พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจากคดีกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำเลยมีส่วนร่วมหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะประธานกรรมการยังจัดให้ประชุมผู้ร่วมลงทุนออกหนังสือยืนยันว่าบริษัทยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งยังออกหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินทุนคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย เป็นการกำกับดูแลธุรกิจบริษัทประหนึ่งตนเป็น กรรมการผู้จัดการ พฤติการณ์บ่งชัดว่าได้ร่วมคบคิดกับบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ กรรมการผู้จัดการและ มิได้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลย ที่ 1 ก็เป็นผู้กู้ยืม เงินตามนัยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะ เป็นผู้กู้ยืมเงินและได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว มาตรา 10 บริษัทเป็นผู้กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้กู้ยืมเงินไปด้วยตามนัยแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 การที่จำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยลงนามคนเดียว และไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น หาทำให้ฐานะของจำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้แทนบริษัทเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว เช่นนี้ พนักงานอัยการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 10 จำเลยที่ 2 จะได้หลอกลวงประชาชน หรือไม่ หา ได้กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยผู้หนึ่ง แต่ จำเลย ที่ 6ก็มิได้เป็นกรรมการบริษัท และไม่เคยได้รับเงินจาก ผู้ ร่วม ลงทุน โดยจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุน แต่ อย่างใดจำเลยที่ 6 ไม่มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกับบริษัท ใน การ กู้ยืม เงินจากผู้ร่วมลงทุน จำเลยที่ 6 จึงมิใช่ผู้กู้ยืมเงิน ตาม นัย พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พระราชกำหนด ดังกล่าวมาตรา 10 ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา และได้ดำเนินการพิจารณาสืบพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้นแล้วมีคำพิพากษา ไปประกอบกับคดีส่วนอาญาที่อ้างถึงนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อใด ก็ไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอคดีนี้ไว้ ฟัง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนและ พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว แต่ผิดหลายบท
จำเลยทั้งสองกับพวกจัดตั้งบริษัทขึ้นและหลอกลวงประชาชนโดยกระทำต่อเนื่องกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนมอบเงินให้จำเลยทั้งสองกับพวกคนละคราวกัน ก็ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 กระทงหนึ่ง และเมื่อพ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงกระทำผิดต่อไปอีก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4, 5, 12 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว อีกกระทงหนึ่ง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-พ.ร.ก.กู้ยืมเงิน: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว, ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองกับพวกจัดตั้งบริษัทขึ้นและหลอกลวงประชาชนโดยกระทำต่อเนื่องกันด้วยจุดประสงค์เดียวกัน แม้ผู้เสียหายแต่ละคนมอบเงินให้จำเลยทั้งสองกับพวกคนละคราวกัน ก็ย่อมเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 กระทงหนึ่ง และเมื่อพ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงกระทำผิดต่อไปอีก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดตามมาตรา 4,5,12 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนตามกันมาให้จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ตามป.วิ.อ.มาตรา 218 การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะทำผิดกฎหมาย อีกทั้งการโฆษณาของจำเลยมิใช่เป็นการหลอกลวงประชาชนแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ รัฐเท่านั้นมีอำนาจฟ้อง เอกชนไม่มีสิทธิ
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527บัญญัติขึ้นเพื่อปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมรัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในความผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้อง