คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พื้นที่สาธารณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิประมงจากการปลูกผักบุ้งรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ แม้ได้รับอนุญาตสวนครัว แต่เกินขอบเขตที่กำหนด
จำเลยปลูกผักบุ้งไว้ในลำคลองสาธารณะตรงหน้าที่ดินและบ้านเรือนของจำเลยก่อนโจทก์ได้รับประทานบัตรให้เป็นผู้มีสิทธิทำการประมงในลำคลองนั้น โจทก์ขัดข้องในการทำการประมงเพราะแพผักบุ้งของจำเลย ทางการจึงอนุญาตให้จำเลยเทียบแพผักบุ้งได้เฉพาะพื้นที่ตามเขตหน้าบ้าน แต่แพผักบุ้งของจำเลยยาวเกินกว่าเขตหน้าบ้าน เช่นนี้ส่วนที่เกินเลยออกไปทางการชี้แจงห้ามปรามแล้วเมื่อจำเลยไม่ฟังและโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยย่อมเป็นการละเมิด ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016-1027/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้พื้นที่สาธารณะ (สนามหลวง) เช่าจักรยานกีดขวางทางสัญจร ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายจราจร หากไม่เป็นถนนหนทาง
จำเลยใช้สนามหลวงเป็นที่ตั้งและวางรถจักรยานสองล้อให้คนเช่าขับขี่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่และเป็นการกีดขวางการไปมาเพราะสนามหลวงเป็นสถานที่ซึ่งสาธารณะชนใช้สัญจรไปมาแต่สถานที่ที่กล่าวหากันเป็นเพียงสนามส่วนหนึ่งทั้งไม่ได้ความว่าที่ตรงนั้นเป็นถนนหนทาง จำเลยยังไม่มีความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.336 (1),334(2) พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2477 ม.60,62,65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016-1027/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางสิ่งของกีดขวางการสัญจรในพื้นที่สาธารณะ: สนามหลวงไม่ใช่ถนน
จำเลยใช้สนามหลวงเป็นที่ตั้งและวางรถจักรยานสองล้อให้คนเช่าขับขี่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และเป็นการกีดขวางการไปมาเพราะสนามหลวงเป็นสถานที่ซึ่งสาธารณะชนใช้สัญจรไปมา แต่สถานที่ที่กล่าวหากันเป็นเพียงสนามส่วนหนึ่งทั้งไม่ได้ความว่าที่ตรงนั้นเป็นถนนหนทาง จำเลยยังไม่มีความผิดตาม กฎหมายอาญา มาตรา 336(1),334(2) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 60,62,65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกพื้นที่สาธารณะประโยชน์ การพิจารณาความผิดฐานบุกรุก vs. ละเมิดคำสั่งเจ้าพนักงาน
บุกรุกเข้าไปทำนาในที่ซึ่งรัฐบาลหวงห้ามไว้สำหรับสาธารณะประโยชน์ ไม่มีผิดฐานบุกรุก ทำผิดละหุโทษครั้งก่อนกับครั้งหลังห่างกัน 1 ปี จะเพิ่มโทษแลยกอาญาที่รอไว้มารวมด้วยไม่ได้ จำเลยที่มิได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยนั้น เมื่อมีเหตุในลักษณะคดีแล้วศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจจะตัดสินถึงจำเลยคนนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตลำน้ำ: การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ชายเลนน้ำขึ้นถึงเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับประชาชน
ทางหลวงที่ชายเลนน้ำขึ้นถึงนั้น ถือว่าอยู่ในเขตร์ลำน้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6603/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ: ศาลใช้บทบัญญัติรื้อถอนตาม พ.ร.บ.การเดินเรือ แม้โจทก์มิได้ขอ
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 118 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองที่ว่า "ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 117... ให้เจ้าท่ามีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใดดังกล่าวรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นให้เสร็จสิ้นโดยถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้เจ้าท่าปิดคำสั่งไว้ ณ อาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นและจะห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองนั้นใช้หรือยินยอมให้ผู้ใดใช้อาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจนกว่าจะได้รื้อถอนหรือแก้ไขเสร็จด้วยก็ได้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง และเจ้าท่าได้ปิดคำสั่งไว้ ณ อาคาร หรือสิ่งอื่นใดนั้นครบสิบห้าวันแล้ว ให้เจ้าท่าร้องขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้มีการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งอื่นใดนั้น ถ้าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่ามีการฝ่าฝืนมาตรา 117 จริง ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสิ่งอื่นใด ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้รื้อถอน ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่รื้อถอนตามกำหนดเวลาในคำสั่งศาล หรือในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าท่าเป็นผู้จัดการให้มีการรื้อถอน" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นคำขอให้บังคับทางแพ่งก็ตาม แต่การที่ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงให้ได้ว่ามีการฝ่าฝืนมาตรา 117 จริงหรือไม่ เป็นคดีในส่วนอาญา การบังคับทางแพ่งดังกล่าวจึงถือเป็นผลอย่างหนึ่งของคดีอาญาซึ่งในที่สุดแล้วก็ต้องร้องขอต่อศาลในการที่จะบังคับให้เป็นไปตามบทบัญญัตินี้อยู่ดี เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังได้ว่า มีการฝ่าฝืนมาตรา 117 จริงและยังไม่มีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารให้เสร็จสิ้น ประกอบกับเป็นบทบัญญัติที่ให้มีการกำหนดเวลาให้ปฏิบัติตามคำสั่งด้วย อันเป็นการให้กำหนดเงื่อนเวลาการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารให้เป็นธรรมแก่จำเลยโดยไม่ให้เสียหายแก่ประโยชน์ส่วนรวม ทั้งบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวก็เป็นการบัญญัติเปิดช่องให้เจ้าท่ามีสิทธิร้องขอต่อศาลได้เอง จึงไม่ใช่เป็นการบัญญัติให้ศาลจะมีคำสั่งได้เฉพาะแต่กรณีที่โจทก์มีคำขอเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้โดยชอบแล้ว เท่ากับจำเลยยอมรับว่ายังไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายนี้จริง และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 118 ทวิ นี้อย่างไร จึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัย ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่มีคำขอให้บังคับทางแพ่งดังกล่าวมาก็ตาม ก็อาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่ามีบทบัญญัติข้างต้นเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประสงค์ที่จะไม่ให้บังคับตามนั้นแต่อย่างใด ศาลจึงใช้ดุลพินิจบังคับให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้ได้ คำพิพากษาส่วนนี้ของศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสรีภาพชุมนุมต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและกฎหมาย การใช้พื้นที่สาธารณะต้องเหมาะสมตามปกติวิสัย
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 44 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุจะบัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าประชาชนจะสามารถใช้เสรีภาพของตนโดยปราศจากขอบเขตหรือไปละเมิดต่อสิทธิของประชาชนผู้อื่นด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ใช้เสรีภาพดังกล่าวถึงขั้นเป็นการละเมิดหรือกระทำความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง เพราะกฎหมายที่ตราออกมาใช้บังคับต่อประชาชนทุกคนย่อมมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดระเบียบและรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้น หากมีการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ก็จะอ้างว่าเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยถือเป็นการชุมนุมโดยสงบหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กับพวกใช้ไหล่ทางของถนนเพชรเกษมอันเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเป็นที่ตั้งเต็นท์รวมทั้งวางสิ่งของต่าง ๆ จึงเป็นการกีดขวางและอาจเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือยานพาหนะที่สัญจรไปมาในทางหลวงแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีเจตนาเนื่องจากถูกเจ้าพนักงานตำรวจขัดขวางมิให้เดินต่อไปหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ย่อมเล็งเห็นผลจากการกระทำของตนว่าการตั้งสิ่งของเหล่านั้นกีดขวางและอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและยานพาหนะที่สัญจรไปมาบนทางหลวงได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการทางหลวง การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง
