คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.คุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากทั้ง พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย
โจทก์เป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ และในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ส่วนบริษัท ศ. ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วขอรับเงินทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายไปนั้นคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารและประสบอุบัติเหตุ แต่บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เพราะมิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาขอรับเงินที่จ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่ทดรองจ่ายแทนจำเลยในฐานะนายจ้าง ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย กับเมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินคืนให้แก่บริษัท ศ. ไปแล้วย่อมทำให้สิทธิที่จะเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวของบริษัท ศ. ระงับสิ้นลงแล้วไม่อาจสละสิทธิในเงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น ดังนี้ แม้บริษัท ศ. จะทำหนังสือสละสิทธิไปยังจำเลยก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับในฐานะผู้ประสบอันตรายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ถูกจำกัดโดยบทบัญญัติขณะเกิดเหตุ
ขณะเกิดเหตุจนถึงวันที่โจทก์ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้ประสบภัยนั้นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังเช่นปัจจุบัน โดยบทบัญญัติของมาตรา 31 ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุได้กำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรงเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อันเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์ให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นทันท่วงที โดยไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดหรือมีข้อโต้แย้งใดจากบริษัทผู้รับประกันภัยดังนั้น แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่ 3)ฯ มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยความใหม่มีบทบัญญัติให้บริษัทผู้รับประกันภัยที่ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการหักชดใช้จากสัญญาประกันชีวิต
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ข้อ 2 (1) กำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นว่า จำนวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 14,413 บาทจำเลยผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่เกิน 10,000 บาทตามกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะขอเอาเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้ตามสัญญาประกันชีวิตจากบริษัท ม.มาหักมิได้ เพราะเป็นเรื่องนิติสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะ หานำมาลบล้างหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยได้ไม่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ มาตรา 4 กรณีฟ้องร้องบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 และการงดฟังคำคัดค้านของโจทก์
ในภาวะแห่งการปฏิวัติ ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ต่อไป ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งหรือกระทำการภายในขอบเขตที่ระบุไว้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งย่อมมีผลเป็นธรรมดาว่า ไม่เป็นมูลที่ผู้ใดจะนำมาฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ ศาลย่อมไม่รับฟ้องเช่นว่านั้น หรือถ้ารับฟ้องไว้แล้วก็มิได้หมายความว่าศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้ เพราะคำสั่งรับฟ้องเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยขี้ขาดคดี ไม่อยู่ในบังคับที่ศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143, 145 เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 ซึ่งบัญญัติให้บุคคลใดฟ้องร้องว่ากล่าวนายกรัฐมนตรีและผู้กระทำการตามคำสั่งนั้น จึงเป็นวิธีการอันพึงดำเนินเมื่อมีการฟ้องร้องคดีอันเป็นกรณีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มิใช่บทบัญญัตินอกเหนือขอบเขตแห่งมาตรา 17 และไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 เป็นกฎหมายที่ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 17 โดยเฉพาะ มิใช่กฎหมายที่บัญญัติกรณีหนึ่งกรณีใดขึ้นเป็นการตัดสิทธิที่บุคคลจะดำเนินคดีทางศาล จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้าง มาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้ การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสีย การที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความ ก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำความชักช้าประวิง ยุ่งยาก ศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณา ศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)