พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: อำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ร้องต่อ ก.ล.ต. ตาม พ.ร.บ.แรงงาน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร บางกรณีอาจเป็นได้ทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายที่โจทก์ทำอยู่ถูกยุบอันเป็นความเท็จ เพราะตำแหน่งงานดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยุบ แต่จำเลยใช้กลอุบายเลิกจ้างโจทก์โดยโอนกิจการที่โจทก์ทำอยู่ไปให้บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยดำเนินกิจการแทน แต่ก็ยังคงใช้พนักงานเดิมและสถานที่เดิมของจำเลยและต่อมาจำเลยกับบริษัท ฮ. ก็รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานในตำแหน่งของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมนั้น เห็นได้ว่า เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาหนังสือพิมพ์ บ. และเป็นผู้เข้าร่วมกับสมาชิกคนอื่นในการต่อสู้ขัดขวางการกระทำที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายบริหารจำเลยนั้น ก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ในเรื่องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โจทก์มิได้มุ่งประสงค์จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 121 หรือมาตรา 123 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116-2118/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานฯ หากขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้ใช้ พ.ร.บ.แรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่ว ๆ ไปกรณีใดที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 เท่านั้น
ศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันนัดพิจารณาและออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 27 ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วโดยเฉพาะ
การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2)
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ 51/291 ที่ศาลแรงงานกลางส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เพราะจำเลยได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 80 แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้หากได้ความตามคำร้องย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ที่บ้านเลขที่ 51/291 จริงหรือไม่
ศาลแรงงานสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วกำหนดวันนัดพิจารณาและออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 27 ถ้าจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดและศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจะต้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวและพิจารณาใหม่ตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วโดยเฉพาะ
การที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสอง ได้ จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว มิฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปย่อมเป็นการไม่ชอบและไม่มีผลตามกฎหมาย เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนและพิจารณาคดีใหม่เมื่อใดก็ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการส่งหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคือต้องส่ง ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2)
จำเลยอ้างในคำร้องว่าบ้านเลขที่ 51/291 ที่ศาลแรงงานกลางส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย เพราะจำเลยได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 80 แล้วตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้หากได้ความตามคำร้องย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว เมื่อไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยให้ได้ความเสียก่อนว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ที่บ้านเลขที่ 51/291 จริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราก่อนทำงาน ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงาน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยและมีคำสั่งว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง ป. เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ให้โจทก์รับ ป. กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายซึ่งศาลแรงงานกลางตั้งเป็นประเด็นว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือไม่ แต่กลับวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้วพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 หรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยปรับบทกฎหมายไม่ตรงกับคำฟ้องของโจทก์และประเด็นแห่งคดีที่กำหนดไว้ คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส.ที่บ้านของส. ต่อมา ป.เข้ามาทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติแต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ โจทก์จึงเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ มิใช่เลิกจ้าง ป. เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้อง การที่ ป. ซึ่งเป็นประธาน สหภาพแรงงานร่วมกับพวกยื่นข้อเรียกร้องแล้วจะสันนิษฐานว่าโจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้องไม่ได้ เมื่อโจทก์มิได้เลิกจ้าง ป. เนื่องจาก เหตุต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส.ที่บ้านของส. ต่อมา ป.เข้ามาทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติแต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ โจทก์จึงเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ มิใช่เลิกจ้าง ป. เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้อง การที่ ป. ซึ่งเป็นประธาน สหภาพแรงงานร่วมกับพวกยื่นข้อเรียกร้องแล้วจะสันนิษฐานว่าโจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้องไม่ได้ เมื่อโจทก์มิได้เลิกจ้าง ป. เนื่องจาก เหตุต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงาน ไม่ต้องผูกพันประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาจะต้องเป็นไปโดยประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานและการคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทมาอนุโลมใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
ในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงรวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาและให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานมาสืบก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคท้ายได้
โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานว่า จำเลยในฐานะจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกงเรียกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากลูกค้าของโจทก์ในวันโอนบ้านและที่ดินทำให้โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้จากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่เป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: การโต้เถียงวันสิ้นสุดสัญญาเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุ โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนนั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างวันที่โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างต้องถือเอาวันที่จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฏิบัติงานใหม่ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังยุติแล้วว่า โจทก์พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากสูงอายุ อันเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงาน และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งศาล
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ โดยให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและจะอุทธรณ์คำสั่งนั้น ก็จะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ในคดีนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาหลังจากมีคำสั่งดังกล่าวถึง 3 วัน จึงมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้ เมื่อไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ โดยให้ถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ให้งดสืบพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและจะอุทธรณ์คำสั่งนั้น ก็จะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ในคดีนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาหลังจากมีคำสั่งดังกล่าวถึง 3 วัน จึงมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้ เมื่อไม่โต้แย้งคัดค้าน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31.