พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนเด็กและอำนาจฟ้อง: การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 133 ทวิ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่ทำให้การสอบสวนเป็นโมฆะ
บทบัญญัติใน ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง กำหนดให้การสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาดให้พนักงานสอบสวนต้องจัดทำ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคห้า คดีนี้ปรากฏว่าในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำ ว. ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษ ในฐานะพยาน โดยไม่จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำแต่อย่างใด ทั้งไม่เข้าเหตุกรณีจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้ คำให้การของ ว. ในชั้นสอบสวนซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว คงมีผลเพียงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของ ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เท่านั้น หาเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมดไม่ และถือได้ว่าได้มีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
แม้การสอบสวน ว. ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้าง ว. เป็นพยานและ ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ว. ในชั้นศาลเป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มาตรา 90 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา: การคุ้มครองสิทธิบุคคลที่ถูกควบคุมหรือขังโดยมิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความมา เข้าดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21)(22) อธิบายไว้ไม่ฉะนั้นมาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ภรรยาผู้ร้องถูกคนร้ายสมคบกันฉุดคร่าไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนชำเราต่อมาผู้ร้องสืบทราบว่าคนร้ายได้นำภรรยาผู้ร้องไปหน่วงเหนี่ยวกักขังอยู่ที่บ้านผู้มีชื่อ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านผู้มีชื่อนั้นเพื่อพบและช่วยภรรยาผู้ร้องซึ่งถูกกักขังไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา58(3),69(3) นั้น ถือได้ว่าผู้ร้องได้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 และการรับฟังพยานบอกเล่า
พนักงานสอบสวนสอบคำให้การจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 ก่อน ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 ที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับ จึงเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนไม่ต้องสอบถามจำเลยทั้งสองในฐานะผู้ต้องหาว่าต้องการทนายความหรือไม่ก่อนเริ่มถามคำให้การจำเลยทั้งสองตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ บันทึกคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้