ประมาณ94.5 ตารางเมตร ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับการปรับขนาดพื้นที่ตามการก่อสร้างที่เป็นจริงและการจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ถ้าพื้นที่จริงของห้องชุดผู้ซื้อมีมากกว่าหรือน้อยกว่าที่ระบุข้างต้น คู่สัญญายังคงต้องผูกพันตนตามสัญญานี้ แต่ถ้าแตกต่างตั้งแต่ร้อยละห้า(5%) หรือมากกว่านั้น ราคาที่ต้องชำระตามสัญญานี้จะต้องปรับเพิ่มหรือลดลงตามส่วนโดยการปรับราคาจะกระทำในการชำระเงินงวดสุดท้ายของราคา" แม้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย และใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 แต่ศาลก็ต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ของคู่สัญญาในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี กล่าวคือ เจตนาของคู่สัญญาที่กระทำโดยสุจริตซึ่งพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีประกอบแล้ว คงมิได้หมายความถึงขนาดที่ว่า ไม่ว่าเนื้อที่ของอาคารชุดจะแตกต่างมากกว่าร้อยละห้าสักเพียงใดก็ตาม โจทก์ก็ต้องรับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดโดยไม่อาจปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาคารชุดพิพาทมีเนื้อที่ล้ำจำนวนถึง 29.98 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 31.7 ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มอีกประมาณ 900,000 บาท รวมทั้งจำเลยได้บังคับให้โจทก์รับมอบซอกมุมห้องที่ติดกันซึ่งมีเนื้อที่อีก 30 ตารางเมตร โดยมีฝากั้นห้อง ระหว่างเนื้อที่ 95.5 ตารางเมตรกับ 30 ตารางเมตร เป็นฝากั้นซึ่งเป็นคานรับน้ำหนักของตัวอาคาร โดยจำเลยได้ทำช่องให้เข้าไปได้ทางด้านหลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนที่ล้ำจำนวนเป็นส่วนของเนื้อที่ซอกมุมห้องที่ติดกัน ซึ่งหากพิจารณาถึงความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีแล้ว ก็หาควรบังคับให้โจทก์ต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นจำนวนมากเพื่อรับเอาเนื้อที่ล้ำจำนวนที่ไร้ประโยชน์ดังกล่าวนั้นไม่ เพราะหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้เข้าทำสัญญานั้นอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง เมื่อคำนึงถึงมาตรา 11 แห่ง ป.พ.พ.ด้วยแล้ว ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อสัญญามีข้อสงสัยว่าโจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวนี้หรือไม่ ศาลย่อมต้องตีความให้เป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ในเมื่อล้ำจำนวนถึงขนาดซึ่งหากโจทก์ได้ทราบก่อนแล้วคงมิได้ทำสัญญานั้น ตามมาตรา 466 วรรคสองอันเป็นผลให้คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและทำดวงตราปลอมเพื่อใช้ในการทำงานนอกพื้นที่
โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่า จำเลยปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมซึ่งเป็นเอกสารราชการและยังได้ปลอมดวงตราของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอำเภอ ส.แล้วประทับดวงตราปลอมดังกล่าวลงในหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมที่ปลอมขึ้นเช่นกันดังกล่าวนั้น พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะปลอมหนังสือรับรองที่อนุญาตทำงานเฉพาะบุคคลอยู่พื้นที่สูงใช้ในกรณีไปทำงานนอกพื้นที่ควบคุมทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์เท่านั้น กรณีหาได้มีการกระทำอื่นใดอีกไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการและทำดวงตราปลอมตาม ป.อ.มาตรา265, 251 อันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การกระทำความผิดฐานบุกรุกเกิดได้แม้ไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ทั้งหมด
การที่จะพิจารณาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นครอบครองอยู่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365 หรือไม่นั้น จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้เข้าไปหรือใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจำเลยเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีสิทธิหรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบเป็นสำคัญ ภาพถ่ายที่โจทก์นำสืบเพื่อให้ศาลเห็นว่าขณะที่ผู้เสียหายถูกจำเลยลากตัวไปยังบ้านของจำเลย ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้เสียหายยืนอยู่ ณ จุดใดภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหายศาลก็ชอบที่จะใช้ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดฐานบุกรุกได้ ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยกระชากลากตัวผู้เสียหายออกมาจากบริเวณบ้านของผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายยืนอยู่บริเวณใต้ชายคาบ้านของผู้เสียหายดังที่ปรากฏในภาพถ่ายเท่ากับจำเลยยอมรับว่าจุดที่ผู้เสียหายยืนอยู่ในขณะที่ผู้เสียหายถูกจำเลยกระชากลากตัวไปอยู่ภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหายตามที่ปรากฏในภาพถ่ายจากจุดที่ผู้เสียหายยืนอยู่ดังนี้ การที่จำเลยจะกระชากลากตัวผู้เสียหายให้ออกไปจากบริเวณบ้านของผู้เสียหายได้ แม้จำเลยจะยืนอยู่นอกบริเวณบ้านของผู้เสียหายแต่จำเลยก็จะต้องเอื้อมมือเข้าไปภายในบริเวณบ้านของผู้เสียหายเพื่อจับและฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายออกไป การเอื้อมมือเข้าไปฉุดกระชากลากตัวผู้เสียหายออกไปในลักษณะนี้ ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขโดยใช้กำลังประทุษร้ายเข้าองค์ประกอบแห่งความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362และมาตรา 365(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดป่าสงวน: ผู้กระทำไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนฯ ย่อมไม่มีความผิด แม้พื้นที่เป็นป่าสงวนฯ จริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้างแผ้วถางเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ย่อมเป็นข้อเท็จจริงหากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้างแผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่2ถึงที่7เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่1โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อนจำเลยที่2ถึงที่7ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่1รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้างแผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลกรณีไม่มีศาลเยาวชนฯ - การพิจารณาคดีเยาวชนในพื้นที่ที่ไม่มีศาลเฉพาะ
ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ 15 ปี 6 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชน แต่ในท้องที่จังหวัดสกลนครซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือสงเคราะห์การทำสวนยาง ไม่ใช่ใบอนุญาตเข้าใช้พื้นที่ป่าสงวน
หนังสือประจำตัวผู้ได้รับการสงเคราะห์ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกให้จำเลยที่ 1 เป็นเพียงหนังสือที่แสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ได้รับการสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเท่านั้นจึงมิใช่เป็นการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าไปก่นสร้าง แผ้วถาง และทำไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของยามต่อทรัพย์สินสูญหาย: พิจารณาความเหมาะสมของระดับความระมัดระวังตามพื้นที่และจำนวนกำลัง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้ให้คำจำกัดความคำว่าประมาทเลินเล่อตามมาตรา 420 ไว้ คงมีแต่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 แต่ก็กล่าวโดยสรุปได้ความหมายว่า การขาดความระมัดระวังนั่นเอง ระเบียบของวิทยาลัยโจทก์ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยกำหนดอำนาจหน้าที่ยามต้องตรวจตราความเรียบร้อยตลอดเวลาอยู่ประจำทางเข้าออกประตูหน้าที่วิทยาลัยขณะเปิดปิดประตูอยู่อย่างน้อย 1 คน ตลอดเวลา วิทยาลัยของโจทก์มีเนื้อที่ถึง 150 ไร่ มีอาคาร 30 หลัง ทรัพย์สินที่หายเก็บไว้ในอาคาร 2 โดยไม่มีระเบียบชัดแจ้งให้จำเลยต้องสำรวจพื้นที่และทรัพย์สินในอาคารให้ครบทั้ง 30 อาคาร และโดยวิสัยของผู้มีหน้าที่ยามซึ่งต้องดูแลบริเวณที่มีพื้นที่และอาคารมากขนาดนี้ ขณะเข้าเวรเพียงผลัดละ 1 คน จำเลยทั้งสองไม่น่า จะต้องใช้ความระมัดระวังถึงระดับนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองประมาทเลินเล่อ
of 2