พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739-740/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตกเป็นโมฆะเนื่องจากโจทก์ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อฟิล์มภาพยนตร์จากโจทก์ร่วม และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ตามสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีข้อความว่า ข้อ 1. ผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในเขต 8 จังหวัด และกากฟิล์มชานเมืองขนาด 35 มม. ชื่อภาษาไทย เรื่อง ข้อ 2. ระบุว่า ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์ตามข้อ 1 โดยผู้ขายจะส่งฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วตามจำนวนที่ตกลงกันข้อ 3. ระบุว่า ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะนำภาพยนตร์ออกทำการฉายได้ในเขตสาย 8 จังหวัดและชานเมืองเท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ดังนี้ ข้อ 6. ผู้ซื้อมีสิทธิในการนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ซื้อออกจำหน่าย ให้เช่า ให้ยืม ทำการฉายแพร่ภาพในเขตของผู้ซื้อที่ระบุไว้ใน ข้อ 3. มีกำหนดระยะเวลาในการครอบครองสิทธิเป็นเวลา 12 เดือนนับจากวันทำสัญญาที่ผู้ขายมีต่อผู้สร้างสรรค์เดิมที่ผู้ขายซื้อมา ฯลฯตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ซื้อผลงานจากผู้สร้างสรรค์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมีเงื่อนไขการให้นำไปฉายในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์ร่วมใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามสัญญาเท่านั้นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ การที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ให้ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท แล้วขายต่อให้จำเลยจึงหมายถึงการขายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 12 เรื่องเพื่อให้จำเลยนำไปฉายในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตที่กำหนดและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 กรณีจึงมิใช่ผู้สร้างสรรค์อันเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โอนลิขสิทธิ์ของตนให้แก่บุคคลอื่นทั้งหมดหรือบางส่วนอันจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 17 วรรคสาม จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจโอนขายลิขสิทธิ์ฟิล์มภาพยนตร์ และจำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 156 ไม่ได้เมื่อสัญญาซื้อขายฟิล์มภาพยนตร์มีผลใช้บังคับกันได้ และโจทก์ร่วมส่งมอบฟิล์มภาพยนตร์แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยออกเช็คชำระหนี้ค่าฟิล์มภาพยนตร์แก่โจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินยึด: รายได้จากเช่าฟิล์มไม่ถือเป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์
แม้ที่ดินที่ถูกยึดมีตึกแถว 3 ชั้น 2 คูหา และห้องแถวไม้เก่า ๆชั้นเดียว จำนวน 8 ห้อง ปลูกอยู่ แต่จำเลยทั้งสองได้ใช้ตึกแถว 2 คูหา เป็นที่อยู่อาศัยและเก็บฟิล์มภาพยนตร์เตรียมไปฉายต่างจังหวัดไม่ได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมและกสิกรรม จำเลยทั้งสองมีรายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ แสดงว่าตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมิได้มีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา รายได้จากการให้เช่าฟิล์มภาพยนตร์ไปฉายต่างจังหวัดก็มิใช่รายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะมีคำสั่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์และการละเมิดลิขสิทธิ์: การซื้อฟิล์มภาพยนตร์ไม่ทำให้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
โจทก์ร่วมซื้อฟิล์มภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจาก ว. ซึ่งซื้อมาจาก อ. ผู้สร้างสรรค์อีกทอดหนึ่ง โดยในสัญญาไม่ปรากฏข้อความที่แสดงให้เห็นว่า อ. ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้ ว. โจทก์ร่วมจึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้รับโอนลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องนั้น ดังนั้นเมื่อจำเลยนำฟิล์มภาพยนตร์อีกก๊อปปี้หนึ่งเรื่องเดียวกันให้เช่าและมีผู้นำออกฉายจึงมิได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์และการละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ซื้อฟิล์มต่อไม่ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หากไม่มีการโอนลิขสิทธิ์ที่ชัดเจน
โจทก์ร่วมซื้อฟิล์มภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจาก ว.ซึ่งซื้อมาจากอ. ผู้สร้างสรรค์อีกทอดหนึ่ง โดยในสัญญาไม่ปรากฏข้อความที่แสดงให้เห็นว่า อ.ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้ว. โจทก์ร่วมจึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้รับโอนลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์เรื่องนั้น ดังนั้นเมื่อจำเลยนำฟิล์มภาพยนตร์อีกก๊อปปี้หนึ่งเรื่องเดียวกันให้เช่าและมีผู้นำออกฉายจึงมิได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม