คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พื้นที่ครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536-1540/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับและคำขอให้ออกจากพื้นที่ป่าในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย ไม่ต้องฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันให้ปรับจำเลยเพียงแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้ยกคำขอที่สั่งให้จำเลยออกไปจากป่าที่จำเลยยึดถือครอบครองเสียเท่านั้น คำขอส่วนนี้เป็นวิธีการอุปกรณ์ของโทษ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484มาตรา 72 ตรี ซึ่งศาลมีอำนาจใช้ ดุลพินิจสั่งได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ข้อนี้ย่อมถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์มิได้แก้บทความผิดเพียงแต่แก้โทษปรับให้ต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นลงไว้ และมิได้วางโทษจำคุกแล้วรอไว้ดังที่ศาลชั้นต้นพิพากษา กับแก้ในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยออกไปจากป่าที่จำเลยยึดถือครอบครองเป็นให้ยกเสีย ดังนี้ เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมซื้อที่ดิน: สัดส่วนกรรมสิทธิ์ตามเงินลงทุนและพื้นที่ครอบครอง
เข้าทุนกันซื้อแล้วแบ่งกันปกครองเป็นส่วนเป็นสัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องบังคับตามความเป็นจริงของพื้นที่ครอบครองจริง ไม่ยึดติดกับรูปแผนที่พิพาทที่ไม่ถูกต้อง
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป