คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.การขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตหลังใบอนุญาตถูกเพิกถอน: ความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ. 2497
แต่เดิมจำเลยได้รับอนุญาตทำการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง 3 สาย คือ (1) สายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช (2) สายภูเก็ต-ทุ่งสง และ (3) สายกระบี่-ทุ่งสง ต่อมาอธิบดีกรมการขนส่งทางบกได้เพิกถอนใบอนุญาตทำการขนส่งประจำทางสายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช เสีย แต่จำเลยยังคงรับคนโดยสารเพื่อสินจ้างต่อจากกระบี่ผ่านทุ่งสงไปยังอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อันอยู่ในเส้นทางสายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว เช่นนี้ จึงเป็นการประกอบการขนส่งในเส้นทางที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 65 กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นแต่เพียงการประกอบการขนส่งเกินเลยเส้นทางกระบี่-ทุ่งสง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322-1324/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการกำหนดสถานที่จอดพักรถและสถานีขนส่ง: ความขัดแย้งระหว่าง พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.การขนส่ง
คดีอาญา จำเลยอ้างพยานเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยและโจทก์ไม่รับรองความถูกต้อง เมื่อจำเลยไม่สืบพยานประกอบ พยานเอกสารนั้นก็รับฟังไม่ได้ แต่ถ้าพยานเอกสารนั้นเป็นหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของ ทางราชการและที่จำเลยอ้างส่งต่อศาลเป็นสำเนาซึ่งเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(3) รับรองถูกต้อง ก็รับฟังได้ ไม่ต้องสืบพยานประกอบ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 เป็นอำนาจของรัฐมนตรี ที่จะกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่ง และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อประกาศกำหนดสถานที่ที่จะใช้เป็นสถานีขนส่งแล้ว ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องใช้สถานที่นั้นเป็นที่หยุดหรือจอดยานพาหนะ ถ้าฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 69 และอธิบดีมีอำนาจกำหนดค่าบริการที่ผู้ประกอบการขนส่งจะต้องชำระให้แก่สถานีขนส่งตามมาตรา 50(1) แต่ถ้ารัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดสถานที่ให้เป็นสถานีขนส่งผู้ประกอบการขนส่งจัดหาสถานที่จอดพักรถโดยสารให้คนขึ้นลงได้เอง โดยไม่ให้ขัดขวางต่อการจราจร
เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกข้อบังคับหรือคำสั่งกำหนดสถานที่จอดพักรถได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 แต่ถ้าสถานที่จอดพักรถนั้นอยู่ในความครอบครองของเอกชนและเอกชนเป็นผู้เรียกเก็บค่าบริการในการจอดรถ ก็ไม่เป็นสถานที่จอดพักรถตามความหมายของพระราชบัญญัติจราจรทางบก แต่เป็นสถานีขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดสถานที่ที่ใช้เป็นสถานีขนส่ง เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจกำหนด