คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ้นจากตำแหน่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจการฟ้องคดีของประชาชนและประธานสุขาภิบาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทั้งในฐานะส่วนตัวเนื่องจาก ผู้ร้องเป็นประชาชนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในพื้นที่นี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย และในฐานะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลนั้นก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ เพราะเป็นผู้รับผิดชอบอยู่โดยตรง ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจในการฟ้องคดี
การที่ผู้ร้องระบุในคำร้องว่าในฐานะส่วนตัวคือในฐานะประชาชนในเขตสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ถือได้ว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหายได้ และในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมายหากกรรมการสุขาภิบาลคนใดพ้นตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติกรรมการสุขาภิบาล: การพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดเท่านั้น
มาตรา 21(9) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ดังนั้น บุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาที่ให้จำคุกผู้คัดค้านของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด ผู้คัดค้านจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ. 2495 มาตรา 10(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับผู้จัดการมรดกหลังพ้นจากตำแหน่ง: ศาลไม่อาจบังคับได้เมื่อไม่มีอำนาจหน้าที่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกให้ปฏิบัติตามหน้าที่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยย่อมไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการทรัพย์มรดกต่อไปศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอบังคับของโจทก์ได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยและมีคำพิพากษาตามคำขอบังคับของโจทก์ต่อไปให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานงาน แม้เป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9,11 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและเป็นอันพ้นจากตำแหน่งนั้น เป็น การ กำหนดคุณสมบัติโดยทั่ว ๆ ไปของพนักงานและเป็น บทบัญญัติให้รัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเท่านั้นส่วนจะเป็นการเลิกจ้างหรือ ไม่ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 ซึ่งได้ให้ความหมายของคำว่าการเลิกจ้างไว้ว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 47 อันหมายถึงการที่ให้นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดที่ระบุไว้ ดังนั้น การที่จำเลยให้โจทก์ทุกคนพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพราะเกษียณอายุ จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4779/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังพ้นจากตำแหน่ง
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรของจำเลยย่อมยุติไปตามที่เจ้าพนักงานของโจทก์แจ้งประเมินไว้ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นหนี้ค่าภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2525 ถึงปี พ.ศ. 2526 ต่อมาจำเลยที่ 2ได้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1052 ประกอบมาตรา 1080 ดังนั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม เมื่อการออกไปดังกล่าวยังไม่เกิน 2 ปี โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1077(2),1080, และ 1087 โจทก์แจ้งการประเมินภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ต้องเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ด้วยจำเลยที่ 2มิใช่ผู้ที่ถูกประเมิน กรณีไม่มีเหตุให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้แก่จำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271-2272/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อความประกาศพ้นจากตำแหน่ง ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท หากไม่สื่อความหมายถูกไล่ออก
ลงข้อความประกาศหนังสือพิมพ์ว่า "โจทก์ได้พ้นจากตำแหน่งรองประธานชมรมแล้ว จึงเรียกมาเพื่อทราบ ถ้าหากบุคคลผู้นี้มีการแอบอ้างชื่อชมรมหรือกระทำการสิ่งอื่นใดทางชมรมร้านขายยา กทม. จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้คำว่าพ้นจากตำแหน่งๆ หมายความโจทก์ออกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว มิได้หมายความว่า โจทก์ถูกไล่ออกส่วนคำว่า "แอบอ้าง" อาจจะเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือดูหมิ่นเกลียดชังแต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271-2272/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อความประกาศพ้นจากตำแหน่ง ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท หากไม่ทำให้เสียชื่อเสียง
ลงข้อความประกาศหนังสือพิมพ์ว่า "โจทก์ได้พ้นจากตำแหน่งรองประธานชมรมแล้ว จึงเรียนมาเพื่อทราบ ถ้าหากบุคคลผู้นี้มีการแอบอ้างชื่อชมรมหรือกระทำการสิ่งอื่นใดทางชมรมร้านขายยา กทม. จะไม่รับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น" ดังนี้คำว่าพ้นจากตำแหน่งฯ หมายความว่าโจทก์ออกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วมิได้หมายความว่า โจทก์ถูกไล่ออกส่วนคำว่า "แอบอ้าง" อาจจะเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมอยู่บ้างแต่ก็ไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ หรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือถูกดูหมิ่นเกลียดชังแต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ตามข้อบังคับ และการจ่ายค่าจ้าง/บำเหน็จที่ถูกต้อง
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 ต่อมาจำเลยได้กำหนดการจ่ายเงินบำเหน็จแก่พนักงานหรือลูกจ้างตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้าง พ.ศ. 2539 จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามระเบียบฉบับดังกล่าวแล้ว ระเบียบนี้จึงกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ผูกพันโจทก์และจำเลย ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องปฏิบัติตาม
ตามระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินบำเหน็จตั้งแต่ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงานสหกรณ์และการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2544 จนถึงระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต่อเมื่อลาออก ซึ่งต่างจากระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงาน และลูกจ้าง พ.ศ. 2539 ที่กำหนดให้พนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากตำแหน่ง ซึ่งหมายความว่าพนักงานหรือลูกจ้างคนใดพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกลงโทษไล่ออกหรือเลิกจ้างและมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามข้อยกเว้นตอนท้ายของระเบียบปีดังกล่าวข้อ 32 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จทั้งสิ้น เช่นนี้ ถือว่าจำเลยแก้ไขระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตั้งแต่ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยพนักงานสหกรณ์และการปฏิบัติงาน พ.ศ. 2544 จนถึงระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 ที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อไม่ปรากฏว่าการแก้ไขได้รับความยินยอมจากโจทก์ ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 ข้อ 51 จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 43 บัญญัติว่า "ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ... (10) การแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการ" ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นว่าได้ให้ความสำคัญต่อตำแหน่งผู้จัดการสหกรณ์ โดยจะต้องให้สหกรณ์ออกข้อบังคับกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จัดการไว้ในข้อบังคับ เมื่อตามข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ข้อ 95 (4) กำหนดให้ผู้จัดการจำเลยพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง การพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการจึงต้องบังคับตามข้อบังคับดังกล่าวซึ่งออกโดยอาศัยหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้ ส่วนระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน พ.ศ. 2560 หมวด 11 ข้อ 45 (3) ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่สหกรณ์เกษียณอายุ 60 ปี ตามปีบัญชีสหกรณ์จำเลย โดยข้อ 9 ของระเบียบดังกล่าวกำหนดไว้ว่า ปีบัญชีสหกรณ์คือ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม ของทุกปีนั้น เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ข้อ 79 (8) และข้อ 107 (12) ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการดำเนินการตามข้อบังคับสหกรณ์กำหนดระเบียบต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์คงมีอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ รวมถึงวัตถุประสงค์แห่งข้อบังคับเท่านั้น ไม่อาจกำหนดระเบียบในส่วนของการแต่งตั้ง การดำรงตำแหน่งหรือการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการให้แตกต่างไปจากข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน จำกัด พ.ศ. 2560 ได้ จึงต้องแปลว่าระเบียบนี้ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงตำแหน่งผู้จัดการจำเลยด้วย