แม้ไหล่ทางถนนเพชรเกษมจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ก็ตาม แต่การใช้ประโยชน์ของประชาชนย่อมต้องกระทำไปตามปกติวิสัย เช่นการใช้สัญจรไปมาอย่างบุคคลทั่วไป แต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กับพวกกางเต็นท์และวางสิ่งของไว้บริเวณไหล่ทางของถนนตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2547 เป็นเวลาเกือบสามเดือน จึงไม่ใช่เป็นการใช้ประโยชน์จากที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินจากงานก่อสร้างบนพื้นที่สาธารณะ: ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ร่วมงาน
บริเวณที่เกิดเหตุเป็นทางหลวงอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ถ้ามีการอนุญาตให้ใช้โดยกรมทางหลวงกำหนดเงื่อนไขหรือข้อกำหนดไว้อย่างไร ผู้ได้รับอนุญาตมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและข้อกำหนดเช่นนั้น ซึ่งหน้าที่เช่นนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องโดยอาศัยสิทธิของผู้ได้รับอนุญาต ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตทางหลวงดังกล่าวในฐานะผู้ร่วมการงานและร่วมลงทุนกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เข้ามาโดยอาศัยสิทธิขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือข้อกำหนดดังกล่าวดัวย เสมือนดั่งโจทก์เป็นตัวการและองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ในเขตทางหลวงจากกรมทางหลวงแทนโจทก์
ตามบันทึกข้อตกลงข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่กรมทางหลวงจะทำการก่อสร้าง บูรณะหรือขยายทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงแจ้งเป็นหนังสือให้รื้อย้ายเสาพาดสาย ท่าร้อยสาย บ่อพัก ตั้งตู้สลับสายหรือสิ่งใดๆ เกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ออกไปให้พ้นเขตก่อสร้างทางหลวงภายในเวลาที่กำหนด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจะทำการรื้อย้ายให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้รับแจ้ง และตามหนังสืออนุญาตที่กรมทางหลวงอนุญาตให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยใช้ทางหลวงดำเนินการเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมไว้ในข้อ 7 (7) ว่า เมื่อกรมทางหลวงต้องสร้างหรือขยายทางหลวงหรือซ่อมแซมบำรุงทางหลวง ถ้าทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากกรมทางหลวง เมื่อกรมทางหลวงโดยแขวงการทางกาญจนบุรีได้มีหนังสือถึงองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยให้ดำเนินการรื้อย้ายบรรดาสาธารณูปโภคอันเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์ในเขตบริเวณทางหลวงที่จะก่อสร้างซึ่งรวมถึงทางบริเวณที่เกิดเหตุแล้ว กรมทางหลวงย่อมไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก
โจทก์ทราบแล้วไม่ย้ายทรัพย์สินออกไปทั้งที่มีเวลาประมาณ 3 เดือน ถ้ามิใช่การตั้งใจเข้าเสี่ยงภัยอันถือได้ว่าเป็นการยินยอมก็เป็นการประมาทของฝ่ายโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงให้ดำเนินการก่อสร้างทางโดยกรมทางหลวงได้แจ้งให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทราบ ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ทราบแล้วได้เข้าดำเนินการตามคำสั่งและภายในกรอบเงื่อนไขที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีความประมาทในการดำเนินการขุดทำทางและวางท่อระบายน้ำในทางหลวงเป็นเหตุให้ท่อร้อยสายโทรศัพท์ของโจทก์ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินเสียหาย และจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบอีก ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 1 จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เพราะสามารถอนุมานได้ว่าถึงหากกรมทางหลวงเข้าดำเนินการด้วยตนเอง ก็คงจะทำอย่างจำเลยที่ 1 เช่นกัน ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมไม่แตกต่างกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่สาธารณะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ วรรคสี่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำความผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย" เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินที่เข้าไปยึดถือ ครอบครอง ถมดิน ซึ่งย่อมมีความหมายรวมถึงให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ล่วงล้ำเข้าไปในทะเลสาบออกไปได้ด้วย ตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสี่
of 2