คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ.ร.บ.โรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงงานเป็นโมฆะเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน และผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะ ข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบปรับ พ.ร.บ.โรงงาน: จำเป็นต้องยินยอมก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
กรณีตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 65 เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณาของศาลหาได้ไม่
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ กว้างถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องจักร แม้ไม่มีอาคารถาวร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358,360 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยทั้งเก้า ความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ยืนตามศาลชั้นต้น และความผิดฐานเป็น ตัวการ ในการทำเหมืองแร่ โดยไม่ได้รับประทานบัตรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 8 ที่ 9 ยืน ตามศาลชั้นต้น ความผิดตามข้อหาของจำเลยแต่ละคนข้างต้นดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 คำว่า อาการสถานที่ ตามคำนิยามของคำว่าโรงงานในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ.2512 หมายความรวมไปถึงสถานที่ที่ตั้งเครื่องจักร เพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ โดย ไม่จำเป็นต้องมีตัวอาคารที่ถาวร ดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9สั่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ซึ่งเป็นลูกจ้างกางเต็นท์ ตั้งเครื่องจักร 2 เครื่องมีกำลัง 3 แรงม้า และ 8 แรงม้าเจาะพื้นดินสูบน้ำนำแร่ เกลือ หิน ขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อทำเป็นเกลือสินเธาว์ อันเป็นการแปรสภาพ หรือทำลายสิ่งใด ๆ โดยใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมกันตั้งแต่ 2 แรงม้า ขึ้น ไปถือได้ว่าเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงาน เมื่อ ไม่ได้ รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจึงมีความผิดตามมาตรา 5,8,12,43 วรรคหนึ่ง,44 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการโดยใช้เครื่องจักรและคนงานเกินเกณฑ์ ต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน
จำเลยใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมเกินกว่าสองแรงม้าขึ้นไปและใช้คนงานเกินกว่าเจ็ดคนเพื่อดำเนินการประกอบโครงเหล็กหลังคาสำหรับใช้ในการก่อสร้างขึ้นภายในอาคารสถานที่ของจำเลย แม้เป็นการชั่วคราวและมิได้ทำเพื่อจำหน่าย อาคารสถานที่ดังกล่าวก็เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 แล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้ออกใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 43 และ 44
การเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน นอกจากจะต้องเป็นไปตามมาตรา 5 แล้ว ต้องเป็นการประกอบกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงท้ายพระราชบัญญัติโรงงานด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งปรับปรุงโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ ต้องมีเหตุจากการก่อความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่ผู้อื่น
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะมีอำนาจออกคำสั่งตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 36(3) ก็ต่อเมื่อโรงงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานนั้นก่อให้เกิดความรำคาญหรืออันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานของจำเลยไม่เคยก่อให้เกิด ความรำคาญหรืออันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้ใดเลย อธิบดีกรมโรงงานย่อมไม่มีอำนาจออกคำสั่งตามกฎหมายมาตรานี้ บังคับจำเลยให้จัดการแก้ไขและสร้างระบบขจัดน้ำทิ้ง แม้ออกมา ก็ย่อมไม่มีผลบังคับการที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น จึงไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยามโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2512: เตาเผาหินปูนขนาดใหญ่เข้าข่ายต้องขออนุญาต
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 ด้วยเพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'โรงงาน' ตาม พ.ร.บ.โรงงานฯ พิจารณาจาก 'เครื่องจักร' และ 'การใช้พลังงาน' แม้มีคนงานน้อย
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 5 มีคำจำกัดความคำว่าโรงงานไว้ ให้หมายถึงอาคารสถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่สองแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่สองแรงม้าขึ้นไป ฯลฯ และมีคำจำกัดความคำว่าเครื่องจักรไว้ด้วยว่าหมายถึงสิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงานฯลฯ ดังนั้น จึงถือได้ว่า โรงผลิตปูนขาวซึ่งใช้เตาหินปูนขนาดให้ความร้อนเท่ากับเครื่องจักรขนาด 368 แรงม้า โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตามความหมายของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 ด้วย เพราะใช้เตาซึ่งย่อมต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้น และใช้เชื้อเพลิงก่อให้เกิดพลังงานคือความร้อนขึ้นอันเป็นเครื่องจักรตามคำจำกัดความข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1377/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขึ้นทะเบียนโรงงานตาม พ.ร.บ.โรงงาน 2482: กรณีโรงงานที่ขึ้นทะเบียนแล้วยังต้องขออนุญาตใหม่หรือไม่
โรงงานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วตามกำหนดในมาตรา 23 วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน 2482 นั้น เมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันใช้พระราชกฤษฎีกาแล้ว ยังคงดำเนินงานต่อไปโดยไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตั้งโรงงานอีกนั้นยังไม่เป็นผิดตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน 2482 เพราะความในมาตรานี้บังคับเอาผิดแก่เจ้าของโรงงานที่มิได้มารายงานขึ้นทะเบียนตามกำหนดในวรรค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่ห้าม โรงงานประเภท 3 ผิดตาม พ.ร.บ.โรงงาน
โจทก์ระบุข้อหาของจำเลยมาในช่องฐานความผิดที่หน้าฟ้องว่า ตั้งและประกอบกิจการโรงงาน (ในท้องที่ห้ามตั้งโรงงาน) โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 12, 32 (1), 50 โดยบทบัญญัติแห่งมาตรา 50 นี้มีความว่า "ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง หรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 12 วรรคสอง ต้องระวางโทษ...ในกรณีที่โรงงานตามวรรคหนึ่ง เป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่กำหนดจำนวนหรือขนาดที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในท้องที่ใดตามประกาศที่ออกตามมาตรา 32 (1) ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำในกฎหมายว่า "โดยไม่ได้รับใบอนุญาต" มาในฟ้อง ก็ตาม แต่ตามฟ้องโจทก์ก็ได้กล่าวมาแล้วว่า จำเลยบังอาจตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานทำการดูดทราย...โดยใช้เครื่องจักรเป็นเรือดูดทรายขนาดประมาณ 50 ถึง 60 แรงม้า 1 ลำ ทำการดูดทราย อันเป็นการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ซึ่งโรงงานของจำเลยเป็นโรงงานประเภทหรือชนิดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนหรือขนาดที่ไม่อาจให้ตั้งในท้องที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ และไม่เป็นโรงงานที่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ตั้งได้ โดยได้แนบประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่จะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้งในเขตท้องที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน และอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2550 ซึ่งออกตามมาตรา 32 (1) แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาท้ายฟ้องด้วย และกล่าวสรุปในตอนท้ายว่า อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเท่ากับยืนยันมาในฟ้องว่าการตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ของจำเลยได้กระทำไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายนั่นเอง ไม่ใช่ไม่ชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยฝ่าฝืนต่อกฎหมายในเรื่องใดดังฎีกาของจำเลยแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิด