พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9840-9841/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิดฐานฟอกเงิน ศาลพิจารณาหน้าที่ผู้เสียหาย และการสันนิษฐานทางกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 43 ให้ยกเลิกความในวรรคหกของมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในกรณีตามวรรคหนึ่งถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้เสียหายในความผิดมูลฐานให้เลขาธิการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินด้วยในคราวเดียวกันและเมื่อศาลมีคำสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือชดใช้ให้ผู้เสียหายตามวรรคนี้แล้ว ให้สำนักงานดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งศาลโดยเร็ว" ดังนี้ แม้พนักงานอัยการจะไม่ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อคดีนี้ผู้คัดค้านที่ 3 กระทำความผิดอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (4) แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. เป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐานนั้น และผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. ยื่นคำคัดค้านขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. ผู้ล้มละลาย แม้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 4 และผู้คัดค้านที่ 4 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่อาจมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เนื่องจากจะเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐานนั้นก่อน เมื่อไม่มีผู้เสียหายแล้วจึงจะมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไป โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้เสียหายจะยื่นคำร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10322/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน แม้เคยยื่นคำร้องตามกฎหมายอื่นแล้วแต่ไม่เป็นผล ไม่ถือเป็นร้องซ้ำ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเป็นทรัพย์สินที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นตามกฎหมายอื่น หากการดำเนินการนั้นไม่เป็นผล ก็ให้ดำเนินการกับทรัพย์สินนั้นต่อไปโดยขอให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 ที่บัญญัติให้ประเทศไทยอาจให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศผู้ร้องขอในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการริบหรือยึดทรัพย์สิน ตามคำร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ก็เป็นการดำเนินการตามกฎหมายอื่น แม้ผู้ร้องเคยร้องขอให้ยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่มาก่อน แต่ศาลจังหวัดเชียงใหม่มีคำพิพากษาให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ก็เป็นกรณีที่การดำเนินการตามกฎหมายอื่นไม่เป็นผล ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านตกเป็นของแผ่นดินได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 58 ดังกล่าว ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้ร้องไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การยื่นคำร้องคดีนี้จึงไม่เป็นร้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4927/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำความผิดมูลฐาน ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีคณะกรรมการธุรกรรมคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติ โดยมาตรา 34 (1) และ (3) บัญญัติให้คณะกรรมการธุรกรรมมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และดำเนินการตามมาตรา 48 ซึ่งได้แก่ อำนาจในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราวในกรณีที่ตรวจสอบรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอน จำหน่าย หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยไม่มีบทบัญญัติใดจำกัดช่องทางการรับทราบรายงานและข้อมูลการทำธุรกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด ส่วนที่มาตรา 13, 15 และ 16 บัญญัติให้สถาบันการเงิน สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขาหรือสำนักงานที่ดินอำเภอ รวมถึงผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการดำเนินการหรือให้คำแนะนำในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุนหรือเคลื่อนย้ายเงินทุน มีหน้าที่ต้องรายงานการทำธุรกรรมต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ก็เป็นการกำหนดหน้าที่แก่หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าเป็นหน่วยงานและบุคคลที่รับทราบข้อมูลการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินในเบื้องต้นมาตามอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ต่อไป อันเป็นมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้สัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั่นเอง หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับให้คณะกรรมการธุรกรรมต้องรับรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเฉพาะที่มาจากหน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ การที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอันเป็นความผิดมูลฐานเป็นผู้เสนอรายงานและข้อมูลการทำธุรกรรมให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินแล้วคณะกรรมการธุรกรรมได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ต่อมาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13467/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: ทรัพย์สินจากความผิดมูลฐาน (ยาเสพติด, หนีศุลกากร) ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ต้องพิสูจน์ที่มา
ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรอันเป็นความผิดมูลฐานหนึ่งที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง คงอุทธรณ์เถียงแต่เฉพาะว่าผู้คัดค้านที่ 1 มิได้มีพฤติการณ์เป็นผู้ต้องสงสัยเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เท่านั้น ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติว่า ผู้คัดค้านที่ 1 กระทำความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 3 (7) ซึ่งศาลย่อมมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289-5290/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในคดีฟอกเงิน ต้องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกับความผิดมูลฐานและผู้กระทำผิด
