คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ้นโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การพ้นโทษตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 113 มีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้ที่กลับมากระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซ้ำอีกภายในกำหนดห้าปีนับแต่พ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนให้หนักขึ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าโทษที่ได้รับจากการกระทำผิดครั้งก่อนจะเป็นโทษชนิดใดเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดครั้งก่อนทั้งจำคุกและปรับ แต่มีการรอการลงโทษจำคุกไว้และจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งก่อนในวันชำระค่าปรับแล้ว จำเลยกลับมากระทำความผิดอีกภายในกำหนดเวลาห้าปี จึงต้องวางโทษจำเลยเป็นทวีคูณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับและการวางโทษทวีคูณในความผิดซ้ำเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
การปรับถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการ ลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วน ในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อพ้นโทษปรับมายังไม่ครบกำหนดห้าปี จำเลยกลับมากระทำผิดคดีนี้อีก จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลยตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นโทษปรับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ถือเป็นการพ้นโทษตามกฎหมาย และมีผลในการเพิ่มโทษทวีคูณได้
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 บัญญัติว่า"บุคคลใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ให้วางโทษทวีคูณ"ไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(4) ดังนั้นแม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลยแต่ปรากฏว่าคดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใดย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว เมื่อคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยเคยถูกศาลลงโทษปรับตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาแล้วและพ้นโทษปรับมายังไม่ครบ 5 ปี จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เช่นเดียวกันจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การปรับถือเป็นโทษแล้ว แม้ยังไม่พ้นโทษจำคุกที่รอการลงโทษ
การระวางโทษทวีคูณตามมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ ที่บัญญัติว่า "บุคคลใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ให้ระวางโทษทวีคูณ" ไม่ต้องพิจารณาว่าจะต้องพ้นโทษจำคุกที่รอไว้อีกหรือไม่ เพราะเพียงแต่ได้รับโทษปรับก็ถือว่าต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ นี้แล้ว กรณีต้องวางโทษทวีคูณตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษซ้ำจากความผิดเดิม: โทษปรับถือเป็นโทษ, ระยะเวลาคำนวณจากวันชำระค่าปรับ
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปี โดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้ เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษทวีคูณเครื่องหมายการค้า: โทษปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง การกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี ต้องรับโทษทวีคูณ
การวางโทษทวีคูณตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 113 ไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุกและการปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเคยกระทำความผิด ในข้อหาเดียวกันนี้และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลยแล้ว จำเลยกลับกระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่ วันพ้นโทษ จึงต้องระวางโทษทวีคูณแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในความผิดเครื่องหมายการค้าซ้ำ หากพ้นโทษเดิมยังไม่ครบ 5 ปี การปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปีโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมา กระ ทำความผิดในคดีนี้เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และการไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินเนื่องจากพ้นโทษช้ากว่ากำหนด
อุทธรณ์ของจำเลยข้อที่ว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพเพราะสงสารเพื่อนที่ไปด้วยและพนักงานสอบสวนให้คำมั่นสัญญาว่าจำเลยจะไม่ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ต้องถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษานั้น นอกจากต้องเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกจำคุกครบกำหนดโทษและถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539 อันเป็นเวลาภายหลังพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการล้างมลทินตาม พ.ร.บ.ล้างมลทิน พ.ศ.2539 ผู้ต้องโทษต้องพ้นโทษก่อนหรือพร้อมกับวันบังคับใช้
ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีพ.ศ.2539 มาตรา 4 นั้น นอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539อันเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่ 11 กันยายน 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตาม พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2539 แล้วแต่กรณี การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน แต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าว จำเลยย่อมไม่ได้รับผลตาม พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกัน
จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินในวโรกาส 50 ปีครองราชย์ และผลต่อการบวกโทษคดีเก่า
ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลที่จะได้รับการล้างมลทินและถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในความผิดตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตรา 4 นั้นนอกจากเป็นผู้ต้องโทษที่ได้กระทำผิดก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แล้ว ยังต้องเป็นผู้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ 11 กันยายน 2539 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หรือในกรณีที่ผู้นั้นได้รับโทษตามคำพิพากษาอยู่ และยังไม่พ้นโทษในวันที่11 กันยายน 2539 ก็ต้องได้รับอภัยโทษปล่อยตัวหรือพ้นโทษออกมาตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ พ.ศ. 2539แล้วแต่กรณี การที่จำเลยต้องคำพิพากษาจำคุก 6 เดือนแต่รอการลงโทษไว้ จำเลยจึงยังมิได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา กรณีของจำเลยจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจำเลยย่อมไม่ได้รับผลตามพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษเช่นเดียวกัน จำเลยฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรให้รอการลงโทษให้แก่จำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติไว้ แต่เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบเห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง และเมื่อรอการลงโทษจำคุกในคดีนี้ ย่อมไม่อาจนำโทษจำคุกในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้
of 9