คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.ศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับ พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณโทษปรับ
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ มีระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากร เข้าด้วยแล้ว กฎหมายมิได้กำหนดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีตามกฎหมายอื่นมารวมคำนวณด้วย คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมบาร์และโซ่ยนต์ของกลางที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคา 7,000 บาท ค่าภาษีอากรขาเข้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มรวมเป็นเงิน 2,737 บาท เมื่อหักภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของราคาของดังกล่าวจำนวน 490 บาท ออกแล้ว คงเป็นราคาของและอากรขาเข้า รวมเป็นเงิน 9,247 บาท โทษปรับสี่เท่าเป็นจำนวน 36,988 บาท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับจำเลยทั้งสาม ในความผิดดังกล่าวก่อนลดโทษรวมเป็นเงิน 38,948 บาท โดยนำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณค่าปรับด้วยนั้นเกินกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยทั้งสามถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นเงิน 18,494 บาท หากจำเลย ไม่ชำระค่าปรับและจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ต้องกักขังจำเลยตามส่วนคนละเท่า ๆ กัน จึงกักขังจำเลยได้คนละ 30 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดต่อองค์รวมไม่ใช่รายบุคคล
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 18,200 บาท นั้นไม่ชอบ เพราะแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเองไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบส่งออกแร่ดีบุก การพิจารณาโทษบทที่หนักกว่าระหว่าง พ.ร.บ.แร่ และ พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบก ลง เรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตรเพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงค่าภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้มีการระบุประกาศกระทรวงการคลังที่ยกเลิกแล้ว
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511)
การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 6/2519 ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้จะมีการระบุประกาศที่ถูกยกเลิก
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511) การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ศก.6/2519ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สันนิษฐานความจริงตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพบเห็นเองเท่านั้น
บันทึกตาม พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 ซึ่งให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงในบันทึกนั้น หมายความถึงข้อเท็จจริงที่เจ้าพนักงานพบเห็นเอง ไม่ใช่ข้อที่จำเลยซื้อของไว้จากคนเรืออันเป็นข้อที่จำเลยรับต่อเจ้าพนักงานบันทึกไว้ตามคำรับนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปรับโทษในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การปรับโทษต่อความผิดต่อครั้งและจำเลย
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ด้วยก็ตาม ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่า 4 เท่าขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว และมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้ จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าสินค้า การส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยที่อยู่นอกประเทศ และความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลย 9 คน โดยยื่นสำเนาฎีกาให้ศาลฉบับเดียว เพื่อส่งให้จำเลยที่ 1 ดังนี้การที่โจทก์มิได้คัดสำเนาฟ้องฎีกาส่งศาลพร้อมฟ้องฎีกาเพื่อส่งให้จำเลยที่ 2 ถึง 9 แต่ศาลชั้นก็ต้นก็ได้สั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ในกรณีเช่นนี้ศาลฎีการับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปได้
ในกรณีที่ส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยไม่ได้เนื่องจากจำเลยออกไปนอกประเทศไทยนั้นถือได้ว่าส่งไม่ได้ เพราะหาตัวไม่พบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 แล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 38นั้น เป็นกรณีที่เรือบรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามช่องทางท่าอนุมัติแต่การลักลอบนำสินค้าเข้ามาตามช่องทางซึ่งมิใช่ท่าอนุมัติไม่ผิดตามมาตรา 38
(ปัญหาข้อ 1 และ ข้อ 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 26/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลปรับจำเลยแต่ละคนเกินสี่เท่าของราคาของ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ละคนคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย
of 2