พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการขนส่งประจำทาง: รถยนต์ที่ได้รับอนุญาตแล้วไม่ถือเป็นรถยนต์อื่นตาม พ.ร.บ.รถยนต์
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 24 ตามที่เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2479 วรรคสามที่ว่า'ห้ามมิให้ใช้รถยนต์อื่นรับจ้างหาผลประโยชน์โดยรับคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในเขตถนนที่ได้รับอนุญาตให้มีรถประจำทางขึ้น ฯลฯ' นั้น หมายความว่าห้ามรถยนต์อื่นที่มิใช่รถยนต์ประจำทางที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไปการประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไปการประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10848/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการและการขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.รถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 มุ่งหมายที่จะควบคุมผู้ขับรถบนทางหลวงหรือทางสาธารณะ การที่จำเลยขับรถกระบะภายในบริเวณโรงเรียนบ้านคลองสุดซึ่งมิใช่บนทางหลวงหรือทางสาธารณะที่กำหนดให้รถสัญจรไปมา แม้จำเลยจะไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ การกระทำของจำเลยก็ไม่ต้องด้วยองค์ประกอบความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.รถยนต์: การขับรถในพื้นที่ส่วนบุคคล (โรงเรียน) ไม่ต้องมีใบอนุญาต
คดีนี้เกิดขึ้นภายในบริเวณโรงเรียนบ้านคลองสุดซึ่งมิใช่บนทางหลวงหรือทางสาธารณะที่กำหนดให้รถสัญจรไปมา แม้จำเลยจะเป็นผู้ขับรถกระบะโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 ศาลล่างทั้งสองจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225