คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.สาธารณสุข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การพิสูจน์การรับทราบคำสั่ง และความรับผิดตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไข เหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409-1410/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการค้าของตนเอง ไม่ถือเป็นการค้าตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
จำเลยซ่อมแซมรถยนต์โดยสารของบริษัทจำเลย. เพื่อประโยชน์ในกิจการขนส่งของจำเลย. แม้การขนส่งจะเป็นกิจการค้า.จะถือว่าการซ่อมรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งเป็นการค้าด้วยไม่ได้. มิฉะนั้นแล้วพ่อค้าที่มีรถยนต์สำหรับส่งสินค้าก็ไม่อาจทำการซ่อมแซมรถยนต์ของตนเองได้. คำว่า'ทำเพื่อการค้า' ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุขพ.ศ.2484 ต้องหมายความว่าทำการค้าในธุรกิจนั้นนั้นโดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงสั่งให้จำเลยแก้ไขเหตุรำคาญตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข ในคดีอาญา
เมื่อศาลแขวงมีอำนาจรับฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข มาตรา 74 ไว้พิจารณาพิพากษาแล้วก็ย่อมมีอำนาจตามมาตรา 74 วรรค 2 ที่จะสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามมาตรา 23 คือ ระงับเหตุรำคาญตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นได้ด้วย เพราะเป็นคำสั่งส่วนหนึ่งในคดีอาญาที่ฟ้องจำเลยนั่นเอง หาเป็นการเกินอำนาจศาลแขวงที่จะสั่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งห้ามประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข ต้องอาศัยเทศบัญญัติและโทษปรับตามกฎหมาย
ม.8 พ.ร.บ.สาธารณสุขมิได้กำหนดให้อำนาจเทศบาลสั่งห้ามการกระทำเกี่ยวกับสุขลักษณ์โดยทั่วไป แต่ให้มีอำนาจออกเทศบัญญัติหรือข้อบังคับควบคุมได้ ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ชอบที่จะขอให้ลงโทษตาม ม.68 จะดำเนินคดีแพ่งอย่างเดียวขอให้ห้ามมิให้ผู้กระทำผิดกระทำการต่อไปไม่ได้
อำนาจสั่งห้ามผู้กระทำผิดมิให้กระทำต่อไปตาม ม.68 นั้น เป็นวิธีอุปกรณ์ของโทษปรับตาม ม.นั้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งห้ามประกอบการค้าตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถฎีกาได้
พ.ร.บ.สาธารณะสุข พ.ศ. 2484 มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งห้ามจำเลยมิให้ประกอบการค้านั้น ต่อไป ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามเหตุการณ์แห่งคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2484 มาตรา 7, 8, 68 ปรับ 100 บาท ส่วนคำขอให้ห้ามจำเลยประกอบการค้าทำเต้าหู้ต่อไปนั้น ไม่บังคับให้ แต่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ให้ห้ามจำเลยทำการค้าเต้าหู้ต่อไป ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อห้ามทำการค้าเต้าหู้ ไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาข้อเท็จจริง