คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.การพิมพ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อบทความหมิ่นประมาท การตีความเจตนา และขอบเขตความรับผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคแรก บัญญัติว่า "เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ นอกจากหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้ลงโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ" วรรค 2 บัญญัติว่า "ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์ และบรรณาธิการ ต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย" เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงบทความตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นตัวการตามวรรค 2
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์ หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48 จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้น จำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส.หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัว เพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้ว จึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมา และที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้ว ดังเช่นคดีนี้ บทความของ ส.ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตาม พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส.ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่ มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อบทความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคแรกบัญญัติว่า"เมื่อมีความผิดนอกจากที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นด้วยการโฆษณาสิ่งพิมพ์ นอกจากหนังสือพิมพ์ผู้ประพันธ์ ซึ่งตั้งใจให้โฆษณาบทประพันธ์นั้นต้องรับผิดเป็นตัวการ ถ้าผู้ประพันธ์ไม่ต้องรับผิดหรือไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ก็ให้ลงโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการ" วรรค 2 บัญญัติว่า "ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย" เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ และผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ ซึ่งลงบทความตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นตัวการตามวรรค 2
พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 เป็นกฎหมายพิเศษ ในมาตรา 4 ได้บัญญัติให้บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการพิมพ์บทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย หากบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์เป็นความผิดตามมาตรา 48จึงบัญญัติให้บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ ดังนั้นจำเลยจะได้สมคบร่วมรู้กับ ส. หรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อแก้ตัวเพราะถ้าจำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส. ในการลงบทความ จำเลยก็เป็นตัวการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ถ้าจะให้จำเลยสมคบร่วมรู้กับ ส.แล้วจึงจะเป็นความผิด ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 จะบัญญัติมาตรา 48 ขึ้นมาและที่ไม่ได้บัญญัติโทษไว้ก็เพราะความผิดที่เกิดขึ้นมีบทกำหนดโทษอยู่แล้วดังเช่นคดีนี้บทความของ ส. ซึ่งจำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรค 2 และต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
การวินิจฉัยว่าบทความของ ส. ตามฟ้องจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชินีหรือไม่นั้นเป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำว่าผิดกฎหมายหรือไม่มิใช่วินิจฉัยผลแห่งการกระทำ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลพิจารณาบทความแล้ววินิจฉัยได้เอง หรือจะเอาพยานโจทก์จำเลยมาประกอบวินิจฉัยด้วยก็ได้ จึงไม่ผิดกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากิจการหนังสือพิมพ์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ ถือเป็นโมฆะ
สัญญาเช่ากิจการพิมพ์และจ้างพิมพ์หนังสือซึ่งมีวัตถุประสงค์ว่าผู้เช่าเป็นฝ่ายตั้งกองบรรณาธิการเองโดยตลอด ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องคงอาศัยแต่ชื่อผู้ให้เช่าลงพิมพ์เป็นบรรณาธิการเท่านั้น เป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 24 เป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากิจการพิมพ์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.การพิมพ์ และมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
สัญญาเช่ากิจการพิมพ์และจ้างพิมพ์หนังสือซึ่งมีวัตถุประสงค์ว่าผู้เช่าเป็นฝ่ายตั้งกองบรรณาธิการเองโดยตลอด ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องคงอาศัยแต่ชื่อผู้ให้เช่าลงพิมพ์เป็นบรรณาธิการเท่านั้น เป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 24 เป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิมพ์สิ่งพิมพ์เพื่อโฆษณา แม้เป็นบัตรเชิญ ต้องระบุชื่อผู้พิมพ์ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ หากไม่เข้าข้อยกเว้น
จำเลยพิมพ์บัตร์-เชิญแจกจ่ายแก่ประชาชนมีข้อความชักชวนประชาชนให้ไปดูการแสดงการดัดผมด้วยเครื่องวิทยาศาสตร์ แต่ในบัตร์หาได้พิมพ์ชื่อผู้พิมพ์โฆษณาโรงพิมพ์หลักแหล่งแลปีลงไว้ไม่ ต้องมีผิดตาม ม.14-15 แห่งพ.ร.บ.การพิมพ์แลหาเรียกว่าเป็นบัตร์ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ม.5 ไม่
คำว่า บัตร์ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นตามม.5 นั้นหมายถึงบัตร์ซึ่งใช้กันตามปกติ