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 และ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ตามที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ให้นิยามความผิดมูลฐานไว้ ไม่รวมถึงความผิดฐานเสพหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะในสภาพความผิด ผู้กระทำความผิดไม่ได้ทรัพย์สินใดจากการกระทำผิด จึงไม่มีเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่ศาลจะสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นตกเป็นของแผ่นดิน เมื่อ บ. ถูกศาลอาญาพิพากษาว่า มีความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษเพื่อเสพ มิใช่มีไว้เพื่อจำหน่าย บ. จึงมิใช่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันเป็นความผิดมูลฐาน แม้ บ. จะเป็นสามีผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ไม่ใช่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ส่วน ส. และ ว. พี่สาวผู้คัดค้าน ช. สามีของ ว. และ พ. หลานของผู้คัดค้านเคยต้องหาว่า ครอบครองเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่ายและความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 ก็ตาม แต่การที่บุคคลดังกล่าวเป็นญาติของผู้คัดค้าน ผู้ร้องต้องนำสืบให้เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้คัดค้านด้วย จึงจะต้องด้วยบทสันนิษฐานตามมาตรา 51 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินต้องพิสูจน์ได้ว่าเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน หรือเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
ความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 60 โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า เงินของกลางเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำที่เป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ความผิดมูลฐานที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำของอะไรเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงศุลกากร จนเป็นเหตุให้มีเงินของกลางดังกล่าว การที่จำเลยจะนำเงินของกลางเพื่อออกนอกราชอาณาจักร จำเลยจะมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เงินของกลางอาจเป็นเพียงของที่ใช้ในการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่อกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเท่านั้น ไม่อยู่ในนิยามคำว่า "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเหตุให้ได้เงินของกลางมานั้น เป็นความผิดต่อกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉพาะ ไม่อยู่ในนิยาม "ความผิดมูลฐาน" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3
การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเหตุให้ได้เงินของกลางมานั้น เป็นความผิดต่อกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉพาะ ไม่อยู่ในนิยาม "ความผิดมูลฐาน" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากการฟอกเงิน: สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุด สิทธิยังเป็นของผู้เช่าซื้อเดิม
คดีนี้เป็นการยึดรถยนต์พิพาทเพราะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติดมาชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท มิใช่การนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิด หรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้ให้เช่าซื้อจึงมิอาจอ้างว่าสัญญาเลิกกันตามสัญญาข้อ 6 ที่กำหนดให้สัญญาสิ้นสุดลงในกรณีนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิดหรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกเงินตราต่างประเทศหลังกฎหมายยกเลิกข้อจำกัด ไม่เป็นความผิดมูลฐานฟอกเงิน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ข้อ 5 ได้ยกเลิกข้อ 11 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2497) เป็นผลให้ผู้เดินทางไปต่างประเทศสามารถนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศไทยได้โดยเสรี ไม่ถือเป็นการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกประเทศ อันจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 มาตรา 8 ทวิ ส่วนการซื้อเงินตราต่างประเทศและการไม่ขายเงินตราต่างประเทศให้แก่ผู้ได้รับอนุญาต แล้วนำเงินตราต่างประเทศออกไปนอกประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาการฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ซึ่งมีความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา 8 ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับการส่งหรือนำของต้องจำกัดออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งหมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดว่า การส่งหรือนำของนั้นออกไปหรือเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร อันจะเป็นความผิดมูลฐานตามบทนิยามของ "ความผิดมูลฐาน" ในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 จึงต้องคืนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11711-11712/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าสินไหมทดแทนจากประกันชีวิตที่ได้จากเงินผิดกฎหมาย เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ต้องตกเป็นของแผ่นดิน
เงินเบี้ยประกันชีวิตที่ ม. ผู้เอาประกันภัยส่งแก่ผู้คัดค้านที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำอันเป็นความผิดมูลฐาน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 รับไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง (2) ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 4 โดยชอบแล้ว ผู้คัดค้านที่ 4 จึงไม่อาจยกเอาความสำคัญผิดแหล่งที่มาเกี่ยวกับเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับชำระจาก ม. มาเป็นข้ออ้างอันจะเป็นเหตุให้สัญญาประกันชีวิตระหว่างผู้คัดค้านที่ 4 กับ ม. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156
เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาท จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตกเป็นของแผ่นดิน
แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
เงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นเงินที่ ม. ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐานอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความหมายใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (เดิม) การนำเอาเงินไปชำระให้แก่บริษัท อ. และผู้คัดค้านที่ 4 เป็นค่าเบี้ยประกันภัย แล้วได้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาทมา เงินดังกล่าวย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใดๆ ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือเปลี่ยนสภาพไปกี่ครั้ง และไม่ว่าจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลใด โอนไปเป็นของบุคคลใด หรือปรากฏหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลใด เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์พิพาท จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เงินค่าสินไหมทดแทนและเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ตกเป็นของแผ่นดิน
แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดิน โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดและแม้จะให้เป็นพับกันไป ก็เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ศาลเห็นสมควรมีคำสั่งเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินยึด ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ใช่ทรัพย์สินฟอกเงิน
คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2552 มาตรา 57 วรรคสี่ เป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดย่อมไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์