คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.แร่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าประทานบัตรเหมืองแร่โมฆะ หากไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.แร่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าประทานบัตรโดยโจทก์เป็นผู้ผลิตหินแกรนิต แล้วให้จำเลยที่ 1 ผู้ถือประทานบัตรติดต่อขอใบอนุญาตขนแร่จากทรัพยากรธรณีจังหวัด เพื่อโจทก์จะได้นำหินแกรนิตที่ผลิตได้ออกจำหน่าย แสดงว่า โจทก์ทราบแล้วว่าตนไม่มีสิทธิขนแร่ได้เองเสมือนเป็นผู้ถือบัตรประทานบัตร เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 77 ทั้งมีเจตนาฝ่าฝืนบทห้ามของ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งได้กำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ถือประทานบัตรไว้ในมาตรา 140 นอกจากนี้มาตรา 75 บัญญัติว่า ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตร ด้วยประสงค์ให้ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการตามประทานบัตรเอง การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าประทานบัตรโดยไม่ยื่นขออนุญาต จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2486/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าประทานบัตรโมฆะ: การรับช่วงทำเหมืองต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.แร่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรให้โจทก์เช่าประทานบัตรเพื่อผลิตหินแกรนิต เป็นการให้โจทก์รับช่วงการทำเหมืองตามที่พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มาตรา 76 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามไว้นั่นเอง เพียงแต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามการรับช่วงการทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายอนุญาต ก็รับช่วงการทำเหมืองได้
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าประทานบัตรโดยโจทก์เป็นผู้ผลิตหินแกรนิตแล้วให้จำเลยที่ 1 ผู้ถือประทานบัตรติดต่อขอใบอนุญาตขนแร่จากทรัพยากรธรณีจังหวัด เพื่อโจทก์จะได้นำหินแกรนิตที่ผลิตได้ออกจำหน่าย แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าตนไม่มีสิทธิขนแร่ได้เองเสมือนเป็นผู้ถือบัตรประทานบัตรเพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับช่วงการทำเหมืองตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 77 ทั้งมีเจตนาฝ่าฝืนบทห้ามของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งได้กำหนดโทษทางอาญาสำหรับผู้ถือประทานบัตรไว้ในมาตรา 140 นอกจากนี้มาตรา 75ว่า ประทานบัตรให้ใช้ได้เฉพาะตัวผู้ถือประทานบัตรด้วยประสงค์ให้ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการตามประทานบัตรเองการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าประทานบัตรโดยไม่ยื่นขออนุญาต จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ การประกาศขอริบต้องระบุรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของมีโอกาสคัดค้านก่อนศาลตัดสิน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ และสิทธิการขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 กรณีประกาศไม่ครบถ้วน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลย ไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสองดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่: เงื่อนไขการประกาศขอคืนและการใช้สิทธิเรียกร้องภายหลังมีคำพิพากษา
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบส่งออกแร่ดีบุก การพิจารณาโทษบทที่หนักกว่าระหว่าง พ.ร.บ.แร่ และ พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบก ลง เรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตรเพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับผู้ร่วมกระทำผิด พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.17 ลงโทษรายบุคคล
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 148 มิได้บัญญัติว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้มาตรา 17 ดังนี้ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคลตามมาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449-4450/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.แร่ ถือเป็นความผิด แม้จะอ้างเหตุผลเรื่องการนำไปแต่งและฝากเก็บ
จำเลยผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นำแร่ออกจากสถานที่ซื้อแร่ไปแต่งและฝากไว้ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ การขนแร่ออกนอกสถานที่ซื้อแร่จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 108 จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อพิสูจน์ตามมาตรา 152 ตรีว่าการที่แร่ขาดบัญชีมิใช่ความผิดของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449-4450/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ แม้จะอ้างเหตุผลเรื่องการแต่งแร่และฝากเก็บ
จำเลยผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่นำแร่ออกจากสถานที่ซื้อแร่ไปแต่งและฝากไว้ที่อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ การขนแร่ออกนอกสถานที่ซื้อแร่จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแร่ มาตรา 108 จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นข้อพิสูจน์ตามมาตรา 152 ตรีว่าการที่แร่ขาดบัญชีมิใช่ความผิดของจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับทางอาญาสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.แร่: ลงโทษปรับเรียงรายบุคคล แม้เป็นนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
of 2