พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968-5050/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพ้นวิสัยของการชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยทางการเงินของลูกหนี้ และผลกระทบต่อสัญญาซื้อขายหุ้น
ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยที่ 1 เลิกจ้างนั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นในส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นตามเงื่อนไขในบันทึกเสนอขายหุ้นแล้ว เนื่องจากถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามมิให้ทำธุรกรรมทางการเงินหรือค้าหลักทรัพย์อีกต่อไป ถือได้ว่าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภาระหรือมีหนี้ที่จะต้องนำหุ้นออกขายให้แก่บุคคลอื่นดังกล่าวกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ถือเสมือนว่าเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เมื่อปรากฏว่าการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ผิดข้อตกลงหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่ระบุในบันทึกการเสนอขายหุ้นโดยพลการ จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าหุ้น ค่าเสียหายและดอกเบี้ยแก่โจทก์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยจากข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน
การซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย ผู้ตายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้ว จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นพ้นวิสัย เนื่องจากที่ดินของผู้ตายที่ออกโฉนดในภายหลังต้องห้ามไม่ให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคแรก ไม่ต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่ผู้ตายหามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคแรก ผู้ตายจึงต้องคืนเงินราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังมิได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย และกรณีมีเหตุจำเป็น ประกอบกับผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนล้มละลายมาก่อน ทั้งไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย และกรณีมีเหตุจำเป็น ประกอบกับผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนล้มละลายมาก่อน ทั้งไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินให้ผู้อื่นหลังฟ้องคดีเดิมถือเป็นผิดสัญญา ชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ฟ้องซ้ำไม่成立
คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าได้บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนมีว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วหรือไม่แต่คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาในคดีก่อนจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ การที่จำเลยโอนที่ดินที่จะซื้อขายให้บุคคลอื่น ย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยย่อมไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้อีก การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ ส่วนการที่โจทก์จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายให้ที่พิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้หรือไม่ อย่างไรเป็นคนละกรณีกับการชำระหนี้ซึ่งตกเป็นพ้นวิสัย ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389ในตัวอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำพร้อมเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้น คือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วย อันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 372 ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ 40,000,000 บาท นั้น เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระหนี้ต่อกัน
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดิน และที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากเวนคืนที่ดิน คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดชอบและต้องคืนเงินมัดจำ
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้นคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลยเมื่อปรากฎตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ดังนั้นการปฎิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีกกรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์40,000,000บาทนั้นเมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีโฆษณาคำพิพากษา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่อ้างขัดข้องไม่ถือเป็นการพ้นวิสัย
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจัดให้มีการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์รายวันดังนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ได้ย่อคำพิพากษาโดยย่อคำฟ้องได้ใจความถูกต้องตรงกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองและมีข้อความระบุว่าศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสี่มีความผิดตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องตลอดจนบทลงโทษและโทษคนละเท่าใดตรงตามเนื้อความในต้นฉบับคำพิพากษาแล้วเมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะเข้าใจได้ทันทีถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากมีการลดหน้าหนังสือพิมพ์ลงประกอบกับใกล้สิ้นปีมีโฆษณามากย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าถ้าพ้นสิ้นปีไปแล้วหนังสือพิมพ์ดังกล่าวก็สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาให้ได้จึงไม่เป็นการพ้นวิสัยส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐไม่สามารถจะโฆษณาคำพิพากษาได้เนื่องจากเนื้อที่ในการลงโฆษณาได้เปิดจำหน่ายล่วงหน้าไปจนถึง>ปีหน้าจำเลยทั้งสี่ย่อมจองสิทธิลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต่อจากผู้ลงโฆษณาล่วงหน้าคนสุดท้ายได้ดังนั้นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจึงยังอยู่ในวิสัยที่จะทำได้ประกอบกับคำพิพากษามิได้บังคับว่าจะต้องจัดให้มีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้นเมื่อใดดังนั้นการลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวยังไม่เป็นการพ้นวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากข้อจำกัดการโอนที่ดิน
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์เมื่อได้ออก น.ส.3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อมามีการออก น.ส.3 แต่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 219 วรรคหนึ่ง คือการจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยจึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์อีกต่อไปเพราะไม่มีข้อตกลงว่าต้องรอจนพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจึงจะจดทะเบียนโอนขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อกำหนดห้ามโอน สัญญาเป็นพ้นวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์เมื่อได้ออกน.ส.3เสร็จเรียบร้อยแล้วต่อมามีการออกน.ส.3แต่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน10ปีกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา219วรรคหนึ่งคือการจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนอันเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายจำเลยจึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนขายที่ดินแก่โจทก์อีกต่อไปเพราะไม่มีข้อตกลงว่าต้องรอจนพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วจึงจะจดทะเบียนโอนขาย