พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข พ.ศ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลอุทธรณ์และฎีกามีคำพิพากษายืน
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 เพราะตามคำขอรับชำระหนี้ระบุว่าเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) เมื่อเจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้ากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหนี้มาทำการสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ว่าเจ้าหนี้มีประกันและมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จริงหรือไม่ตามมาตรา 105 เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ต้องพิจารณาจากทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้แก่เจ้าหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมไม่ได้
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ อันได้แก่ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 71 วรรคสอง ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลมีคำสั่ง ปลดจากล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมีเหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่บัญญัติว่า ถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม(1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณีดังที่บัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองและมาตรา 72 ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า มีเจ้าหนี้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 รวม 4 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 2,916,766.76 บาท ต่อมาเจ้าหนี้ รายที่ 5 และที่ 7 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้คงเหลือเจ้าหนี้ รายที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 240,301.37 บาท และ เจ้าหนี้รายที่ 9 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 132,305 บาท จำเลยที่ 2 มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ถูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดและขายทอดตลาดชำระหนี้ จำนองให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนองหลังจากศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้อีก แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีสินทรัพย์เหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ที่ยอมทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันควรตำหนิจำเลยที่ 2มากกว่า และจำเลยที่ 2 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 สามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ได้จึงได้ยอมก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) จึงเป็นกรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1)ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72(4) เท่านั้นทั้งไม่ใช่กรณีทั่วไปที่ศาลมีอำนาจมีคำสั่งปลดจาก ล้มละลายตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73(1)ที่ระบุว่าสินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่ง ปลดจากล้มละลาย บุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของ จำเลยที่ 2 ได้หลังจากศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมาย ของมาตรา 73(1) ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตาม มาตรา 73(1) ศาลจึงต้องมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าและหนี้อย่างอื่นซึ่งมีกำหนดระยะเวลาให้ชำระโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระตั้งแต่งวดที่ 14 ประจำวันที่ 20 มกราคม 2538เป็นต้นไป จึงมิใช่ได้กำหนดระยะเวลาให้ชำระก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 แต่เป็นการกำหนดระยะเวลาให้ชำระภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 99
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การพิจารณา 'เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักรนั้นหมายถึงเจ้าหนี้ทั้งที่เป็นคนไทยและต่างประเทศโดยถือเอาสถานที่อยู่ตามความเป็นจริงของเจ้าหนี้ในช่วงระยะเวลาที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นสำคัญไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาตามกฎหมายของเจ้าหนี้ดังกล่าวว่าอยู่ณที่ใดดังนี้เมื่อในช่วงระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผู้ร้องอยู่ในราชอาณาจักรแม้ขณะนั้นผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรและได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วคราวในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ตามกรณีก็ต้องถือว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับระยะเวลา 2 เดือนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เริ่มนับจากวันที่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา
หนังสือที่ นร 0209/9728 วันที่ 30 พฤษภาคม 2537ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดี มีข้อความว่า "ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ ยธ 0409/947/829 ลงวันที่ 26 เมษายน 2537 ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล.103/2537 เพื่อขอให้ดำเนินการประกาศในหนังสือราชกิจจา-นุเบกษานั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ง วันที่24 พฤษภาคม 2537 แล้ว" จึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีซื้อขายเมื่อจำเลยล้มละลาย โจทก์ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ไม่เช่นนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 62เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3 หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลายโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่ยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ไม่ช่วยดำเนินการล้มละลาย ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และเจ้าหนี้อื่นไม่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลายและไม่มีเจ้าหนี้อื่นเต็มใจกระทำการดังกล่าวภายในกำหนด1 เดือน นับแต่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ขัดขืนละเลยนั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยบ้างแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่ขอให้ศาลสั่งปิดคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 135
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: นับจากวันเผยแพร่จริง ไม่ใช่วันลงวันที่ในราชกิจจานุเบกษา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับและมาตรา 91 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น หากวันโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษากับในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ตรงกัน การนับวันโฆษณาตามมาตรา 91ต้องนับวันโฆษณาในฉบับหลัง และคำว่า "วันโฆษณา" ตามมาตรา 91นั้น หมายถึงวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน คดีนี้มีการโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโฆษณาคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวัน การนับวันโฆษณาจึงต้องนับจากวันโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา แต่ราชกิจจานุเบกษาตอนนี้เพิ่งพิมพ์เสร็จและนำออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2532 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีการเผยแพร่หนังสือออกไปยังสาธารณชน อันเป็นวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามความหมายในมาตรา 91 หาใช่วันที่ในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นการลงล่วงหน้าไม่ เพราะวันดังกล่าวยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2533 จึงยังไม่เกินกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด