คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พื้นที่ป่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกป่าสงวน: จำเลยไม่มีความผิด หากไม่ทราบว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน แม้เป็นพื้นที่ป่าจริง
ที่ดินที่จำเลยบุกรุกเข้าไปทำการก่นสร้าง แผ้วถาง เป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริง หากไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติจำเลยย่อมไม่มีความผิดและแม้จะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่จำเลยเข้าก่นสร้าง แผ้วถางโดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติจำเลยก็ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นเพียงผู้รับจ้างเข้าทำไร่มันสำปะหลังให้จำเลยที่ 1 โดยสภาพพื้นที่เคยปลูกมันสำปะหลังมาก่อน จำเลยที่ 2ถึงที่ 7 ไม่อาจทราบได้ว่าเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งโจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติและตามสภาพที่ดินก็ไม่มีต้นไม้ใหญ่กลับเป็นไร่มันสำปะหลังทั้งไม่มีป้ายแนวเขตว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติพฤติการณ์ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบว่าที่เข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางเป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า และความผิดตามกฎหมาย
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านพมดงรักฯ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตรว์ป่า พ.ศ.2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ และตำบลละลายตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461-465/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อหวังรับสิทธิจัดสรรที่ดิน: ความผิดต่อเนื่องและอายุความ
บุกรุกเข้าไปยึดถือทำนาในที่ป่าซึ่งมี น.ส.2 เพื่อรับสิทธิตามระเบียบการจัดสรรที่ดินเพื่อประชาชน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108ทวิ วรรค 1 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ข้อ 11 เป็นความผิดต่อเนื่อง อายุความนับตั้งแต่หยุดการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในพื้นที่ป่าสงวน แม้มีการจดทะเบียนที่ดินอย่างไม่ถูกต้อง ยังคงเป็นป่าตามกฎหมาย
เอาที่ดินไปจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ ซื้อขายต่อกันอำเภอโดยอ้างว่าเป็นที่สวน จับจองเบิกบุกเอาเอง ซึ่งไม่ใช่ความจริง แม้เจ้าหน้าที่อำเภอจะจดทะเบียนบุริมสิทธิ์ซื้อขายให้ก็ดี ก็ต้องถือว่ายังเป็นยังดินซึ่งยังมิได้มีบุคคลได้มาตาม ก.ม.ที่ดิน อีกนัยหนึ่งคือป่า ผู้ใดทำไม้ประเภทหวงห้ามในที่นี้โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในพื้นที่นอกเขตป่า: การพิสูจน์พื้นที่ป่าเป็นสาระสำคัญในการลงโทษฐานทำไม้หวงห้าม
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (เดิม) ตอนท้ายบัญญัติว่า "ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา" คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันตัดฟันต้นไม้ขะเจ๊าะและไม้มะเกลือ การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องได้ความว่าพื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่า เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าพื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
กรมป่าไม้และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยกรมป่าไม้มีอำนาจหน้าที่ ควบคุม กำกับดูแล ป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าและการกระทำผิดในพื้นที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยพื้นที่เกิดเหตุในคดีนี้อยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ การเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาตินั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีกรมป่าไม้โดยการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๑๕ ถึง ๒๔ แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ทั้งยังต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่าแล้วแต่กรณีด้วย โดยกฎหมายและข้อกำหนดดังกล่าวมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงถือว่าจำเลยและประชาชนทั่วไปทราบถึงข้อบังคับตามกฎหมายดังกล่าวโดยทั่วกันแล้ว การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง ทำลายป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาตและจำเลยยังตั้งและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๓ โดยนำรถขุดไฮดรอลิก (แบ็กโฮ) ขุดหรือลอกกรวด ทรายหรือดินและบรรทุกดินทราย เพื่อประโยชน์ทางการค้าของจำเลย ที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต จากนั้นจำเลยร่วมกันลักขุดทราย ๑๙๕,๙๘๙.๕๘ ลูกบาศก์เมตร ราคา ๕๗,๖๙๗,๓๖๖.๕๖ บาท ซึ่งเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ของกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้เสียหาย ไปโดยทุจริต โดยพฤติการณ์การกระทำความผิดดังกล่าวสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลานานประมาณ ๓ ปี ๔ เดือน ลักษณะของการกระทำความผิดดังกล่าวไม่สามารถกระทำผิดแต่เพียงลำพังคนเดียว แสดงว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดขุดทรายจำนวนมากซึ่งเป็นทรัพย์สินของรัฐออกไปจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุอันเป็นที่ดินของรัฐและอยู่ในอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมายของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยจึงต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย