พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานทำลายป่าในเขตนิคมฯ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ ได้ แม้ไม่ได้ระบุบทกฎหมาย ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องข้อ 1 จ. ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแผ้วถางป่าตัดต้นกาลอในป่านิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา อันเป็นการทำลายป่า ทำให้เสื่อมสภาพที่ดินเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในที่ดินภายในเขตของนิคมโดยไม่ได้รับอุนญาต? และมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ มาตรา 4, 14, 15, 41 ซึ่งคำบรรยายฟ้องดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ แล้ว เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและโจทก์ระบุมาตรา 41 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองสำหรับความผิดฐานนี้ได้ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุบทกฎหมายที่เป็นบทความผิดและบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ มีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับผิดสำหรับความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ฯ เท่านั้น หาทำให้จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ แม้ครอบครองต่อเนื่องก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่พิพาทเป็นที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน5ปีนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวแม้จำเลยครอบครองที่พิพาทตลอดมาในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทก็ตามเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยภายใน5ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองหรืออาศัยในที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: สิทธิยังไม่สมบูรณ์แม้มีการส่งมอบการครอบครอง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดิน โจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือ1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินแปลงโอนภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ยังไม่เกิดสิทธิครอบครอง โอน/สละสิทธิไม่ได้
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฯ ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีเป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามประมวลกฎหมายที่ดินฯไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นได้ ฉะนั้นแม้สัญญาจำนองที่ดินพิพาทจะเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองให้นับแต่วันที่โจทก์ทำสัญญาจำนองไว้ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง แม้ทำสัญญาจำนองเป็นการซื้อขายอำพราง
ที่ดินพิพาทโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดห้ามโอนภายในห้าปี เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์โจทก์ซึ่งยึดถือที่ดินพิพาทที่มีเงื่อนไขดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ไม่อาจโอนหรือสละสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 หรือ 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ด้วยเหตุนี้แม้จะฟังว่าสัญญาจำนองที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขาย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้นับแต่วันที่โจทก์ทำหนังสือสัญญาจำนองแก่จำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจยกเรื่องสิทธิครอบครองโดยอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และการครอบครองปรปักษ์ที่ต้องพ้นระยะห้ามโอน
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้น แม้ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากผ. สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาได้ไม่ แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเองต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ การโอนสิทธิก่อนเข้าเป็นสมาชิกนิคมเป็นโมฆะ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำตะคองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ พ. จะครอบครองอยู่ ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่จะโอนสิทธิไปให้แก่ผู้ใด เมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น ผู้ใดจะได้สิทธิในที่ดินต้องตกอยู่ในเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทมาก่อนเลย โดยมี พ. เป็นผู้ครอบครองอยู่ ทั้งเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นแล้วโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองและขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่พ. เป็นผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับโอนขายที่ดินมาจาก พ. ตั้งแต่ก่อนที่ พ. จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขและวิธีการของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิในที่พิพาทและถือว่าการโอนขายที่ดินระหว่าง พ. กับโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่และเป็นสมาชิกของนิคมให้ออกจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดิน พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ: ห้ามโอนภายใน 5 ปี ไม่นำมารวมระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ได้
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็จะนำเอาระยะเวลาการครอบครองซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลาที่ห้ามโอนกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเป็นระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 มิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินนิคมสร้างตนเอง: การครอบครองและเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่ดินตามฟ้อง เป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ. 2511 ที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร โดยมีเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้จำเลยจะอ้างว่าได้เข้าทำกินในที่ดินพิพาทเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ก็ตาม แต่ก็อยู่ภายในระยะเวลาตามเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจะอ้างเอาระยะเวลาการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375วรรคสองมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมตามพ.ร.บ.จัดที่ดินฯ มิใช่สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บทมาตรา 1375 วรรคสองมิได้
สิทธิของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่สมาชิกนิคม ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น มิใช่สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นจะเอาระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง มาใช้ไม่ได้